‘หยุดบุหรี่’ ยืดชีวิต…ต่อลมหายใจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


'หยุดบุหรี่' ยืดชีวิต...ต่อลมหายใจ thaihealth


เป็นที่รู้ดีว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ อย่างมากมาย นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่แย่ลงและเป็นสาเหตุการเสียชีวิต


การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) มีการประชุมกลุ่มย่อย "บุหรี่กับโรคเรื้อรัง" เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจากบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 โรคสำคัญ ได้แก่ หลอดเลือด ปอด และมะเร็ง


"โรคหลอดเลือดสมอง"  รศ.นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา แพทย์หน่วยประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) บอกว่า คนไทยป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 2.5 แสนราย หรือ 690 คนต่อแสนประชากร ในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป อัตราป่วยอยู่ที่ 1,880 ต่อแสนประชากร เสียชีวิตเฉลี่ย 5-6 หมื่นรายต่อปี ถือเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของภาวะทุพพลภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ผู้สูงอายุ และผู้มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว


กลไกการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน รศ.นพ.สมบัติ อธิบายว่า 1. เกิดจากหลอดเลือดแดงหนาตัว มี "พราก" (Plaque) เกาะที่ผนังหลอดเลือด เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และ 2.เกิดก้อนเลือดที่หลอดเลือด เมื่อมี การไหลของเลือดทำให้ก้อนเลือดหลุดและออกไปอุดตันในเส้นเลือดอีกเส้นที่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อเส้นเลือดเกิดการอุดตันก็จะส่งผลให้สมองขาดเลือด


'หยุดบุหรี่' ยืดชีวิต...ต่อลมหายใจ thaihealth"บุหรี่เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดพราก เพราะสารต่างๆ ในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วขึ้น จนเกิดก้อนเลือดขึ้น การสูบบุหรี่ยังทำให้หลอดเลือดสมองแตก โดยหากสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ความดันโลหิตจะสูงขึ้น เกิดการแตกของหลอดเลือดสมองได้ แต่พบน้อยกว่าหลอดเลือดอุดตัน ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้เป็นอัมพาตครึ่งซีก หากอุดตันที่เส้นเลือดซ้ายจะเกิดอัมพาตข้างขวา ถ้าอุดตันเส้นเลือดขวาจะอัมพาตข้างซ้าย" รศ.นพ.สมบัติ กล่าว โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่อันตราย ต้องเร่งวินิจฉัยให้ถูกและรับการรักษาโดยเร็ว โดยอาการที่ควรรีบนำส่งพบแพทย์โดยเร็วที่สุด สังเกตจาก 3 กลุ่ม คือ 1.ปากเบี้ยว ทดสอบโดยการให้ยิ้มหรือพูด 2.แขนและ/หรือขา และ/หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง อย่างทันทีทันใด ด้วยการให้คนป่วยยกตั้งฉาก 10 วินาที และ 3. พูดไม่ออก ไม่เข้าใจคำพูด หรือพูดไม่ชัดอย่างทันทีทันใด รวมถึงอาจมีอาการตาข้างหนึ่งข้างใดมัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อน มีอาการคล้ายม่านบังตาที่เป็นฉับพลัน ปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน ชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน มีอาการเวียนหัว อยู่เฉย ๆ ก็เวียนหัว บ้านหมุน เดินลำบากหรือเป็นลม อาการที่เกิดขึ้นมักเป็นแบบเฉียบพลัน มักเป็นตอนเช้า เวลาที่ตื่นนอนขึ้นมา โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุเพราะเวลากลางคืนเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย


สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องป้องกันโรคด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากหากหยุดสูบบุหรี่ได้จะเกิดประโยชน์อย่างมาก ลดโรคได้ถึง 33%


"บุหรี่กับโรคปอดเรื้อรัง" พล.ต.นพ.อดิศร วงษา แพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า บอกว่า การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคปอด เพราะการสูบบุหรี่จะสูบลงปอด ไม่ใช่แค่ปากหรือจมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อยมีเสียง วี้ด ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่สูบบุหรี่ เพราะ 85% ของโรคเกิดจากการสูบบุหรี่ โดยควันบุหรี่จะทำให้เกิดการระคายเคือง เรื้อรังต่อปอด โดยผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่แต่หายใจออกได้เพียงครึ่งเดียว ทำให้ลมอัดแน่น เพราะถุงลมและหลอดลมถูกทำลายจากควันบุหรี่ หากหยุดบุหรี่ได้ โรคเรื้อรังจะลดลง ช่วยยืดชีวิต

Shares:
QR Code :
QR Code