เครือข่ายภาคประชาชน ขอเพิ่มการตั้งกองทุนฯ ในการพิจารณา พรบ.องค์กรจัดสรรค์คลื่นความถี่ฯ

 

 

เครือข่ายภาคประชาชน ขอเพิ่มการตั้งกองทุนฯ ในการพิจารณา พรบ.องค์กรจัดสรรค์คลื่นความถี่ฯ              เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552   เครือข่ายภาคประชาชน อาทิ มูลนิธิสื่อภาคประชาชน  เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ  เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

 

              แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ขบวนการตาสับปะรด ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง     การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

 

              ขอให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคม เพื่อความโปร่งใสและการแทรกแทรงจากภาครัฐและภาคธุรกิจ พร้อมทั้งการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงสิทธิในการสื่อสารและได้รับสื่ออย่างมีคุณภาพ

 เครือข่ายภาคประชาชน ขอเพิ่มการตั้งกองทุนฯ ในการพิจารณา พรบ.องค์กรจัดสรรค์คลื่นความถี่ฯ

              สืบเนื่องจากวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 4 มีนาคม 2552 ได้กำหนดให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ซึ่งว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรอิสระและกำหนดแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรของชาติที่ต้องใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว้

 

              เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องสิทธิการสื่อสารของภาคประชาชนและได้ติดตามผลักดันการปฏิรูปสื่อมาโดยตลอด ในวาระนี้ทางเครือข่ายดังรายนามข้างท้ายจึงมีข้อเสนอต่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ของสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

 เครือข่ายภาคประชาชน ขอเพิ่มการตั้งกองทุนฯ ในการพิจารณา พรบ.องค์กรจัดสรรค์คลื่นความถี่ฯ

              1. กระบวนการและที่มาขององค์กรอิสระต้องมีความโปร่งใส มีขั้นตอนที่ป้องกันการแทรกแซงจากภาครัฐและภาคธุรกิจ

 

              2. ให้ยืนยันสิทธิการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ของภาคประชาชนอย่างชัดเจน โดยกำหนดแนวทางจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ตามที่เคยบัญญัติไว้ในกฎหมาย

 

              3. การจัดตั้งกองทุนให้เป็นไปเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทั้ง กลุ่มเด็กเยาวชนและครอบครัว ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธ์ และประชาชนในท้องถิ่น ได้เข้าถึงสิทธิในการสื่อสารและได้รับสื่อที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ให้มีสัดส่วนตัวแทนของภาคประชาชนเป็นกรรมการบริหารกองทุน

 

              4. กลไกตรวจสอบต้องมีความเป็นอิสระ และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละขั้นตอนและทุกด้าน

 

              ด้าน พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า “โดยหลักการอยากให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และจะนำข้อเสนอนี้เสนอต่อที่ประในวันนี้”

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน

 

 

update 05-03-52

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ