เดินหน้า ‘มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่’
เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมฯ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดการการเรียนรู้ เรื่องมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่”
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อควบคุมยาสูบ (คภยส.) ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการประชุม “จัดการการเรียนรู้ (knowledge management) เรื่องมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่” โดยมี ภก.คทา บัณฑิตานุกูล ประธานเครือข่ายฯ ร่วมแลกเปลี่ยนกับวิทยากร mr.martin leaver ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ และ มี ผศ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.)
ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย
มหาวิทยาลัยนเรศวร
1. ทนพ.ดร.อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต
2. ผศ.ดร.นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ คณะเภสัชศาสตร์
3. อ.ดร.ชวนชม ธนานิธิศักดิ์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1. รศ.ดร.ปิยพันธ์ แสนทวีสุข รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต
2. ผศ.ดร.ภญ.พยอม สุขเอนกนันท์ คณะเภสัชศาสตร์
3. อ.ภก.ธีระพงศ์ ศรีศิลป์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยสยาม
ดร.ภญ.นฤมล โพธิ์ศรีทอง คณะเภสัชศาสตร์
อ.เสถียร พูนผล คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
นางปราณี บุญญา รองผู้อำนวยการสำนักงานสวัสดิการสุขภาพ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
อ.ภญ.จุฑารัตน์ เทียมทอง คณะเภสัชศาสตร์
อ.ภญ.รัตนาภรณ์ มหารชพงศ์ คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ดร.อ.ภญ.มณฑิรา บำรุงกิจทวีศรี คณะเภสัชศาสตร์
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
น.ส.กนกวรรณ ชมเชย เจ้าหน้าที่โครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่
ทีมประเมินผลแผนงาน
ผศ.ดร.ภญ.ชุติมา วีรนิชพงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วมสังเกตการณ์
ผลจากการจัดการความรู้ร่วมกันมีความเห็นว่า หลายมหาวิทยาลัยมีการแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะทำงานที่จัดทำแนวทางการควบคุมการสูบบุหรี่ตามกฎหมาย แต่ยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนมีประกาศนโยบายมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งอาจจะเกิดจากอุปสรรคในลำดับขั้นเสนอขอความคิดเห็นและขออนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง
“ในขั้นต้นจึงมีข้อเสนอให้จัดทำแนวปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัยก่อนอย่างน้อยเพื่อปรับสภาพแวดล้อมเขตสูบและเขตห้ามสูบบุหรี่ให้ชัดเจนเพื่อปกป้องสุขภาพให้กับผู้ไม่สูบบุหรี่ แล้วจึงบูรณาการกิจกรรมรณรงค์ป้องกันผู้สูบหน้าใหม่หรือชักชวนให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบโดยการจัดคลินิกให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่ที่มีอยู่แล้วในร้านยาของคณะเภสัชศาสตร์ทุกแห่งให้เป็นเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรม และอาจจะสอดแทรกการเรียนการสอนเรื่องพิษภัยของบุหรี่ที่บูรณาการกับเหล้าเข้าไปในกิจกรรมนิสิตและการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป โดยในอนาคตอาจจะมีการประสานมอบรางวัลเชิดชูให้กับมหาวิทยาลัยที่มีแนวปฏิบัติชัดเจนเพื่อให้เกิดการยอมรับในวงกว้างต่อไป”
ที่มา : เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อควบคุมยาสูบ (คภยส.)