อ่านกับลูก

ที่มา : ฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


อ่านกับลูก thaihealth


แฟ้มภาพ


                เพราะการอ่านคือการเปิดโลก ของความสุข และโลกของการ เรียนรู้ที่มีมากมายไม่รู้จบ ถ้าลูกมีนิสัยรักการอ่าน เท่ากับ ลูกมีต้นทุนของการหาความสุขเป็น สามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วย ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อเสริม จินตนาการ ความบันเทิง หรือ วิชาการ เป็นคุณสมบัติที่ดีต่อการ เติบโตในโลกกว้างอย่างมีคุณภาพ


Q: พ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกฟังทำให้ลูกรักการอ่านได้อย่างไร?


A: เพราะลูกเชื่อมโยงหนังสือกับความสุข ซึ่งมาจากช่วงเวลาที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ ฟังนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความสนุกจากเนื้อเรื่อง จากการเล่าด้วยน้ำเสียงสูงต่ำชวน ให้ติดตาม หรือแค่พ่อแม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับลูก เท่านี้ก็เป็นช่วงเวลาคุณภาพที่จะ ประทับความรักความอบอุ่นไว้ในหัวใจลูก และทำให้ลูกรู้สึกว่าชั่วโมงของ การอ่านนั้นมีความสุขจังเลย


Q: แล้วต้องอ่านบ่อยแค่ไหน? อ่านนานแค่ไหน? อ่านกี่เล่ม? แล้วถ้างานยุ่งมากจนไม่มีเวลาอ่านล่ะจะทำอย่างไร ?


A: ไม่ต้องคิดมากนะคุณพ่อคุณแม่ อ่านหนังสือให้ลูกฟังไม่ต้องใช้เวลานานก็ได้ และ ไม่ต้องอ่านหลายเล่มก็ได้ ขอแค่ได้ลงมืออ่านเป็นประจำสม่ำเสมอ มีเวลาน้อยก็ อ่านน้อย มีเวลานานก็อ่านนาน ใช้เวลาเพียง 10 – 15 นาทีเท่านั้น…ไม่ว่าจะเป็น ทุกคืนก่อนนอน หรือจะเป็นตอนเช้า ตอนเย็น บนรถตอนรถติด ตอนรอคิวที่ร้าน อาหาร หรือตอนออกไปเที่ยวนอกบ้าน มีหนังสืออยู่ใกล้ๆ มือหรือติดกระเป๋าไว้ มีโอกาสตอนไหนก็หยิบมาอ่านให้ลูกฟังได้ทุกเวลาเลย


อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ดีกับลูกอย่างไร?


1.ลูกเรียนรู้จากการฟังและการดู ตาของเด็กจะ ได้มองภาพสวยๆ ไปพร้อมกับเรื่องราวที่ได้ฟัง จากที่พ่อแม่เล่าหรืออ่าน ทำให้เด็กจะได้เรียนรู้ ว่าภาพที่เห็นคืออะไร เรียกว่าอะไร มีรูปร่าง หน้าตาอย่างไร อยู่ที่ไหน ทั้งเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น ร่างกายของตัวเอง สัตว์ต่างๆ สี รูปร่าง รูปทรง หรือเรื่องที่ไกลตัวออกไปเรื่อยๆ


2.ลูกเกิดจินตนาการ จากการคิดตามเนื้อเรื่อง ที่ได้ฟัง อาจเป็นเรื่องแฟนตาซีที่ไม่มีอยู่จริงก็ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องไร้สาระ เพราะจินตนาการคือ พื้นฐานสำคัญก่อนที่จะต่อยอดไปสู่การคิดหา ข้อเท็จจริงอย่างเป็นเหตุเป็นผลในขั้นต่อไป


3.สมองของลูกถูกกระตุ้นให้คิดและเรียนรู้ เมื่อพ่อแม่เล่านิทานแสนสนุก และชวนคิด ชวนถามให้ลูกตอบ กระตุ้นการใช้ความคิด ชวนให้สนใจ อยากรู้อยากเห็น ยิ่งลูกคิด บ่อยๆ มากเท่าไรสมองของลูกก็จะ ยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น


4.ลูกเกิดการเรียนรู้ภาษา การใช้ภาษาหรือคำ พูดของพ่อแม่ในการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทั้ง สำเนียงการพูด ภาษาที่หลากหลาย ภายใต้ น้ำเสียงที่อ่อนโยน และเติมสีสันจังหวะจะโคน แบบต่างๆ ให้น่าสนใจ ลูกจะค่อยๆ จดจำ สำนวนภาษาแบบต่างๆ เพิ่มคลังคำศัพท์ รู้จัก การอ่านออกเสียงที่ถูกต้องตามพ่อแม่ นำไปสู่ การเรียนรู้ภาษาจากประสาทสัมผัสทางหู ลูก จะเก็บคำที่ได้ยิน และเมื่อมีการชี้ตามคำใน แต่ละหน้า จะทำให้เด็กคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ ตัวอักษรต่างๆ เมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียน จะมีผล ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อทักษะการอ่าน การเรียนรู้ เช่น ภาษา การคำนวณ การคิด และมีแนวโน้มด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดีกว่าเด็กที่ไม่มีใครอ่านหนังสือให้ฟัง


5.ลูกมีความสุขที่ได้อยู่กับพ่อแม่ การอ่าน หนังสือให้ลูกฟังก่อนนอนทุกคืนเป็นเวลาที่ แสนสงบและแสนสุขระหว่างพ่อแม่ลูก ทำให้ เกิดความผูกพันและสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (attachment) ซึ่งจะประทับอยู่ในใจของลูก ไปจนโต สายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นอาจช่วย เหนี่ยวรั้งไม่ให้ลูกทำอะไรออกนอกลู่นอกทาง จนยากจะแก้


 

Shares:
QR Code :
QR Code