อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ปัญหาเด็กรอการแก้ไข
ขณะที่ไทยโพสต์ได้จัดประกวดเรียงความในหัวข้อเรื่องดีๆ บ้านฉันอยากปันให้เธอรู้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กไทยมีเวทีในการเขียน การอ่านภาษาไทย แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้นเครือข่ายภาคีของ สสส.ก็ดำเนินเรื่องนี้อยู่เช่นกัน ด้วยเล็งเห็นว่า “การอ่าน” ถือเป็นสิ่งสำคัญแก่ทุกคนที่จะสามารถช่วยเพิ่มพูนความรู้ในราคาถูกที่สุด แต่ปัญหาคือ คนเรากลับไม่เลือกที่จะสัมผัสกับสื่อชนิดนี้
เมื่อการอ่านๆ ไม่มี การเขียนก็ไม่เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กที่จะเติบโตขึ้น เป็นทรัพยากรของชาติในอนาคต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ผุดแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสำคัญกับการอ่านและเขียน
เป้าหมายสำคัญคือ “ต้องการให้เด็ก เยาวชน ครอบครัว เกิดการรับรู้ เรียนรู้ และมีทัศนคติแนวโน้มสู่พฤติกรรมการอ่านสู่สุขภาวะ เสริมสร้างกลุ่ม องค์กร เครือข่ายด้านการสร้างสรรค์สื่อและเครือข่ายด้านวิชาการ
อีกทั้ง กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน รวมถึงกลไกและช่องทางนำหนังสือถึงมือเด็ก ให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการสนับสนุน พัฒนาสื่ออ่านให้เข้าถึงเด็ก เยาวชน และชุมชน เป้าหมายสุดท้ายคือ ให้นักสื่อสาร สื่อมวลชน เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอ่านเพื่อสุขภาวะของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน จึงต้องเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อน ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิต พัฒนาหนังสือ สื่อการอ่านที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาสอดคล้องและเหมาะสม ทั้งกับทุกกลุ่มคนในสังคม โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย และวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย ที่นำสู่การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
พร้อมกันนี้ยังประสานงานกับเครือข่าย องค์กร กลไก ช่องทางต่างๆ ด้านการสร้างสรรค์หนังสือ การนำหนังสือถึงมือเด็ก ครอบครัว ชุมชน และการระดมทรัพยากรและปัจจัยต่างๆ เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ทั้งด้านการสร้างเสริมการการดำเนินงาน ทั้งด้านการสร้างเสริมการอ่าน ระบบการอ่าน และบรรยากาศแห่งการอ่าน สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อร่วมสร้างกระแสสังคมการอ่าน เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายทุกระดับทั้งภาคสังคมและภาครัฐ ที่นำไปสู่การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
กลุ่มพื้นที่เป้าหมายคือ โรงเรียน เกิดการพัฒนานวัตกรรมการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ที่ส่งผลกระเทือนทั้งโรงเรียนและยังเอื้อไปถึงชุมชนรอบข้าง รวมถึงสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มีทัศนคติและกระบวนการทำงานเป็นผู้สร้างสรรค์ ที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอ่านในพื้นที่ด้วย
ค่าเฉลี่ยการอ่านของเด็กไทยจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจการอ่านของประชากร มีเด็กเล็กจำนวนทั้งสิ้น 5.5 ล้านคน (ชาย 2.8/ หญิง 2.7 ล้านคน) เด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 36.0 (เด็กผู้ชายร้อยละ 36.7 เด็กผู้หญิงร้อยละ 35.2) มีเด็กเล็กที่อ่านหนังสือทั้งสิ้นเพียง 2.1 ล้านคน
สำหรับการดูหนังสือภาพร่วมกับเด็กหรือการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง มีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่นๆ คือเพียงร้อยละ 36.0 ขณะที่กิจกรรมที่พาเด็กออกนอกบ้านคิดเป็นร้อยละ 72.9
การสำรวจจำนวนหนังสือสำหรับเด็กเล็ก (0-5 ปี) ที่มีอยู่ในบ้าน ซึ่งข้อตกลงจากแผนปฏิบัติการ “โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก” (a world fit for children) ขององค์การกองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ในด้านพัฒนาการของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ได้กำหนดตัวชี้วัดว่าควรมีหนังสือสำหรับเด็กในครัวเรือนอย่างน้อย 3 เล่ม
สถานการณ์ “เยาวชนกับการอ่าน” โดยอัตราการอ่านในกลุ่มวัย 6 ปีขึ้นไป จากที่เคยสูงขึ้นร้อยละ 69.1 ในปี พ.ศ.2548 (พ.ศ.2546 ร้อยละ 61.2) กลับลดลงในปี พ.ศ.2551 เหลือร้อยละ 66.3
การสำรวจการใช้เวลาว่างโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2544) พบว่า คนไทยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2544) พบว่า คนไทยอายุ 10 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือเพื่อเป็นกิจกรรมในเวลาว่าง 4.4 คน จาก 100 คน (เกาหลี 56.4% ของคนทั้งหมด) เหตุผลเพราะมีสื่ออื่นที่น่าสนใจกว่า ได้แก่ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต หนังสือมีราคาแพง ไม่มีหนังสือให้อ่าน ไม่เห็นความสำคัญ (ผู้ปกครอง) ห้องสมุดมีหนังสือไม่น่าสนใจ ผู้บังคับให้อ่าน
ส่วนปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ กระทรวงศึกษาธิการเคยเปิดเผยว่า มาจาก 4 สาเหตุใหญ่ คือ 1.ปัญหาครอบครัวยากจน จนเด็กต้องขาดเรียนบ่อยๆ จนเวลาเรียนไม่ครบ 2.เด็กที่ไม่ได้พูดภาษาไทยที่บ้าน 3.มีปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 5-6 บางโรงเรียนอาจมีมากกว่านี้ และ 4.เด็กในโรงเรียนที่มีครูไม่เพียงพอหรือขาด แคลนครู
จึงเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลอย่างเร่งด้วยเพื่ออนาคตของชาติไทย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์