สำนึก – สุขภาวะ ตัวตนแห่งศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าแห่งตัวตนมวลมนุษย์

 

สำนึก – สุขภาวะ ตัวตนแห่งศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าแห่งตัวตนมวลมนุษย์

 

“ศิลปวัฒนธรรมเป็นรากเหง้าแห่งตัวตนที่แท้จริงของมวลมนุษย์”  หนึ่งโค้ดลับที่ได้จากโครงการอีสาน เลย สำนึก – สุขภาวะ ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้จุดเด่นหรือรากเหง้าวัฒนธรรมชุมชน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา และอื่นๆ มาบูรณาการ ที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน โดยมีนายปริพนธ์ วัฒนขำ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

ซึ่งนายปริพนธ์ วัฒนขำ เล่าว่า กิจกรรมหนึ่งของโครงการอีสาน เลย สำนึก – สุขภาวะ นี้นอกจากจะมีการค้นคว้าสืบทอดวัฒนธรรมชุมชนเป็นการเรียนรู้ที่สูงค่ามาก เพราะสิ่งเหล่านี้นับวันจะถูกตัดขาดและเกิดช่องว่างระหว่างคนสามวัยที่อยู่ร่วมกันในชุมชนจนขาดรอยต่อของมิติต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่อยู่ในตัวบุคคลเช่นความดีความงามความจริงและประเพณีความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานไป

สำนึก – สุขภาวะ ตัวตนแห่งศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าแห่งตัวตนมวลมนุษย์สำนึก – สุขภาวะ ตัวตนแห่งศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าแห่งตัวตนมวลมนุษย์

“จากชุมชนบ้านที่มีวิถีการปลูกข้าว, ทำสวน, ทำไร่ ส่วนเยาวชนในฐานะสมาชิกของชุมชน ขาดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ส่วนหนึ่งอันเนื่องมาจากผลกระทบจากระบบการศึกษาที่ผลักเยาวชนให้ห่างไกลจากวิถีชีวิตชุมชนรากเหง้าอันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งชีวิต เยาวชนที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาต้องออกจากชุมชนเพื่อเล่าเรียนในหลักสูตรการศึกษาตามมาตรฐานชาติ ซึ่งไกลห่างจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่จริงที่เยาวชนสัมผัสอยู่ในชุมชน จนก่อให้เกิดภาวะความไม่สำนึกรักชุมชนท้องถิ่น ไม่เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ ดูถูกดูแคลนตนเองไม่มีความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตชุมชน

การนำเยาวชนให้กลับมาเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ผ่านกิจกรรมศิลปะในโครงการ “สำนึก-สุขภาวะ” เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ค้นหาตนเองอย่างลึกซึ้งถึงที่มาตลอดจนภาวะความสุขที่เกิดขึ้นในตนเอง-ภาวะความทุกข์ที่เข้ามากระทบอันก่อให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อน อันนำไปสู่การค้นหาบริบทของชุมชนของตนเองในมิติต่างๆ ที่มีทั้งความโดดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์-และปัญหาที่จะร่วมกันแก้ไข เช่น สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรมการปฏิบัติการชุมชนในลักษณะปราชญ์เดินดิน ประกอบกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและผลงานเพลง เป็นแกนกลางในการเสริมสร้างกระบวนการคิดและผลิตผลงาน อีกทั้งผลงานที่ถูกสร้างขึ้นจะก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้นในเยาวชน และสร้างให้เยาวชนได้เห็นคุณค่าของชุมชนโดยประสานสอดคล้องกับการถ่ายทอดศิลปะอันเป็นสุนทรียะภาพและเป็นการพัฒนาทักษะสุนทรียะให้เกิดขึ้นในเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม มีการนำผลงานที่ถูกผลิตขึ้นมาจัดแสดงและให้เจ้าของผลงานนำเสนอเบื้องหลังความคิด เป็นการพัฒนาทักษะการคิดและการถ่ายทอด อีกทั้งผลงานศิลปะยังปรากฏเป็นผลงานรูปธรรมที่สร้างความภาคภูมิใจ ต่อผู้สร้างผลงาน ซึ่งปัจจุบันทักษะต่างๆ เหล่านี้ในเยาวชนยังต้องการการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง” ผู้รับผิดชอบโครงการเล่า 

สำนึก – สุขภาวะ ตัวตนแห่งศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าแห่งตัวตนมวลมนุษย์

ซึ่งนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. บอกว่า  โครงการนี้ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่หนึ่งโครงการที่ต้องการอนุรักษ์สืบสานสืบทอดของดีที่มีอยู่ในชุมชน เด็กและเยาวชนไม่หลงลืมตัวตนคนอีสาน การนำกระบวนการเรียนรู้อย่างหลักสูตร “เรียนรากเหง้าเข้าถึงปัจจุบันสื่อสารวัฒนธรรมชุมชน” มาใช้เป็นกระบวนการสร้างเยาวชนตัวน้อยให้รู้ถึงรากเหง้าที่แท้จริงเริ่มจากตัวเองเป็นใครมาจากไหน อะไรคือตัวตนของเขาบ้าง โดยในเบื้องต้นให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ความหมายชื่อของตนเอง, วันเดือนปีเกิด, พ่อแม่, ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้เด็ก-เยาวชนและปราชญ์ชาวบ้าน มาร่วมกันเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานสำนึก-สุขภาวะชุมชน เกิดเป็นการสร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชน “สำนึก-สุขภาวะ” ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เพื่อการแลกเปลี่ยนทางความคิด ให้มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมด้านสุขภาวะอย่างต่อเนื่อง โดยใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน เป็นเครื่องมือ เชื่อว่าจะต่อยอด สืบทอด อนุรักษ์ สร้างพลังความสำนึกร่วมแห่งการพัฒนาเยาวชนและชุมชนได้

วันนี้ที่จังหวัดเลยพวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นแล้วเพื่อทำให้ศิลปวัฒนธรรมกลายเป็นรากเหง้าแห่งตัวตนที่แท้จริงของมวลมนุษย์สืบไป แต่การที่จะให้สมบัติของชาติยังคงอยู่คู่เมืองด้ามขวานนี้ตราบจนรุ่นลูกรุ่นหลานไม่เพียงแค่ที่เลยเท่านั้นแต่ในฐานะคนไทย เราต้องช่วยกันทั้งประเทศ หากวันนี้เราไม่ช่วยกัน… มองไม่ออกเลยว่าศิลปวัฒนธรรมของไทยในอนาคตจะเป็นเช่นไร….ช่วยกัน….

 

 

ที่มา : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

Shares:
QR Code :
QR Code