อีสานฮักแพง ชุมชนน่าอยู่

"ความรัก สามัคคี" ของคนในชาติ ตามที่ คสช.เร่งสร้าง และส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในวันนี้ ถือได้ว่า เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ ตลอดรวมไปถึงการ ยกระดับจิตวิญญาณของคนในสังคมให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียว ต่อการที่จะร่วมมือร่วมใจกันสร้างชาติ


อีสานฮักแพง ชุมชนน่าอยู่     thaihealth


เห็นได้จากการที่ได้ไปสัมผัสกับชุมชนในภาคอีสาน ที่เขาได้มีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนอีสาน "ฮักแพง แบ่งปัน อีสานสร้างสุข ปี 2" เมื่อไม่นานมานี้ พบว่า ภายใต้ โครงการชุมชนน่าอยู่ภาคอีสาน โดยการสนับสนุนของ สำนักงาน สร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สสส. ที่ได้เปิดพื้นที่ตลาดนัดความรู้ให้แต่ละชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปพัฒนาให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยภายในห้องประชุม สัมมนาจะมีการถอดบทเรียนของปัญหาที่หลากหลาย ภายในชุมชนเพื่อนำมาร่วมกันแก้ไข เช่น การเลิกใช้สารเคมี การคัดแยกขยะ และการเลิกเหล้า


ด้วยความกลมเกลียว ร่วมมือร่วมใจกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน ยืนยันได้ว่า ความรัก สามัคคีของคนในชาติ และในชุมชน คือหัวใจที่จะสร้างและพัฒนาชาติให้เดินไป ข้างหน้าอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน


 นางอวยพร พิศเพ็ง หัวหน้าโครงการติดตามประเมินผล ชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคอีสาน อธิบายว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการสรุปผลการทำงานของโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคอีสาน รุ่นที่ 3 เป็นพัฒนากลไกขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ด้วย 2 หลักแนวคิด คือการพัฒนากลไกสภาผู้นำชุมชนด้วยการพัฒนาแกนนำและส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่ เพื่อ ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และการส่งเสริมและปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้กับวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2557 มีทั้งหมด 168 โครงการ และเป็นโครงการ ต่อเนื่อง 63 โครงการ ที่ครอบคลุมภาคอีสานทั้งหมด 20 จังหวัด ส่งผลสำเร็จอีสานฮักแพง ชุมชนน่าอยู่     thaihealthที่เห็นได้อย่างชัดเจนในการลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชน คือ 1.มีกลไกสภาผู้นำชุมชนซึ่งมีการจัดโครงสร้างและแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ 2.มีการปรับสภาพแวดล้อม เช่น การจัดการขยะในชุมชน การเลิกใช้ปุ๋ยเคมีทำการเกษตรส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง และมีมาตรการชุมชนลดละเลิกเหล้าในงานบุญประเพณี ต่างๆ และ 3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ เช่น การทำน้ำดื่มสมุนไพรทดแทนการเลี้ยงสุราในงานศพ, การลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ, การบริโภคอาหารปลอดภัยจากผักที่ปลูกรับประทานเองในครัวเรือนและ การฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมชุมชน เป็นต้น


ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผอ.สำนักงานสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สสส. กล่าวว่า ชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ 1.แกนนำ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เป็นทางการ แต่รวมถึงแกนนำ ตามกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ หรือในรูปแบบสภาผู้นำชุมชน คือมีการพูดคุยกัน อย่างสม่ำเสมอเพื่อระดมความคิดในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งจะทำให้รับรู้สถานการณ์ภายในชุมชนของตนเองมากขึ้น 2.การมีส่วนร่วม ซึ่งแกนนำต้องสื่อสารให้คนในชุมชนมีความเข้าใจตรงกัน ในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.การแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของแต่ละคน เพื่อช่วยเป็นพลังหนุนเสริมให้แก่กัน ซึ่งทุกคนจะมีบทบาทที่ตนเองต้องรับผิดชอบ 4 มีการแบ่งหน้าที่ และมีการวิเคราะห์ปัญหาที่ดี เพื่อนำไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง มากยิ่งขึ้น 5.การระดมทรัพยากรที่มีอยู่หลายส่วน ทั้งจาก สสส.ที่เป็นน้ำมันหล่อลื่นและช่วยจุดประกายในการอีสานฮักแพง ชุมชนน่าอยู่     thaihealthทำงาน แต่ โครงการจะยั่งยืนได้ต้องอาศัยทรัพยากรจากท้องถิ่นร่วมด้วย ยังช่วย ให้ชุมชนสามารถต่อยอดการทำงานต่อไปได้ 6.การบริหารจัดการที่ดี เพื่อทำให้งานที่ออกแบบวางแผนไว้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และ 7.รู้จักตั้งคำถาม ว่า "ทำไม" เช่น ทำไมต้องทำ โครงการนี้, ทำไมต้องแก้ปัญหานี้ ก็เพื่อให้ได้คำตอบที่หลากหลาย และมองเห็นปัญหาร่วมกันในชุมชน


นางวรรณา ต้นตะภา ประธานโครงการร่วมสร้างชุมชน ท้องถิ่นให้น่าอยู่ บ้านโนนกกจิก จ.กาฬสินธุ์ ผู้ดำเนินการ การลดใช้สารเคมีสร้างคนสุขภาพดีถ้วนหน้า น้อมนำเศรษฐกิจ พอเพียง หนึ่งในผู้เข้าร่วมการประชุม เล่าให้ฟังว่า จากเดิมที่คนในชุมชนใช้สารเคมีทำเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ และเพิ่มต้นทุนต่อการผลิต แต่หลังจากได้รับการสนับสนุนดำเนินโครงการ ดังกล่าว ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงภายในพื้นที่ชุมชนอย่างชัดเจน เช่น สภาพดินสมบูรณ์ขึ้นส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติกลับคืนมาเป็นแหล่งอาหารได้ ทำให้ ลดต้นทุนการผลิต สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างพื้นฐานเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน


สรุปรวมความได้ว่า หากจะสร้างชุมชนให้น่าอยู่ได้นั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นปัจจัยขับเคลื่อน ซึ่งการได้รับแรงสนับสนุนที่ดีจากชุมชนและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ก็เป็นอีกหนึ่งของกำลังสำคัญที่จะช่วยต่อยอด แนวความคิดการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Shares:
QR Code :
QR Code