หนุนกฎหมายเข้ม-ลดนักสูบ

เปิดประชุมวิชาการบุหรี่ หนุนกฎหมายเข้ม-ลดนักสูบ หลังพบไทยยังมีคนสูบกว่า 11 ล้านคน


หนุนกฎหมายเข้ม-ลดนักสูบ  thaihealth


เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ในการประชุมวิชาการ "บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ" ครั้งที่ 14 เรื่อง "หนุนกฎหมายบุหรี่ใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย" จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย


ศ.น.พ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวเปิดงานว่า นางมาร์กาเรต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ส่งสารมาถึงการประชุมวิชาการแห่งชาติเรื่องบุหรี่และสุขภาพ แสดงความยินดี ที่ประเทศไทยได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง จนมีผลให้อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงอย่าง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ได้แสดงความเป็นห่วง เพราะจำนวนคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ชาย ที่สูบบุหรี่ยังมีอยู่เป็น จำนวนมากถึง 11.4 ล้านคน


"การที่ชายไทยถึงร้อยละ 40 หรือ 4 ใน 10 คนยังสูบบุหรี่ ขณะที่มีเยาวชนนักสูบหน้าใหม่ เข้ามาติดบุหรี่ ในปีที่แล้วสองแสนคน เด็กเหล่านี้เมื่อก้าวเข้าสู่การเสพติดบุหรี่ ร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกได้ และต้องสูบไปจนกว่าจะป่วยหรือเสียชีวิต รัฐบาลจึงต้องปรับปรุงกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ โดยขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา เชื่อว่าจะสามารถบรรจุเป็นวาระพิจารณาใน สนช.ได้เร็ว ๆ นี้" น.พ.รัชตะ กล่าว


ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่กว่า 50,000 คน ในจำนวนนี้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือกว่า 15,000 คน เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี โดยผู้สูบบุหรี่ต้องป่วยหนักจนสูญเสียคุณภาพชีวิตโดยเฉลี่ยคนละ 2.5 ปีก่อนตาย นอกจากผู้ป่วยต้องทน ทุกข์ทรมานและเป็นภาระแก่ครอบครัวแล้ว ยังเป็นการเพิ่มภาระแก่ระบบบริการของโรงพยาบาล และภาระงบประมาณของโครงการ 30 บาทรักษาทุกหนุนกฎหมายเข้ม-ลดนักสูบ  thaihealthโรค โดยจากการวิเคราะห์แนวโน้มจำนวนผู้สูบบุหรี่ คาดว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ อีก 10 ปี จะลดลงเล็กน้อยจาก 11.4 ล้านคนเหลือ 10.5 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกวางไว้ ซึ่งการปรับปรุง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หากจะส่งผลกระทบต่อฝ่ายที่อยู่ในห่วงโซ่ ธุรกิจยาสูบ ตามที่บางคนกังวล ก็จะเป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นช้ามาก


"กฎหมายบุหรี่ออกมาถึง 20 ปีแล้ว และสมควรจะได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม ให้เท่าทันต่อกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่หากไม่มีกฎหมายที่เข้มงวดมากพอก็จะไม่สามารถลดปริมาณผู้สูบบุหรี่ลงได้เลย แต่กลับพบว่า อุตสาสหกรรมยาสูบได้วิ่งเต้นเพื่อพยายามทำให้กฎหมายมีความอ่อนลงและเปิดช่องให้สร้างนักสูบหน้าใหม่ได้ และพยายามใช้ร้านค้าปลีก และชาวไร่ยาสูบมาบังหน้า ทั้งที่อุตสาหกรรมบุหรี่ได้กำไรจาก การขายบุหรี่ในประเทศไทยปีละ 10,000 ล้านบาท" ศ.นพ.ประกิต กล่าว


ผศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้มีความพยายามจากอุตสาหกรรมบุหรี่ที่ให้ข้อมูลสังคม ว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้จำกัดสิทธิเกินความจำเป็น ไม่มีความสมดุลของการคุ้มครองสุขภาพกับสิทธิเสรี ภาพของผู้ประกอบการยาสูบ ซึ่งขอยืนยันว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นครบถ้วนทุกฝ่าย ใช้เวลากว่า 4 ปี ในการปรับปรุงแก้ไข เมื่อเทียบผลกระทบต่อประชาชน ที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพระยะยาว กับผลกระทบของบริษัทบุหรี่ที่เสียกำไรเพียงเล็กน้อย ถือว่ากฎหมายนี้ขาดความสมดุลย์ด้วยซ้ำไป เพราะยังคงยอมให้ธุรกิจนี้ดำเนินต่อไป ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าบุหรี่ก่อโรคกว่า 25 ชนิด และทำให้ผู้บริโภคครึ่งหนึ่งเสียชีวิต ก่อนเวลาอันควร แต่เนื่องจากบุหรี่ยังเป็นสินค้าที่ถูก และบริษัทบุหรี่ก็ยังมีสิทธิเสรีภาพในการทำธุรกิจไม่ได้เสียเปรียบทางการค้าใด ๆ ตามหลักจึงถือว่าเป็นการออกกฎหมายที่ชอบธรรม


        


 


 ที่มา : ข่าวสดออนไลน์


 


    

Shares:
QR Code :
QR Code