เตือนพ่อแม่เลี่ยงใช้ยาต้านแบคทีเรีย

คนไทยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาวันละ 100 ราย สูงกว่าตัวเลขเฉลี่ยทั่วโลก สธ.เร่งจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมทุกหน่วยงานดันเป็นวาระชาติ สปสช.พร้อมจ่ายเงิน On Top รพ.ลดใช้ยาปฏิชีวินะ 3 กลุ่มโรค "หวัด-ท้องเสีย-แผลสด" ต่ำกว่า 40% หมอติดเชื้อย้ำดูแลลูกป่วยตามอาการ งดใช้ยาต้านแบคทีเรีย เสี่ยงทำเด็กอ้วน เป็นภูมิแพ้


เตือนพ่อแม่เลี่ยงใช้ยาต้านแบคทีเรีย thaihealth


แฟ้มภาพ


เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ในงานแถลงข่าว "สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี 2558" ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาถือเป็นวิกฤตหนึ่งของทั่วโลกรวมถึงไทย โดยในแต่ละปีจะมีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาถึง 38,000 คน และทั้งนี้ แม้จะยังไม่มีการเก็บตัวเลขของผู้ที่เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างจริงจัง แต่จากงานวิจัยประมาณการณ์ว่า แต่ละวันมีคนไทยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาเฉลี่ยวันละประมาณ 100 คน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเฉลี่ยทั่วโลก จึงจัดงานดังกล่าวขึ้นทุกปีเพื่อให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุสมผล และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาต้านแบคทีเรีย


ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า สถานการณ์การติดเชื้อในปัจจุบันพบมีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาจุลชีพของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึง กพย. สำนักงานเตือนพ่อแม่เลี่ยงใช้ยาต้านแบคทีเรีย thaihealthกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเน้นการทำงานของภาคส่วนต่างๆ และผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติใการจัดการปัญหาดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืน


ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้แทน สสส. กล่าวว่า การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยานั้น สสส.ได้สนับสนุนภาคีเครือข่ายต่างๆ โดยเฉพาะ กพย.ในการรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจในการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล รวมไปถึงสถาบันการศึกษา เครือข่ายพ่อแม่ และเครือข่ายภาคประชาชนอื่นๆ ให้ใช้ยาต่อเมื่อเฉพาะจำเป็นจริงๆ เท่านั้น โดย 3 กลุ่มโรคที่ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านแบคทีเรียแต่พบว่ามีการใช้ยาต้านแบคทีเรียเป็นจำนวนมากคือ 1.หวัด เจ็บคอ  2.ท้องเสีย  และ 3.บาดแผลสดเล็กน้อย ซึ่ง สสส.จะสนับสนุนการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาทำเป็นสื่อที่ให้ความรู้ง่ายๆ แก่ประชาชน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลลงไปได้


ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผอ.สำนักสนับสนุนระบบบริการและเวชภัณฑ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ดำเนินการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยามาประมาณ 3 ปีแล้ว โดยกำหนดเกณฑ์คุณภาพต่อการใช้ยาปฏิชีวนะในสถานพยาบาล ซึ่งจากเดิมพบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะใน 3 กลุ่มโรคคือ หวัด ท้องเสีย และบาดแผลเล็กน้อย มากถึง 60-80% โดยสถานพยาบาลที่สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะใน 3 กลุ่มโรคนี้ลงได้ต่ำกว่า 40% ก็จะได้รับการจ่ายเงินเพิ่มเติม (On Top) ซึ่งจากการดำเนินงานมา 3 ปี พบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะใน 3 กลุ่มนี้ลดลงต่ำกว่า 20% ในโรงพยาบาลชุมชน แต่ยังพบปัญหาการใช้ยาดังกล่าวมากกว่า 40% ในโรงพยาบาลขนาใหญ่ นอกจากนี้ ยังจัดระบบให้เภสัชกรทั้ง 13 เขตจัดอบรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล และขับเคลื่อนร้านยาคุณภาพให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเตือนพ่อแม่เลี่ยงใช้ยาต้านแบคทีเรีย thaihealthการส่งเสริมการใช้ยสปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล


รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ ผู้แทนสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแก้ปัญหาใช้ยาต้านแบคทีเรียไม่สมเหตุผลนั้น การให้ข้อมูลเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องสร้าความตระหนักด้วย โดยเฉพาะกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลลูกเมื่อเจ็บป่วย ซึ่งถือว่าเป็นดวงใจของพ่อแม่ มักพบว่า ยังมีการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมอยู่มาก โดยเฉพาะใน 3 กลุ่มโรคดังกล่าว ซึ่งการที่เด็กได้รับยาต้านแบคทีเรียมากเกินไปนั้น ส่งผลทำให้จุลินทรีย์ในร่างกาย ซึ่งถือเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นเสียสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางเดินอาหาร จึงมีเสี่ยงมากกับการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในเด็ก รวมถึงเกิดภาวะภูมิแพ้ หอบหืด พ่อแม่ต้องดูแลเด็กตามอาการโดยไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หรือใช้สมุนไพรในบ้าน เป็นต้น


น.ส.พัชรา อุบลสวัสดิ์ ผอ.สำนักสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาให้สำเร็จและยั่งยืน ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งล่าสุด คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้บรรจุเรื่อง วิกฤตการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ ให้เป็น 1 ใน 5 ระเบียบวาระของการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


 


 


ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ

Shares:
QR Code :
QR Code