สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จักสารกระติบข้าว

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  โดย อักษรา ปิ่นนราสกุล


ภาพประกอบจากเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ และแฟ้มภาพ


สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จักสารกระติบข้าว  thaihealth


"บ้านไชยสถาน" เป็นหมู่บ้านหนึ่งใน ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา ที่มีต้นทุนทางสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติ และทุนด้านภูมิปัญญาการจักสาน เช่น การแปรรูปไม้ไผ่ ที่มีประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชนมาช้านานแล้ว ที่สำคัญเป็นชุมชนที่มีองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลายสาขา เช่น การจักสานไม้ไผ่ การนวดแผนไทย หมอพื้นบ้าน ช่างผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมือง ฯลฯ


ถึงแม้ชุมชนจะมีศักยภาพในการรวมกลุ่ม แต่ก็ต้องเฝ้าระวังปัญหาในชุมชน เนื่องจากมีประชากรกลุ่มสูงอายุเพิ่มขึ้น ในอนาคตจะต้องเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งปัจจุบันก็มีกลุ่มผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลและเฝ้าระวังอยู่เสมอ ดังนั้นการมีกิจกรรมทำร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง ทำให้ช่วยดูแลสุขภาพกายและจิตกันเป็นอย่างดี ไม่เหงา ไม่เครียด ทำให้มีความสุข อีกทั้งได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น นำภูมิปัญญามาป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและรักษาสุขภาพคนในชุมชนอย่างลงตัว


มณู ไชยจำเริญ ผู้ใหญ่บ้านไชยสถาน บอกว่า สุขภาพของคนในชุมชนจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นกลุ่มผู้สูงอายุจึงได้หารือถึงทางออกการลดปริมาณการใช้พลาสติก โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นทำกระติบข้าวไม้ไผ่ใส่ข้าวเหนียวแทนการใช้ถุงพลาสติก


ไพรสณย์ ราหูรักษ์ นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) ห้วยข้าวก่ำ กล่าวว่า "สืบเนื่องจาก นายล้วน อะนุมา ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ต.ห้วยข้าวก่ำ ได้ทำโครงการพัฒนาศักยภาพส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้พิการ ผู้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จักสารกระติบข้าว  thaihealthป่วยเรื้อรัง โดยชุมชนของบ้านไชยสถาน และได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงกลายมาเป็นโครงการกระติบสู้พลาสติกในขณะนี้"


จุดแข็งกระติบข้าวไม้ไผ่บ้านไชยสถาน คือ เหนียว ทน ไม่แตกหักง่าย อายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี ที่สำคัญบ้านไชยสถานมีป่าชุมชนที่เป็นป่าไผ่เป็นของตัวเอง การรักษาป่าคือต้นทุนทางสังคม ส่งให้เกิดผลิตผลที่ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ชุมชนแห่งนี้มีความเข้มแข็งทั้งกายและใจ และกำลังขยายไปสู่ชุมชนในพื้นที่ทั้งหมดต่อไป


ปัจจุบันกระติบข้าวเหนียวใช่เพียงของที่ทำใช้กันภายในครัวเรือน หรือในชุมชนไชยสถานเท่านั้นแต่ยังมีการผลิตตามออร์เดอร์ที่เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ราคาขายเพียงอันละ 50 บาท ทุกวันนี้ทำไม่ทันออร์เดอร์ที่มีเข้ามา บางรายทำส่งไปให้ลูกหลานที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ในกิจการของตนเองด้วย


"พวกเราคนแก่ได้มีงานทำให้สบายใจ ไม่เครียด ไม่ป่วย มีคุณค่า มีรายได้ นับว่าเป็นเรื่องดีอย่างยิ่ง"พ่อคล้าย สุริยะวงศ์ ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งบ้านไชยสถาน ในวัย 73 ปี กล่าวพลางกำลังสาธิตการจักสานกระติบข้าวอย่างกระฉับกระเฉง ด้วยสีหน้าเปี่ยมความสุข

Shares:
QR Code :
QR Code