เด็กไทยประกาศ “ไม่ใช่เหยื่อบุหรี่ – เหล้า”

เด็กไทยประกาศ “ไม่ใช่เหยื่อบุหรี่ - เหล้า”

เด็กไทยประกาศ “ไม่ใช่เหยื่อบุหรี่ – เหล้า” มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ร่วมกับภาคีต่างๆ จัดงานเวทีเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายต้องการให้เครือข่ายเยาวชนที่มาร่วมงานแสดงพลังประกาศตน “ไม่ใช่เหยื่อบุหรี่-เหล้า” ที่หอศิลป์ กทม. 25 กันยายน ที่ผ่านมา

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกฯ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรม “เวทีเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ตอน บุหรี่ – เหล้า เราไม่ใช่เหยื่อ” เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เรียกว่า “กลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่” และเมื่อรู้แล้วอย่างแรกเขาจะไม่ตกเป็นเหยื่อการตลาดบริษัทบุหรี่ที่ต่างมุ่งเน้นให้เยาวชนกลายเป็นลูกค้าหน้าใหม่ เพื่อทดแทนลูกค้าที่ต้องป่วยและเสียชีวิตไปหมื่นกว่าคนในแต่ละวัน

อย่างที่สองคือ การขยายเครือข่ายรู้เท่าทันไปยังเพื่อนเยาวชนของเขา ปัจจุบันมูลนิธิรณรงค์ฯ ได้พัฒนาเครือข่ายเยาวชนใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแก๊งค์ปากดี เป็นเยาวชนอาสาสมัครมารณรงค์ให้เพื่อนๆ ของเขารู้เท่าทันกลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่ผ่านสื่อ social media ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่อยู่ในชีวิตประจำวันของวัยรุ่น และเยาวชนอีกกลุ่ม คือ กลุ่ม cigs buster ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังสื่อว่ามีสื่อใดบ้างที่บริษัทบุหรี่ใช้ชักจูงให้วัยรุ่นอยากทดลองสูบบุหรี่ โดยมีข้อมูลที่น่าเป็นห่วงว่า เด็กไทยก้าวมาเป็นนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ 100,000 – 150,000 คนต่อปี ดังนั้นการรู้เท่าทันกลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการป้องกันเยาวชนไม่ให้เสพติดบุหรี่

น.ส.จิราภรณ์ กมลรังสรรค์ น.ส.จิราภรณ์ กมลรังสรรค์ นักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ แกนนำเยาวชน “แก๊งค์ปากดี” กล่าวว่า ปัจจุบันมีการคุกคามของภัยบุหรี่และสุรา ในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งการบริจาค นำเงินมาให้กับเยาวชน ช่วยเหลือโครงการกิจกรรมของนักศึกษา จัดกิจกรรมเพื่อสังคม บางโครงการก็แสดงความห่วงใยสังคม แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยและเคลือบแคลงว่า บริษัทเหล่านี้ต้องการช่วยเหลือสังคมจริงหรือ เพราะมีการจ่ายเงินกับกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างมหาศาล ขณะเดียวกันก็มีโฆษณาอีกหลายประเภท พยายามจูงใจเยาวชน ให้อยากทดลองสูบ ไม่ว่าจะเป็น การจ้างพริตตี้สาวสวยหน้าตาดี อยู่ที่บูธขายบุหรี่ตามงานเทศกาลต่างๆ การโฆษณาบุหรี่ที่มีรูปลักษณ์และรสชาติแปลกใหม่ นี่คือสิ่งที่เยาวชนแก๊งปากดีต้องช่วยกัน ตั้งข้อสังเกต และข้อสงสัย เพื่อที่พวกเราเยาวชน….จะได้บอกกับใครๆ ว่า “เราไม่ใช่เหยื่อของพ่อค้าบุหรี่-เหล้า” จึงอยากให้เยาวชนทุกคนเข้าไปแสดงพลังกันได้ที่ facebook/gangpakdee

นอกจากนี้ นักวิชาการที่ศึกษาการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (csr) บุหรี่-เหล้า ได้ให้ความคิดเห็น โดย ผศ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก กล่าวว่า พบหลักฐานปรากฏทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทบุหรี่ แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงกิจกรรมสร้างภาพ สวนทางกับพฤติกรรมของบริษัทเหล่านี้ในการทำธุรกิจ โดยได้แสดงอย่างชัดเจนถึงความ “ไม่รับผิดชอบต่อสังคม” ที่เห็นได้จากการที่บริษัทบุหรี่ได้ฝ่าฝืนกฎหมายห้ามโฆษณาและส่งเสริมการขายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำให้ชื่อของยี่ห้อบุหรี่ปรากฏในสินค้าต่างๆ อาทิ ของชำร่วย ชาม เสื้อ กางเกง ผ้าเช็ดตัว การใช้สื่อบุคคลที่เป็นหญิงสาวสวยหรือพริตตี้ เป็นคนแนะนำสินค้าด้วยการใส่เสื้อผ้าสีเดียวกับยี่ห้อบุหรี่ การจ้างให้ดาราที่มีชื่อเสียงสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ที่แสดง ด้วยเหตุผลนี้ ทั่วโลกจึงตกลงกันที่จะห้ามการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทบุหรี่ เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบ “เทียม” ไม่ใช่การแสดงความรับผิดชอบด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษมผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม คณะวิทยาการจัดการ ราชภัฏพระนคร กล่าวเพิ่มเติมว่า การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร (image and corporate communications) เป็นวิธีการหนึ่งที่องค์กรธุรกิจต่างนิยมนำมาใช้ในการสร้างความน่าสนใจ การให้ความยอมรับ ความไว้วางใจ และความเชื่อถือในองค์กร และกลุ่มธุรกิจแอลกอฮอล์ก็เป็นหนึ่งในนั้น การใช้กลยุทธ์ csr ของกลุ่มธุรกิจแอลกอฮอล์นี้แท้ที่จริงแล้ว คือ “spin technique” ผ่านวาทกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (csr as discourse) เพื่อให้บริษัทหรือองค์กรได้ใช้ประโยชน์ในการบริหารสื่อมวลชน ตลอดจนการล้อบบี้กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลบความสนใจของสาธารณชนออกจากประเด็นที่ การดำเนินงานหรือผลิตภัณฑ์/บริการของบริษัทกำลังถูกถกเถียงหรือถูกโจมตีในวงสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องการสร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวกขององค์กรในสายตาของนักลงทุน มากกว่าการกระทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างแท้จริง 

กิจกรรมเวทีเยาวชนเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ตอน “บุหรี่ – เหล้า เราไม่ใช่เหยื่อ” นี้ ยังมีประเด็นการเสวนาที่น่าสนใจ คือ “เยาวชน : เหยื่อ csr และโฆษณาเหล้า – บุหรี่ทางอินเตอร์เน็ต ปัญหาและทางออก โดยมีนักวิชาการ สื่อมวลชน  และตัวแทนเยาวชนกว่า 150 เข้าร่วมการเสวนา และในภาคบ่าย มีการแสดงดนตรีเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สนใจเหล้า – บุหรี่ จากเยาวชนกลุ่มเกสรลำพู การประกาศผลและพิธีมอบรางวัลภาพยนตร์โฆษณาคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่  และการฉาย 10 ภาพยนตร์โฆษณาคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ที่เข้ารอบสุดท้าย ร่วมด้วยหนังโฆษณารณรงค์ไม่สูบบุหรี่จากผู้กำกับหนังโฆษณามือรางวัล   mv.ranger no l จากเยาวชนปิ๊งส์ และหนังสั้น…สุโค่ยเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สนใจบุหรี่ จากไบโอสโคป กิจกรรมนี้ได้รับเกียรติดำเนินรายการตลอดงาน โดย  พี่เต้ – สุผจญ  กลิ่นสุวรรณ  จากรายการ  english breakfast ช่องไทยพีบีเอส

ที่มา: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ