หนุนสร้างพลังสื่อเยาวชน จากผู้รับเป็น ‘มีส่วนร่วม’

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติ การศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาศักยภาพในตัวของเด็กและเยาวชนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป

หนุนสร้างพลังสื่อเยาวชน จากผู้รับเป็น 'มีส่วนร่วม'

แต่ปัจจุบันด้วยสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง กระบวนการเรียนรู้ของเด็กเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอย่างมาก สื่อกลายเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งใหม่ที่สามารถกระตุ้นการรับรู้และดึงดูดความสนใจจากเด็กและเยาวชนได้มาก

โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดสื่อใหม่ๆมากมาย โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลจำนวนมหาศาล ขาดการควบคุม ขณะที่สื่อมวลชนดั้งเดิมทั้งสื่อโทรทัศน์วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ ก็พัฒนารูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจ โดยมีเป้าหมายการนำเสนอในเชิงพาณิชย์ มุ่งเสนอความบันเทิง นำมาซึ่งเด็กและเยาวชนขาดการวิเคราะห์และไม่มีความรู้เท่าทันสื่อส่งผลต่อทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของเด็กไปสู่ความเสี่ยงได้

เมื่อเร็วๆนี้ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนและ tpbs จัดงาน “media @ young พลังสื่อเยาวชน”โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมและเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ มากมาย

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า งาน “media @ young พลังสื่อเยาวชน” ภายใต้แนวคิด “3 ดี”  คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เกิดขึ้นได้ด้วยพลังของเด็กและเยาวชนที่ต้องการสร้างสรรค์สื่อที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง

สอดคล้องกับแนวทางของ สสส.ที่สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และครอบครัว มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับการแสดงออกด้านความคิดและความสามารถในทางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และในปี 2558 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การพัฒนาประชาคมอาเซียน

ดังนั้น เด็ก เยาวชน และครอบครัว จึงต้องมีการปรับตัว เรียนรู้ และทำความเข้าใจในความคิด วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง อย่างเห็นคุณค่า และเคารพซึ่งกันและกัน

“งาน “media @ young พลังสื่อเยาวชน” ที่ผ่านมา ถือเป็นเวทีให้เยาวชนได้เปลี่ยนโลกผ่านความคิดและจินตนาการที่หลากหลายผ่านสื่อที่ผลิตเองในรูปแบบต่างๆถือเป็นการพัฒนาบทบาทจาก “ผู้รับสื่อ”มาเป็น “การมีส่วนร่วม” ในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ต้องการการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ไม่ว่าเป็นครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ความคิดและจินตนาการเหล่านี้ได้เติบโตเบ่งบานในสังคมไทย” ผู้จัดการ สสส.ระบุ

น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ด้าน น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) เปิดเผยว่า การจัดเวทีพลังสื่อเยาวชนครั้งนี้ยังถือเป็นเวทีคู่ขนานกับ asia media summit 2012 ซึ่งได้มีการบรรจุวาระของเด็กและเยาวชนไว้ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะมีตัวแทนเด็กและเยาวชนจากเวที media @ young ไปร่วมนำเสนอเสียงเด็กในการ ประชุม ams ครั้งนี้ด้วย

สำหรับกิจกรรมภายในงานมีการแสดงผลงานสื่อและนวัตกรรมที่น่าสนใจ ในชุมชน 3 ดี ‘เรียนรู้ให้ครบ พบขุมทรัพย์ 3 ดี’ สนุกกับตลาดนัดสื่อดีชมเทศกาลหนังสั้นไทย-อาเซียน สื่อและกิจกรรมสะท้อนความหลากหลายชาติพันธุ์, ศาสนา, เพศวิถี ฯลฯ เปิดโลก tomorrow life กับกิจกรรมห้องไอซีที การแข่งขันเกม เพิ่มพูนทักษะกับสถานีเยาวชน workshop จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ ใช้ tablet แอพพลิเคชั่นตัดต่อภาพยนตร์ ฯลฯ และหลากหลายกิจกรรม และการแสดงบนเวทีสื่อสร้างสรรค์เวทีเปลี่ยนโลก

หนุนสร้างพลังสื่อเยาวชน จากผู้รับเป็น 'มีส่วนร่วม'เมื่อสอบถามเยาวชนที่ร่วมงานต่างแสดงความเห็นว่าสื่อดีที่พวกเขาต้องการนั้น ต้องส่งเสริมพัฒนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ นำเสนอด้วยเทคนิควิธีการที่ทำให้เข้าใจง่าย เช่น การใช้ภาพการ์ตูน, ต้องเป็นสื่อที่ส่งเสริมและปลูกฝังวัฒนธรรมอันดีงามและหลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถและศักยภาพที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังต้องเป็นสื่อที่ไม่มีภาพฉาก คำพูดที่รุนแรง อนาจาร

รวมถึงมีการออกอากาศในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับเด็ก ด้านสิ่งที่ต้องการคือให้มีกองทุนสื่อฯเข้ามาสนับสนุน เยาวชนนักผลิตสื่อเหล่านี้ และกองทุนสื่อฯต้องมีส่วนสนับสนุนให้เด็กได้สร้างสรรค์สื่อด้วยตนเองเพิ่มพื้นที่แก่เสียงของเด็ก สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อตลอดจนให้ความรู้ในเรื่องกองทุนสื่อฯแก่เด็กและเยาวชน

ด้านตัวแทนเยาวชนจากภาคใต้กล่าวว่า อยากให้สื่อนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทางที่ดีบ้าง ไม่อยากให้นำเสนอในแง่ร้ายอย่างเดียว เพราะจะทำให้คนคิดว่าภาคใต้น่ากลัว อยากให้สื่อมีความเสมอภาคในการนำเสนอ ไม่อย่างนั้นจะเกิดเป็นปัญหาต่อไปอีกเรื่อยๆ

หากผู้รับกลายเป็นผู้สร้าง สื่อในอนาคตคงสร้างสรรค์ขึ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code