สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกษตร
ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
แฟ้มภาพ
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชถูกนำมาใช้ทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย สคร.12สงขลา ชี้แนวโน้มของปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรเองซึ่งมีความเป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งแบบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้องรังและยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภคสถานการณ์การเจ็บป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย
ในปี2544-2560รายงานผู้ป่วยได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวน34,221รายผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ45-54ปีประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยอัตราป่วยด้วยโรคพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปี2561พบมากสุดในจังหวัดร้อยเอ็ดรองลงมาคือจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดลำปางพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน–สิงหาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนเกษตรกรมักทำการเพาะปลูกและมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชปริมาณมากส่วนอัตราป่วยด้วยโรคพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเขต12ในปี2561พบอัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดสงขลารองลงมา คือ จังหวัดตรังและจังหวัดสตูลตามลำดับ
ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่12จังหวัดสงขลา กล่าวว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้3ทางคือทางการหายใจทางปากและทางผิวหนังฉะนั้นจึงไม่ควรฉีดพ่นในขณะลมแรงหรือฝนตกและควรยืนอยู่เหนือลมเสมอสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเช่นหน้ากากป้องกันสารเคมีเป็นต้นห้ามกินอาหารน้ำหรือสูบบุหรี่ในขณะผสมสารเคมีตรวจเช็คอุปกรณ์การฉีดพ่นให้อยู่ในสภาพที่ดีไม่ชำรุดก่อนนำไปใช้ในกรณีที่หัวฉีดเกิดการอุดตันห้ามใช้ปากเป่าหัวฉีดพ่นแต่ให้ถอดหัวฉีดออกมาทำความสะอาดโดยใช้การแช่ในน้ำหรือใช้ไม้เขี่ยแล้วล้างน้ำและควรสวมใส่ถุงมือและเสื้อผ้าให้มิดชิดหากสารเคมีหกเปรอะเปื้อนร่างกายให้ใช้น้ำสะอาดชำระล้างนานอย่างน้อย15นาทีรีบอาบน้ำฟอกสบู่และเปลี่ยนเสื้อผ้า
นอกจากนี้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบ่งออกได้หลายประเภทคือ 1.สารกำจัดแมลง หากได้รับในปริมาณความเข้มข้นสูงทันทีทำให้เกิดพิษเฉียบพลันมีอาการเวียนศีรษะปวดศีรษะรูม่านตาหดเล็กน้ำมูกน้ำตาน้ำลายและเหงื่อออกมากอาเจียนปวดท้องท้องเสียหัวใจอาจเต้นช้าหรือเร็วความดันเลือดอาจจะต่ำหรือสูงกล้ามเนื้อเป็นตะคริวและอ่อนแรงรวมถึงอาจมีอาการหายใจแผ่วบางรายอาจชักซึมหรือหมดสติบางรายเกิดอัมพาตของเส้นประสาทสมองกรณีสัมผัสทางผิวหนังพบอาการผื่นคันแสบร้อนชาบริเวณที่สัมผัส 2.สารกำจัดวัชพืชอาการพิษเฉียบพลัน มักทำให้เกิดแผลในปากเจ็บคอกลืนลำบากอาเจียนปวดท้องแสบร้อนในอกระยะต่อมาเกิดปัสสาวะออกน้อยไตวายตับอักเสบหายใจหอบเหนื่อยและมีอัตราการเสียชีวิตสูงจากระบบอวัยวะหลายระบบไม่ทำงานหากสัมผัสทางผิวหนังทำให้เกิดผิวหนังไหม้แผลพุพองปวดแสบปวดร้อนและเล็บเปลี่ยนสีขาวหรือเหลือง 3.สารกำจัดเชื้อรา หากได้รับปริมาณมากๆหรือความเข้มข้นสูงทำให้เกิดพิษเฉียบพลันมักพบอาการคอแห้งแสบจมูกไอเคืองตาตาแดงคันตามผิวหนังและผื่นแดงและ 4.สารกำจัดหนูหรือสัตว์กัดแทะอื่นส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารคลื่นไส้อาเจียนปวดท้องอย่างรุนแรงบางรายเกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลันและบางรายมีอาการแน่นหน้าอกหายใจลำบากร่วมด้วย
ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวเพิ่มเติมว่า สคร.12สงขลาขอเชิญชวนเกษตรกรลดละเลิกการใช้สารเคมีโดยการทำเกษตรอินทรีย์และการใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหากหลีกเลี่ยงไม่ได้เกษตรกรควรมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยด้วยการ“อ่านใส่ถอดทิ้ง”อ่านฉลากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนใช้และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดใส่อุปกรณ์เครื่องมือป้องกันอันตรายจากสารเคมีขณะทำงานเช่นเสื้อผ้ามิดชิดรัดกุมสวมหน้ากากถุงมือและรองเท้าเป็นต้นถอดชุดและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ขณะฉีดพ่นหรือทำงานแยกซักจากเสื้อผ้าอื่นๆแล้วรีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีและทิ้งผลิตภัณฑ์บรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องคัดแยกออกจากขยะทั่วไปให้อยู่ในกลุ่มขยะอันตรายทิ้งให้ห่างไกลจากแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรคโทร.1422