…สังคมไทยยังไม่ไร้…ภัยบุหรี่

เคยบ้างไหม..ที่คุณยังได้กลิ่นบุหรี่อยู่ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น วันนี้มีคำตอบ แม้วันงดสูบบุหรี่โลก (31 พฤษภาคม) จะล่วงเลยมาหลายวันแล้ว แต่การรณรงค์ให้ทุกพื้นที่เป็นที่ปลอดบุหรี่ ดูเหมือนว่าจะยังดำเนินต่อไป เพราะจำนวนคนสูบบุหรี่ยังมีสถิติเพิ่มขึ้น !

น.พ.ชัย กฤติยาภิชาติกุลน.พ.ชัย กฤติยาภิชาติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ระบุว่า สถานการณ์ของผู้สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจเมื่อปี 2552 พบว่า ยังมีคนไทยสูบบุหรี่ถึง 12.5 ล้านคน โดยเพศชายเป็นผู้สูบบุหรี่มากที่สุดถึง 45.6% ส่วนเพศหญิงมี 3.1%

นี่ยังไม่นับรวม “ผู้ไม่สูบบุหรี่” แต่ได้รับ “ควันบุหรี่” เป็นของแถมในชีวิตอีกนับไม่ถ้วน ทั้งๆ ที่กฎหมายก็กำหนดให้เป็นที่ห้ามสูบ ทั้งพบอีกว่า 54% ของผู้ไม่สูบ กลับได้รับควันบุหรี่ในบริเวณตลาด ขณะที่ 23.6% ได้รับควันบุหรี่ในอาคารที่ทำงาน ส่วน 34.2%ได้รับควันบุหรี่ที่บ้าน ฯลฯ

...สังคมไทยยังไม่ไร้...ภัยบุหรี่

ที่น่าเป็นห่วงคือ ก่อนหน้านี้จำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยมีสถิติลดลงจริง แต่ช่วงปี 2549-2552 กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน

ดังนั้น การดำเนินการควบคุมยาสูบระดับประเทศ จึงต้องเร่งรัดและทำอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อให้ก้าวทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับ “กลยุทธ์การตลาด” ในทุกรูปแบบของธุรกิจยาสูบที่พัฒนาไปอย่างมาก เป้าหมายเพื่อให้คนหันมาสูบบุหรี่มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและสตรี

ศ.น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ศ.น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ บอกถึงสาเหตุสำคัญที่คนไทยยังนิยมสูบบุหรี่ เพราะบริษัทบุหรี่พยายามทุกวิถีทาง ที่จะรักษาตลาดลูกค้านี้ไว้พร้อมเพิ่มจำนวนผู้ติดบุหรี่รายใหม่

ปัจจุบันบริษัทบุหรี่ ทั้งโรงงานยาสูบและบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ มีการกระทำที่เข้าข่ายโฆษณาและส่งเสริมการขาย ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างโจ๋งครึ่ม รวมทั้งกิจกรรมที่อ้างว่าทำเพื่อสังคม เช่น การสนับสนุนเงินทำกิจกรรมเพื่อสังคมกับโรงเรียนสมาคมและมูลนิธิต่างๆ องค์กรท้องถิ่นชุมชน จนถึงหน่วยงานราชการ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ บริษัทบุหรี่ทำเพื่อแก้ภาพลักษณ์ขององค์กรที่เสียหายจากการขายสินค้าเสพติดที่ทำลายสุขภาพ และลดทอนกระแสการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ของสังคมโดยรวม

...สังคมไทยยังไม่ไร้...ภัยบุหรี่

“การรณรงค์กับเยาวชนที่ดีที่สุดคือ ต้องให้พวกเขาบอกกันเอง โดยใช้สื่อที่เหมาะสมกันแต่ละช่วงวัย และมีกฎหมายเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติ เชื่อว่าน่าจะทำให้เกิดกระแสหรือค่านิยม คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ขึ้นในกลุ่มเยาวชนจนถึงกลุ่มวัยรุ่นได้”

จากตัวเลขล่าสุดพบว่า เยาวชนไทยที่อายุต่ำกว่า 19 ปีติดบุหรี่แล้วกว่า 4 แสนคน ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่างๆ ทั้งสุขภาพและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามนอกจากการรณรงค์กับเยาวชนโดยตรงแล้ว จำเป็นที่จะต้องควบคุมบริษัทบุหรี่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการแฝงโฆษณาผ่านกิจกรรมเชิงสังคมที่เรียกว่า csr รวมถึงการแพร่หลายโฆษณาขายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ต และแผงขายบุหรี่เถื่อน ซึ่งทำให้เด็กๆ เข้าถึงบุหรี่ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลให้มาตรการห้ามขายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่เป็นผล” เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าว

...สังคมไทยยังไม่ไร้...ภัยบุหรี่

ขณะที่นโยบายของภาครัฐในฐานะผู้ผลิตเอง ก็มุ่งเน้นไปยังนักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ยิ่งโรงเรียนในสังกัดของกรุงเทพมหานครยิ่งน่าเป็นห่วง

นายทวีศักดิ์ เดชเดโช นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร เล่าว่านโยบายด้านการศึกษาของ กทม.เน้นหนักเรื่องป้องกันการสูบบุหรี่ โดยโรงเรียนในสังกัดของ กทม. มีโครงการ “โรงเรียนนำร่องปลอดบุหรี่ต้นแบบ” แล้ว 6 โรงเรียน และจะขยายให้ครอบคลุมทั้ง 436 โรงเรียนต่อไป

ที่สำคัญและน่าสนับสนุนคือ ในหน่วยราชการกำลังพยายามที่จะลดพื้นที่การสูบบุหรี่ให้น้อยลง

อนาคตประเทศไทยจะเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ได้ แต่วันนี้รู้แค่ว่า หากคนไทยยังคงสูบบุหรี่มากขึ้น แล้วแนวโน้มเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและคนรุ่นใหม่ยังติดค่านิยมว่า “สูบแล้วเท่” แล้วประเทศนี้จะเหลืออะไร…

เรื่องโดย: นับดาว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code