‘เครือข่ายนมแม่’ เดินหน้าปลุกองค์กรภาครัฐ-เอกชนฮึดสู้

สมาพันธ์เครือข่ายนมแม่แห่งประเทศไทย ภายใต้การนำของ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมแกนนำคนสำคัญ อาทิ รศ.ดร.กิตติ พ้นภัย อ.นันทวัน ยันตะดิลก พญ.ยุพยง แห่งชวลิต และบุคคลอื่นๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการรณรงค์ ให้หญิงไทยเห็นความสำคัญต่อ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


'เครือข่ายนมแม่' เดินหน้าปลุกองค์กรภาครัฐ-เอกชนฮึดสู้ thaihealth'เครือข่ายนมแม่' เดินหน้าปลุกองค์กรภาครัฐ-เอกชนฮึดสู้ thaihealth


ดังจะเห็นได้จากมีการจัดกิจกรรมรณรงค์มาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เป้าหมาย 6 จังหวัด ประกอบด้วย ระยอง นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี เชียงใหม่ ลำพูน และ สงขลา ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และบริโภคผลไม้ตาม เกณฑ์มาตรฐาน โดยมีอาสาสมัครสโมสรไลอ้อนสถาบันการศึกษา เป็นศูนย์กลางในการประสานงานและทำความเข้าใจต่อผลดีจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอดจนผลเสียต่อบุตรทารกจากการบริโภคนมผงอีกด้วย


จากการรณรงค์อย่างต่อเนื่องจึงได้เกิดตำบลปลอดนมผงถึง 3 จังหวัด ประกอบด้วย ระยอง นครศรีธรรมราช และอุบลราชธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558 ก็ได้จัดกิจกรรมรวมพลังสร้างสรรค์สังคมนมแม่ขึ้น ณ ห้องนิทรรศการ Green ชั้น 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เพื่อมอบรางวัลให้ แก่คณะบุคคล และองค์กรสาธารณะที่มีความรับผิดชอบต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนชาวไทย และได้มีการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมนมแม่มาอย่างต่อเนื่อง


โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เป็นผู้มอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่แม่และผู้ปกครองที่เลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่ครบ 6 เดือน อีกทั้งยังมีมอบรางวัลให้แก่ผู้แทนตำบลปลอดนมผง ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 9 แห่ง จาก 4 จังหวัด และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายนมแม่และรางวัลแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนเด็กทารกมีอายุครบ 2 ปี เป็นต้น


'เครือข่ายนมแม่' เดินหน้าปลุกองค์กรภาครัฐ-เอกชนฮึดสู้ thaihealthสำหรับสมาพันธ์เครือข่ายนมแม่แห่งประเทศไทยนั้นถือกำเนิดในปี 2558 จากการรวมตัวขององค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการกว่า 40 องค์กรเพื่อดำเนินภารกิจเกี่ยวกับการรณรงค์ให้หญิงไทยหันมาให้ความสนใจต่อทารกด้วยการให้บริโภคนมแม่อย่างจริงจัง


ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะชี้แจงให้เห็นนมผงที่ผลิตจากนมวัวมีอันตรายอย่างไรต่อทารก พร้อมแสดงหลักฐานสำคัญชี้ชัดว่าเด็กที่กินนมผงมีความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ ภูมิแพ้ ท้องร่วง โรคทางเดินหายใจ ภาวะอ้วน และโรคเบาหวาน พร้อมแสดงตัวเลขถึงความสูญเสียค่าใช้จ่ายในครัวเรือนต่อการจัดซื้อนมผง มีอัตราสูงถึง 74,520 บาทต่อปี


ในขณะที่ทารกเกิดใหม่ปีละประมาณ 800,000 คน มีการดื่มนมแม่เพียงร้อยละ 12 หรือ 65,000 คนเท่านั้น ส่วนที่เหลือหันไปบริโภคนมผงทั้งสิ้นจนทำให้ตลาดนมผงในปัจจุบันมีมูลค่าเกินกว่าปีละ 2,500 ล้านบาท


นอกจากดำเนินกิจกรรมเพื่อปลุกกระแสให้หญิงไทยหันมาให้ความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยผ่านเครือข่ายที่ เกี่ยวข้องและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว สมาพันธ์เครือข่ายนมแม่แห่งประเทศไทย ภายใต้การนำของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ….. โดยร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ผ่านการขับเคลื่อนจากหน่วยงานต่างๆ ทางด้านสาธารณสุข และภาคประชาสังคมมาอย่างต่อเนื่อง


อีกทั้งได้รับการรับรองจากภาคีเครือข่ายในการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 3 เมื่อปี 2553 โดยคณะรัฐมนตรีได้รับรองมติของที่ประชุมดังกล่าวในปี 2554 ต่อมาในปี 2557 กรมอนามัยได้ดำเนินการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ 'เครือข่ายนมแม่' เดินหน้าปลุกองค์กรภาครัฐ-เอกชนฮึดสู้ thaihealthเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการออกพระราชกฤษฎีกาและขั้นตอนของ สนช. ซึ่งถือว่าสิ้นสุดสามารถออกเป็นกฎหมายเพื่อนำมาบังคับใช้ต่อไป


นี่คือ…ผลแห่งการต่อสู้และความพยายามของภาคประชาสังคมกว่า 40 องค์กรที่มีความห่วงใยต่อประชากรทารกของไทยที่ถูกบริษัทนมผงยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศพยายาม ชี้นำ ส่งเสริมทางด้านการตลาดนมผง โดยมุ่งหวังยอดขาย และผลกำไรเพียงอย่างเดียว


โดยใช้ประชากรทารกของไทยเป็นตัวทดลองมาอย่างช้านาน จนสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดปีละ 2,500 ล้านบาท และมีความคาดหวังจะใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์การผลิตใหญ่ที่สุดระดับโลกอีกด้วย


รศ.ดร.กิตติ กันภัย แกนนำในการผลักดันร่างฉบับนี้ เปิดเผยว่า หลักใหญ่ของ พ.ร.บ คือ


1. ควบคุมการจำหน่ายนมผง


2. ควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดหรือการขายตรง


3. ห้ามไม่ให้บริษัทเหล่านี้สนับสนุนหรือการเป็นสปอนเซอร์ แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเมื่อออกเป็นกฎหมายแล้วจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงแก่บริษัทนมยักษ์ใหญ่ 7-8 บริษัท


ขณะนี้ทราบมาว่าตัวแทนของบริษัททได้มีการเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอลดข้อบัญญัติจาก กฎหมายฉบับนี้ เช่น การขอเสนอลดโทษจากการ จำคุกเป็นการปรับวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดย อ้างว่า ข้อบัญญัติทางกฎหมายนั้นส่งจำคุกไม่ได้ฟ


สุดท้ายนี้จึงใคร่ขอฝากเรื่องนี้ผ่านไปยังรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้การสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษ เพราะนี่คือ ความหวังของประชาชนชาวไทยที่อยากจะเห็นทารกที่เกิดขึ้นใหม่มีสุขภาพที่แข็งแรง อันเกิดจากความห่วงใยของแม่ โดยเฉพาะการให้นมแม่แก่ลูกน้อยนั่นเอง


"บริษัทนมผงยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศพยายามชี้นำ ส่งเสริมทางด้านการตลาดนมผงโดยมุ่งหวังยอดขายและผลกำไรเพียงอย่างเดียว โดยใช้ประชากรทารกของไทยเป็นตัวทดลองมาอย่างช้านาน จนสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดปีละ 2,500 ล้านบาท และมีความคาดหวังจะใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์การผลิตใหญ่ที่สุดระดับโลกอีกด้วย"


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ 

Shares:
QR Code :
QR Code