อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ที่มา : ชุดความรู้ การพัฒนาเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ โรงเรียนผู้สูงอายุ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ thaihealth


ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาคุณภาพการนอนที่ลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น โดยมีสาเหตุจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามวัย รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล อาการปวดต่าง ๆ กรดไหลย้อน ปัญหาการหายใจ หรือโรคนอนกรน ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ผลข้างเคียงจากยา


การป้องกันและการดูแล


จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่ช่วยให้หลับสบาย เช่น เงียบสงบ ใช้ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอนและผ้าห่มที่มีสีไม่ฉูดฉาด ปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป


– พยายามนอนให้เป็นเวลาและสถานที่เดิมทุกวันเพื่อให้เกิดความเคยชิน


– ไม่ควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ มากนัก เวลาที่เหมาะสมคือ 3-4 ทุ่ม และตื่นตี 4-5


– พยายามดื่มน้ำช่วงเช้าและกลางวัน และดื่มให้น้อยลงหลังอาหารเย็น เพื่อลดการปัสสาวะตอนกลางคืน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนหลัง เวลาบ่าย 2 โมง


– ไม่ควรนอนกลางวันเป็นเวลานาน ๆ อาจหากิจกรรมเบา ๆทำ หรือพูดคุยเล่น หากเพลียหรือง่วงจริง ๆ อาจงีบได้บ้าง แต่ไม่ควรงีบหลังบ่าย 3 โมง เพราะจะทำให้กลางคืนหลับยาก


– ปรึกษาแพทย์เพื่อทบทวนยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับ และรักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ


– หากต้องใช้ยานอนหลับ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ติดได้


 

Shares:
QR Code :
QR Code