เครือข่ายสื่อเด็กภาคเหนือระดมสมองสร้างแผนงานสื่อสร้างสรรค์

 

เครือข่ายเสื่อเด็กและเยาชนและครอบครัวภาคเหนือ จัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อร่วมกันเสนอแผนงานสื่อสร้างสรรค์ เพื่อการเท่าทันสื่อ ภาคเหนือ

งานนี้จัดขึ้นที่สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 6 – 8 พฤษภาคม 2556 โดยมีกลุ่ม 10 กลุ่มที่ทำงานร่วมกับเยาวชนทั้ง กลุ่มกิ่งก้านใบ ห้องสมุดลูกข่าง จ.อุตรดิตถ์ สำนักข่าวเด็ก จ.พะเยา กลุ่มโกสัยนคร .แพร่ กลุ่มดอยหมอกเพื่อการพัฒนา กลุ่มแบ่งฝันปันใจ จ.แม่ฮ่องสอน ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนภาคเหนือ กลุ่มสืบสานตำนานปีซอ กลุ่มละครกั๊บไฟ จ.เชียงใหม่ กลุ่มต้นกล้าน้อย จ.กำแพงเพชร เข้าร่วมการอบรม

นายชาล สร้อยสุวรรณ หรือ “เดี่ยว” เครือข่ายเสื่อเด็กและเยาชนและครอบครัวภาคเหนือ กล่าวว่า คสน.นั้นได้ทำสื่อสร้างสรรค์ ส่วนหนึ่งนั้นหากสามารถผลิตสื่อออกไปนามของกลุ่มน่าจะส่งผลดี แต่ละกลุ่มก็มีสื่อเป็นของตัวเอง ทั้งหนังสั้น ละคร ดนตรี แต่ถ้าหากว่ามีแนวคิด และประเด็นร่วมกันในการผลิตสื่อร่วมกันนั่นคือเรื่องเท่าทันสื่อ ก็ต้องมาพูดคุย ดูแนวทางการทำงานของแต่ละกลุ่ม เพื่อออกแบบ และทำงานในพื้นที่ให้เยาวชนได้เท่าทันสื่อไปพร้อมๆ กัน เป็นเครือข่ายเพื่อเป็นสร้างแนวคิดในการผลิตงานเท่าทันสื่องานนี้ได้เชิญ

เสาวนีย์ อุทุมมา โปรดิวเซอร์ รายการใจดีสู้สื่อ ซึ่งออกอากาศทางไทยพีบีเอส ทุกวันศุกร์ 17.10 น. – 17.55 น. มาร่วมพูดคุย“ตอนทำรายการก็คิดอยู่นะว่าจะนำเสนอรูปแบบรายการแบบไหน อย่างไร จะใส่เนื้อหาเยอะๆ จะดีไหม แต่ก็ต้องยอมรับว่าข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ต้องให้รู้” โปรดิวเซอร์รายการใจดีสู้สื่อกล่าว

รายการใจดีสู้สื่อ ได้รับความร่วมมือจาก สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน สสย. กับ ไทยพีบีเอส ในการเอื้อการผลิตและออกอากาศ หลักๆแล้ว เราอยากส่งเสริมให้ผู้ชมกลุ่ม คนดูทั่วไป รวมถึงกลุ่มเยาวชน ครอบครัว ได้รู้เท่าทันสื่อ มองสื่อให้ออก เกิดความตระหนัก โดยเน้นให้เท่าทันสื่อ พฤติกรรมนำเข้าสู่เนื้อหา เฝ้าระวังสื่อ ให้ความรู้ข้อเท็จจริงในสื่อ โดยหวังจะทำให้เกิดแนวทางการรู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อนั้นคือ

1. สื่อคือสิ่งที่สร้างขึ้น

2. สื่อมีเป้าหมายทางธุรกิจ/โฆษณา

3. สื่อสร้างค่านิยมและอุดมคติ

4. สื่อทำให้มีผลที่ตามมาทางการเมืองและสังคม

แนวทางของการรู้เท่าทันสื่อ การตั้งคำถาม ทั้งการวิจารณ์ วิพากษ์ และการคิดเชิงวิเคราะห์ การเป็นผู้บริโภคที่กระตือรือร้น แสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม ความเห็นเพิ่มเติม การตอบสนอง / ตอบโต้ / สร้างผลสะท้อน (feed back) ไปสู่สื่อมวลชน การรวมตัวจัดตั้ง เป็นกลุ่มหรือองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ การผลักดันกติกา กฎระเบียบเพื่อการควบคุม / ตรวจสอบสื่อ

“แนวคิดในการคิดประเด็นรายการง่ายๆ ก็คือดูว่าเราสงสัยอะไร ดูประเด็นที่ใกล้ตัว เรื่องที่อยู่ในกระแส พอเราคิดประเด็นได้ ก็คิดต่ออีกว่าเรื่องที่จะเราเสนอมีคุณค่าแค่ไหน เรื่องนั้นจะต่อยอดได้ไหม สร้างความเชื่อมโยงอะไรบ้าง อยากให้ทุกกลุ่มลองทำดู” เสาวนีย์

หลังการอบรม กลุ่มต่างๆ ทั้ง 10 กลุ่ม มีโครงการทั้งโครงการทำหนังสั้นเช็คอิน ที่สะท้อนชีวิตของคนที่ใช้ระบบการใช้โซเชียลมีเดีย ละคร เพลง เพื่อเริ่มงานในประเด็นเท่าทันสื่อ

 

 

ที่มา : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน สสย.

Shares:
QR Code :
QR Code