หน่วยงานรัฐเห็นชอบร่วมต้านความรุนแรงในเด็กและสตรี

แค่เลิกคิดว่า..ชายเป็นใหญ่..สิ่งดีๆ ก็เกิดขึ้นได้

 

หน่วยงานรัฐเห็นชอบร่วมต้านความรุนแรงในเด็กและสตรี 

          ด้วยคำพูดที่ว่า “อย่าไปยุ่งเรื่องของครอบครัวเขาเลย” ทำให้เด็กและสตรีจำนวนหนึ่งถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ส่งผลให้สถิติความรุนแรงในเด็กและสตรีมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี และหากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าในอนาคตสังคมไทยจะต้องเป็นสังคมที่อ่อนแอและไร้เหตุผล นิยมความรุนแรงในการตัดสินปัญหา

 

          นายจะเด็จ เชาว์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า เดือน พ.ย.ถือเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ทั้งนี้ปัจจุบันสังคมส่วนใหญ่มองว่าผู้ชายต้องเป็นใหญ่ในครอบครัวแต่ปรากฏว่า เมื่อมูลนิธิเพื่อนหญิงได้ทำแบบสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของผู้ชายหัวข้อ “แค่เลิกคิดว่า..ชายเป็นใหญ่..สิ่งดีๆ ก็เกิดขึ้นได้” ระหว่างวันที่17 – 23ต.ค.2553โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายทั้งหมด1,139คน จาก9 จังหวัด กรุงเทพฯสุรินทร์ อำนาจเจริญ ชุมพร สมุทรสาคร นครปฐมสมุทรปราการ เชียงใหม่ และลำพูนพบว่าทัศนคติของผู้ชายในมิติความเสมอภาคหญิงชายนั้นดีขึ้นกว่าอดีตมากอาทิผู้ชายส่วนใหญ่เห็นว่าการแสดงออกถึงความเป็นชายคือการรักและรับผิดชอบครอบครัวไม่ใช่การดื่มเหล้า โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นนี้กว่าร้อยละ 89.60 และเมื่อถามว่า”ผู้ชายเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามในบ้านควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดความคิดตัวเองเป็นหลัก” พบว่ามีผู้ชายที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งรวมสูงถึงร้อยละ 91.90ส่วนประเด็น”ผู้ชายที่ช่วยทำงานบ้าน เป็นการช่วยกันแบ่งเบาภาระของผู้หญิงและถือเป็นงานของครอบครัว”พบว่า ผู้ชายที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 89.80 และเมื่อถามว่า”ผู้ชายรักเดียว ใจเดียว ซื่อสัตย์กับภรรยาน่ายกย่อง”มีผู้ชายมากถึงร้อยละ 86.90 ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งนายจะเด็จ กล่าวต่อว่า เมื่อถามว่า “ภรรยาไม่ใช่สมบัติของสามี จึงต้องให้เกียรติ ไม่ดุด่า ทุบตี บังคับหลับนอน”ปรากฏว่าเป็นที่น่าดีใจ เพราะกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 82.60 ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งส่วนประเด็นการยอมรับความสามารถของผู้หญิงกับคำถามว่า”ความสามารถไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศ ผู้หญิงก็มีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าผู้ชาย”นั้นพบว่าผู้ชายกว่าร้อยละ 85.60 ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งอย่างไรก็ตามผลในทางปฏิบัติจริงของผู้ชายจะสอดคล้องกับความคิดเห็นที่ได้มานี้หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปซึ่งคงต้องรณรงค์กันอย่างเข้มแข็ง จริงจังและต่อเนื่องโดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน

 

          ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อนหญิง และเครือข่ายผู้ชายเลิกเหล้ายุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ร่วมส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในละครและภาพยนตร์โดยได้เสนอข้อเรียกร้องเพื่อนำไปพิจารณา 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ให้เข้มงวดกับผลงานละคร ภาพยนตร์ ที่จงใจสื่อมิติความรุนแรง การกดขี่ทางเพศดื่มเหล้าทุบตี จนกลายเป็นการบ่มเพาะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อเด็กและเยาวชนและผู้คนในสังคม 2.ขอให้ส่งเสริมภาพยนตร์ ละคร และรายการโทรทัศน์ รวมถึงมิติทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่สนับสนุนความเสมอภาคหญิงชาย บทบาทของผู้ชายที่ดี ผู้ชายที่รับผิดชอบครอบครัวไม่ปลูกฝังค่านิยมแบบชายเป็นใหญ่ และ 3.สร้างพื้นที่ ช่องทางสำหรับสาธารณชนเพื่อใช้ร้องเรียนหรือเสนอแนะสื่อต่างๆ ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

 

          ทางด้านวธ.ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อผลักดันการดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวให้เป็นวาระแห่งชาติ นอกจากนี้ยังจะประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อร่วมกันหามาตรการควบคุมการใช้พฤติกรรมความรุนแรงและภาพความไม่เหมาะสมในละคร และภาพยนตร์ไทยด้วย

 

          ส่วนกระทรวงศึกษาธิการโดย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศธ.ได้ขานรับข้อเสนอ เพื่อขจัดหรือลดความรุนแรงในเด็กและสตรีของมูลนิธิเพื่อนหญิง ได้แก่1.ต้องมีระบบในการคุ้มครองผู้เสียหายในกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศที่ร้องเรียนในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้เสียหาย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มากกว่าการคำนึงถึงชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา2.ให้นำกฎสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 มาปรับใช้ในกฎที่มีอยู่ของกระทรวงศึกษาธิการ และ3.ขอให้เร่งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายให้เกียรติผู้หญิงและเปลี่ยนวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่โดยบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับชั้น

 

          ซึ่งปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กทำให้มีผลกระทบต่อจิตใจและความเหลื่อมล้ำทางเพศของผู้เสียหายอย่างมาก ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องมีบทบาทหน้าที่ในการหล่อหลอมค่านิยม แนวคิดมิติหญิงชายที่ถูกต้องให้กับเด็กและเยาวชนรองจากสถาบันครอบครัวซึ่งต้องทำอย่างจริงจังและเป็นกระบวนการตั้งแต่ระดับประถมมัธยมจนถึงอุดมศึกษา

 

          อย่างไรก็ตาม การจะลดความรุนแรงในเด็กและสตรีได้นั้นทุกสถาบันจะต้องร่วมปลูกฝังค่านิยมในการใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าการใช้กำลัง

 

          สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ www.thaihealth.or.th สอบถาม 0-2298-0500 ต่อ 1222

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

 

 

Update:22-11-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่

 

 

         

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ