เฉลี่ยคนไทยฆ่าตัวตายวันละ 10 คน
กรมสุขภาพจิตเผยสถานการณ์ฆ่าตัวตายเฉลี่ยคนไทยฆ่าตัวตายวันละ 10 คน ห่วงการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้สูงอายุ
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสนุขภาพจิต แถลงข่าวการสัมมาทางวิชาการการป้องกันการฆ่าตัวตายในหลากสังคมหลายวัฒนธรรม (รักตัวเองบ้าง…นะ) ว่ากรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการชำระข้อมูลการฆ่าตัวตายของไทยตั้งแต่ปี 2542 อัตราการฆ่าตัวตายลดลงจากปีละ 5,700 ราย หรือคิดเป็น 8 ต่อประชากรแสนคน ขณะที่ในปี 2553 เหลือเพียง 5.9 ต่อประชากรแสนคน หรือ 3,761 รายต่อปี เฉลี่ยวันะ 10 ราย โดยเพศชายมีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 9.29 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าเพศหญิงที่มีอัตราอยู่ที่ 2.62 ต่อประชากรแสนคน
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุในกลุ่มเพศชายพบว่า กลุ่มอายุ 80-84 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 75-79 ปี ตามด้วย อายุ 70-74 ปี โดยภาคเหนือตอนบนยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดแม้ตัวเลขจะลดลง โดย 5 จังหวัดแรกที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และเชียงใหม่ สำหรับ 5 จังหวัดที่มีอัตราต่ำสุด ได้แก่ ปัตตานี หนองคาย นราธิวาส ยะลา และพิจิตร
“สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการแก้ปัญหา คือ การฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นเพราะผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกว่า ไม่รู้จะอยู่ไปทำไมไม่มีเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่มีญาติมาเยี่ยม หรือไม่มีลูกหลานมาเอาใจใส่ดูแล จึงจำเป็นที่ลูกหลานหรือคนใกล้ชิดจะต้องทำให้ผู้สูงอายุรู้ว่าจะต้องอยู่ทำไม ให้รู้สึกมีความหวัง ควรสลับกันไปเยี่ยมให้รู้สึกอบอุ่น อย่าให้จับเจ่าอยู่คนเดียว” นพ.อภิชัย กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ภาคเหนือมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดนั้น เป็นผลจากวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า ภาคเหนือมีวัมนธรรมการรักษาหน้ารุนแรงมาก ขณที่คนในภาคอื่นไม่มีวัฒนธรรมเช่นนี้
นพ.อภิชัย กล่าวอีกด้วยว่า ในวันที่ 10 กันยายน ของทุกปีเป็นวันอนามัยโลก หรือฮู (WHO) กำหนดให้รณรงค์ภายใต้แนวคิด “การป้องกันการฆ่าตัวตายในหลากสังคมหลายวัฒนธรรม” โดยปีนี้กรมจะจัดงานในวันที่ 8 กันยายน ภายใต้แนวคิด “รักตัวเองบ้าง…นะ” ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในงานจะมีการเปิดตัวแบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย ฉบับประชาชน (SU9) เพื่อให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้ในการคัดกรองคนใกล้ชิด ประกอบด้วย คำถาม 9 ข้อ อาทิ 1 ปีที่ผ่านมาเคยดื่มเหล้าเพื่อลดความทุกข์หรือไม่ ในรอบ 1 เดือนสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักหรือคนรักหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนในการคิดฆ่าตัวตาย
อนึ่ง องค์การอนามัยโลก ประมาณการว่าในแต่ละปีจะมีคน 1 ล้านคน เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย และมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ.2563 จะมีคนเสียชีวิตด้วยปัญหานี้ 1.53 ล้านคน
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก