สุขกับชีวิต “ธรรมดา”
ที่มา : อยู่เย็น เป็นสุข 4 ภาคทั่วไทย
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
“ความสุขของผมคือการทำชีวิตให้ปกติธรรมดามากที่สุด” นิยามความสุขของ พ่อคำเดื่อง ภาษี อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ แม้จะดูเรียบง่ายแต่กว่าจะเข้าถึงคำ ๆ นี้ได้ ชีวิตก็ล้มลุกคลุกคลานผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่ใช่น้อย
พ่อคำเดื่อง เป็นเกษตรที่เติบโตมาในช่วงของการปฏิบัติเขียวที่ใช้เครื่องจักรแทนแรงงงานคน ปลุกพืชเสรษฐกิจที่เน้นการผลิตเพื่อขาย แลกด้วยเงินตรา มากกว่าการปลูกพืชเพื่ออยู่กิน
“ตั้งแต่สมัยเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งวชาติ พ.ศ.2514 นั่นแหละที่ผมหันมาทำพืชเชิงเดี่ยว ปลูกปอ ตอนนั้นปอราคาดีมาก ข้าวก็ราคาดี ปุ๋ยไม่ต้องใส่เพราะดินอุดมสมบุรณ์มาก ปลูกอะไรก็ได้ผลผลิตดี ราคาดี พอทำแล้วราคามันดีก็หวังรวย เลยบุกป่าถางป่าทำเพิ่มเป็น 100 – 200 ไร่” แต่ใช่เพียง พ่อคำเดื่องเท่านั้นที่คิดแบบนี้ ชาวบ้านอีกจำนวนไม่น้อยพากันละทิ้งวิถีเกษตรแบบเดิม หันมาปลูกปอกัน มันสำปะหลัง เมื่อผลผลิตออกมามากพืชที่เคยราคาดีก็ตกต่ำจนไม่มีราคา ก็บอกซ้ำไปตาม ๆ กัน
“ปี พ.ศ.2509 ปอราคาตกจาก 5 บาท ลงไปเหลือ 50 สตางค์ ไร่ปอที่ผมถากถางป่าขยายออกไปถึง 200 ไร่ เพราะคิดว่ามันจะรวย ก็มาเจ๊งเอาตอนนั้น” เวลาที่ปอยังราคาดีอยู่ กู้เงินจากธนาคารเพื่อเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ก้อนแรก 37,000 บาท เพื่อนำไปขยายงานในการทำไร่ปอ เมื่อผลผลิตราคาตกประสบปัญหาขาดทุน ก็หันไปปลูกพืชชนิดอื่น ปลูกอ้อยบ้าง มันสำปะหลังบ้าง แล้วก็เริ่มกู้สะสมไปเรื่อย ๆ จนท้ายที่สุดเขาก็มีหนี้สินก่อนใหญ่ถึง 90,000 บาท โดยไม่รู้ตัว
หนี้สินที่แม้จะต้องตัดออกไปทุกทีปีอย่างไรก็ยังคงเหลือเงินต้นเท่าเดิม ผลผลิตก็ตกต่ำลงทุกวัน ทำให้ความทุกข์ถามหา ชีวิตในช่วงนั้นไม่มีทางออกหันพึ่งน้ำเมา เพื่อดับทุกข์ชั่วคราว “มันไม่มีทางออกจริง ๆ ก็ไปคบเพื่อน ไปติดเหล้า ไม่มีเงินก็ไปเซ็นไว้ก่อน หนักเข้าก็หลายสิ่งหลายอย่าง ติดบุหรี่ แล้วทีนี้มันไม่อยากเข้าบ้านแล้ว มันไม่มีความสุขทุกข์ไปหมด
เรียนรู้อดีตด้วยใจอิ่มธรรม
ชีวิตอยู่จมอยู่ในความทุกข์นานนับปี จนกระทั่งบพน้องสาวที่บวชชีอยุ่ที่สำนักวิปัสสนาแห่งหนึ่งพยายามเตือนสติว่า จนเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ใช้หลักพุทธศาสนาเข้ามาแก้ไขปัยหาชีวิต “ตอนนั้นเหมือนรถที่ยังไม่เสียบกุญแจ สตาร์ทเท่าไรก็ติด” ต้องใช้ความพยายามไม่น้อยที่จะต้องหันหลังให้อบายมุข เพราะต้องตู่สู้กับตัวเองที่มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายที่ต้องการฝืน มันสู้กันอยู่ตลอดจนฝ่ายที่ต้องการดีชนะ
“ระหว่างที่พยายามต่อสุ้เพื่อจะเลิกบุหรี่ มันจะเหมือนมีเสียงสองเสียงในตัวที่มาเถียงกันเสียงหนึ่งจะห้ามเสียงหนึ่งจะยุ เสียงหนึ่งจะเอาน่าสูบหน่อย อีกเสียงจะเสียใจว่าทำไม? เมื่อกี้เราเพิ่งทิ้งไปทำไรเราสูบอีก เป็นอย่างนี้นานหลายเดือน แต่ก็ยังเลิกไม่ได้” จนวันหนึ่งพ่อคำเดื่องไปปเกี่ยวข้าว ตัดรวงข้าวตัดเพลิน มือคีบบุหรี่อยู่ก็ไหม้มา ถึงกันแล้วลามไปไหม้ฟาง พอไฟลุกโพลงขึ้นตรงหน้ามันทำอะไรไม่ทัน ก็ต้องเอามือไป ดับไฟเพราะมันเป็นข้าวเราจะปล่อยให้ไหม้ไม่ได้ ไฟก็ดับ ทีนี้คำว่าทุกข์ที่เราเคยติด กับมันมานานมันปิ๊งขึ้นมาตรงนั้นเลย เริ่มมองชีวิตที่เคยผ่านมา “ตัวเรานี้หนอ….อยากรวยอย่างเดียว”
เหตุการณ์ครั้งนั้นอาจเป็นแค่ “ความบังเอิญ” ของใครหลายคนแต่สำหรับพ่อคำเดื่องแล้วมันคือ ความลงตัว ทั้ง “จังหวัด” และ “เวลา” ที่เดินมาพบกัน ณ จุดหนึ่ง ทำให้เขาเข้าใจถึงหลักพุทธศาสนาขึ้นมาได้อย่างถ่องแท้ เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาชีวิตด้วยการย้อนกลับไปมองอดีต แก้ไขความผิดพลาดของตนเอง
เมื่อลึกซึ่งถึงอดีตก็พร้อมที่เดินหน้าไปกับปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคต พ่อคำเดื่องเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรกรรมแบบเน้นความร่ำรวย หันมาพึ่งพาชีวิตแบบพอเพียงลดปริมาณการใช้ปุ๋ย เพราะมองเห้นแล้วว่าปุ๋ยเคมีไม่
ได้ก่อประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด เพราะดินเสื่อมสภาพไปหมดแล้ว จากการทำไร่อ้อย 200 ไร่ เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อลดปริมาณในครอบครัวปฏิบัติธรรม กินอาหารมังสวิรัติ ใช้ชีวิตอย่างสมถะ ท้ายที่สุดปลดหนี้ลงได้
ในเวลาเดียวกันกับที่ปลดหนี้ลงได้ ที่ดินที่เคยถากถางทำไร่ปอไร่อ้อยก้ได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวน จึงหันกลับมาทำนาบนที่ดินที่เคยทอดทิ้งไป การละจากพืชเสรษฐกิจหันกลับมาสู่การทำนาแบบเดิม เป็นจุดพลิกผันที่ทำให้เขาได้ค้นพบและเรียนรู้ถึงพลังมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ความมหัศจรรย์อันมีเคล็ดลับของชีวิต
เมื่อชีวิตได้ค้นพบ ความสุขก็อยากให้เพื่อนร่วมชุมชนมี ความสุขบ้าง จึงเริ่มบอกเล่าวิธีการพ้นทุกข์กระทั่ง ตั้งศูนย์การเรียนรู้ เกษตรธรรมชาติ เรียกว่าเป็น วปอ. หลักสูตรชาวนา ที่แบ่งออกไปตามความสนใจ หากเป็นหลักสูตรระยะสั้น ดูงานร่วมแลกเปลี่ยนปัญหา ใช้เวลาเพียงวันเดียว แต่หากต้องการอบรมเพื่อเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิถีของตัวเองต้องใช้เวลาอบรม 5 วัน
“พยายามบอกเขาเขาไม่ให้ถูกหลอกว่าของที่ปรุงแต่งทำให้อยากได้อยากมีความจริง แล้วเรามีหมดแล้วเราต้องภูมิใจว่าของเราดีที่สุด” ใช้ชีวิตของเราเงียบ ๆ ไปเรื่อย ๆ ปฏิบัติธรรมบ้างชีวิตจะพบความสุข” แม้จะอบรมแลกเปลี่ยนแต่ก็มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีของตัวเองได้ ยังหลงคิดอยู่ว่า พริกบนห้างสรรพสินค้าดีกว่า พริกปลุกเองข้างบ้านกระนั้นก็ตามที่สุดแล้ว พ่อคำเดื่องแบ่งจัดแบ่งนิยามความสุขออกเป็น 8 คือ ชีวิตครอบครัวต้องมีความสุข ลูกเคารพพ่อแม่ ภรรยา สามีที่ดูแลกันและกัน สุขภาพต้องแข็งแรง อาการที่เพียงพอ ทำงานที่ตัวเองรักและเป็นอิสระ มัหลักประกันชีวิตที่มั่นคง มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
“เมื่อชีวิตเราดีมีความสุขต้องนึกถึง ชุมชนของเราว่าพึ่งพาตัวเองได้มัย แต่ที่สุดแล้วต้องรู้จักปฏิบัติธรรม เพื่อให้ธรรมทำให้จิตใจสงบสุข” เพราะที่สุดแล้วพ่อคำเดื่องเชื่อว่าความสุขของคนเราต้องอยู่กับของจริง มีชีวิตที่ปกติธรรมดามากที่สุดนั่นเอง