สื่อดี-พื้นที่ดี-ภูมิดีหนุนเด็กคิดได้คิดเป็น

บ่ายวันหนึ่ง ในสถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มักกะสัน เต็มไปด้วยเสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆ และเสียงเพลง เสียงหัวเราะ ที่เต็ม ไปด้วยพลังจากการทำกิจกรรมภายใน "มหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตอน เด็กบันดาลใจคิดได้ คิดเป็น" ที่จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านภาคีเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์


สื่อดี-พื้นที่ดี-ภูมิดีหนุนเด็กคิดได้คิดเป็น thaihealthคิดได้ คิดเป็น…เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในยุคศตวรรษที่ 21 ที่ครอบครัวเผชิญกับการไหลบ่าของสังคมออนไลน์ ข้อมูลสารพัดทั้งร้าย ดี พร้อมจะเข้าถึงทุกบ้าน ทุกคนอย่างรวดเร็ว แต่ละวันเด็กและเยาวชนใช้เวลากับสื่อต่างๆ มากกว่าวันละ 7 ชั่วโมง ยิ่งเป็นในยุค ที่ราคาสมาร์ตโฟนจับต้องได้ง่าย พ่อแม่ไม่คิดมากที่จะให้ลูกใช้ก็ทำให้เด็กๆ เข้าถึงข้อมูล เป็นทั้งผู้รับสาร ส่งสารได้อย่างง่ายดาย


แต่…ความเท่าทันสื่อเป็นเรื่องที่ยังต้องคิดแล้วคิดอีก ว่าทุกวันนี้เรามีภูมิต้านทานที่เรียกว่า ความเท่าทันสื่อมากพอหรือไม่ เพราะผู้ใหญ่เองบางครั้งก็ตกเป็นเหยื่อของสื่อได้ การสร้างให้เด็ก คิดได้ คิดเป็น ด้วยกระบวนการเรียนรู้จึงจำเป็น


การสร้างภูมิคุ้มกันและเพิ่มพลัง ให้เด็กเยาวชนครอบครัวรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว และการฟื้นฟูพลังทางบวกที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นปัจจัยแวดล้อมที่สร้างสรรค์ของเด็กเยาวชน โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี บูรณาการกับประเด็นงานด้านสุขภาวะอื่นๆ ได้แก่ สุขภาวะทางกายด้านโภชนาการ สุขภาวะทางกายด้านกิจกรรมทางกาย สุขภาวะทางกายด้านเพศ สุขภาวะทางจิตใจด้านครอบครัวอบอุ่น สุขภาวะทางสังคมด้านชุมชนเข้มแข็ง รวมถึงสุขภาวะ ของเด็กในสภาวะยากลำบาก และสุขภาวะของกลุ่มแรงงานต่างชาติ เพื่อสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เข้าใจผู้อื่น มีจิตสาธารณะ และมีศักดิ์ศรี ทั้งในพื้นที่ออนไลน์ และ ออฟไลน์


ภายในงานจึงเปิดพื้นที่ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู เข้ามาเรียนรู้แนวคิดต่างๆ ไปเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่เด็กเยาวชนและครอบครัว โดยเฉพาะครูและโรงเรียนสถาบันการศึกษาชุมชนท้องถิ่นด้วยการจัดเป็นโซนต่างๆ อาทิ โซนเด็กปฐมวัย จะมีความมหัศจรรย์ของนมแม่ อาหาร กอด อ่าน เล่น โซนเด็กวัยเรียน มีมุมสวนสุขคิด สวนวิทย์ โซนเยาวชน มีกิจกรรมสารพันไอเดียและพลังสร้างสรรค์ โซนผู้ใหญ่และครอบครัว จะมีนวัตกรรมด้านสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นต้น


ในพื้นที่เดียวกันยังมีการเวิร์กช็อป เสวนา คอนเสิร์ต ภาพยนตร์สั้นกว่า 50 รายการ นิทรรศการผ่านสื่อทันสมัย โดยได้รับความสนใจจากครอบครัว ครู โรงเรียน เข้าร่วมจำนวนมาก


แนวทาง "3 ดี" ที่เสนอไว้เพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหานั้น นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าพื้นที่ดีคือโอกาสที่ทุกคนจะมีส่วนร่วม ภูมิดีคือภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในชุมชน แต่ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือสื่อดี เพราะสื่อที่ดีถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี และถ้าเด็กมีพัฒนาการที่ดี ก็จะนำไปสู่ครอบครัวที่ดี ชุมชนที่ดี และจะทำให้ประเทศมีความสุขขึ้นได้ นอกจากนี้ การรู้เท่าทันสื่อมีความสำคัญ อาทิ เมื่อเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เราจะได้สื่อดี-พื้นที่ดี-ภูมิดีหนุนเด็กคิดได้คิดเป็น thaihealthข้อมูลซึ่งมีทั้งจริงและไม่จริง จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้ใหญ่ต้องให้คำแนะนำแก่เยาวชน


การสร้างนโยบาย "1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์" ตามที่เสนอรัฐบาล ก็เห็นความสำคัญและพยายามช่วยผลักดันขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ แม้จะมีแล้ว 100 กว่าแห่ง แต่จำเป็นต้องขยายเพิ่ม เนื่องจากไทยมีชุมชนเป็นจำนวนมาก


ภายในงานยังมีการมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณส่งเสริมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว 4 สาขา ได้แก่ 1.รางวัล สาขา Active Citizen จำนวน 15 โครงการ 2.รางวัลประกวดสื่อสร้างสรรค์ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน 3.รางวัล สาขาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ 21 ศูนย์ และ 4.รางวัล สาขาสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน 10 รางวัล


นายดนัย หวังบุญชัย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. อธิบายว่า การมอบรางวัลถือเป็นครั้งแรกที่ให้ความสำคัญกับสื่อสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดสาขาของรางวัลออกไป เช่น รางวัลสาขาบันเทิงต่างๆ เพื่อทำให้คนในสังคมเห็นความสำคัญของการผลิตสื่อสร้างสรรค์ โดยจะทำต่อเนื่องในระหว่างปีเรื่อยๆ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและร่วมแก้ปัญหาได้


รางวัลที่มอบให้เป็นการคัดเลือกผลงานการทำสื่อเพื่อเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ครอบครัว และชุมชน โดยแบ่งเป็นสาขาต่างๆ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประกวดทำสื่ออย่างอิสระ ผลงานที่ได้รับรางวัลจะถูกนำไปผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อ ใช้จริงในโรงเรียนสังกัดกทม.และเทศบาลทั่วประเทศต่อไป


นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กล่าวถึงรางวัลว่า เป็นกำลังใจให้กับคนทำงาน และขยายกำลังใจไปสู่คนทำงานอื่น เพิ่มพื้นที่การทำสื่อสร้างสรรค์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำให้เกิดการสื่อดี-พื้นที่ดี-ภูมิดีหนุนเด็กคิดได้คิดเป็น thaihealthเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของ การสร้างสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งพบว่าบางพื้นที่ที่ผลิตสื่อสร้างสรรค์นั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของคนในชุมชน ทำให้แก้ปัญหาเดิม และเพิ่ม สิ่งที่ดีในชุมชนได้


สื่อสร้างแรงบันดาลใจในหัวข้อ "อย่าปล่อย ให้เด็กอ้วน" ถือเป็นตัวอย่างของการสร้างสื่อสร้างสรรค์ที่ผนวกเนื้อหาของแผนอาหาร เพื่อสุขภาวะ และแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายเข้าด้วยกัน ให้ผู้เข้าประกวดทำสื่ออย่างอิสระ


กิ้ง สิทธิพร มลิวัลย์ เด็กบันดาลใจ เจ้าของรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดออกแบบลายทีเชิ้ต ประเด็น "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน 2" (ลดหวานมันเค็ม เพิ่มผักผลไม้) ได้ออกแบบ เสื้อยืด โดยคิดว่า "ถ้าฉันอ้วนจะอยู่ที่คำว่าถ้า".โดยเขียนคำที่เป็นเหตุผลเป็นลายเสื้อ คือ "ถ้าฉันอ้วนจะทำให้ฉันใส่เสื้อตัวนี้ไม่ได้ ฉันก็จะไม่ใส่เสื้อ พอฉันไม่อยากใส่เสื้อฉันก็ไม่มีเพื่อน พอฉันไม่มีเพื่อน ฉันก็อยู่คนเดียว พออยู่คนเดียว พอฉันเพ้อเจ้อ ฉันก็จะเริ่มเขียนนู่นเขียนนี่ พอฉันเขียนนู่นเขียนนี่ฉันก็จะเขียนเสื้อ พอฉันเขียนเสื้อ ฉันก็จะเขียนเสื้อมากขึ้น พอฉันเขียนเสื้อมากขึ้นฉันก็จะเหนื่อย พอฉันเหนื่อยฉันก็จะกินมาก พอฉันกินมากฉันก็จะอ้วน" โดยคิดว่า เสื้อตัวนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น ใส่แล้วคิดได้ว่าใส่เสื้อแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้คิดได้ว่า ถ้าทำอะไรแล้วจะไม่อ้วน


อาจเป็นการเริ่มต้นเล็กๆ แต่หวังว่าผล จะยิ่งใหญ่ ถ้าเราช่วยกัน


 


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด โดย เมธาวี มัชฌันติกะ

Shares:
QR Code :
QR Code