สสส.หนุนพลังพี่เลี้ยงชุมชน เข็มทิศสู่การพัฒนาเด็กพลัส

แผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน หรือเด็กพลัส ได้พัฒนาเครื่องมือวัดต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยทั่วไปให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อวัดจุดอ่อนของต้นทุนชีวิตและเป็นเครื่องมือที่จะช่วยกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตที่ดีขึ้น และโครงการพี่เลี้ยงในชุมชนก็ถือเป็นอีกเครื่องมือที่จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างบริบูรณ์ได้

หมอเดว

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการทำโครงการพี่เลี้ยงในชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต้นทุนชีวิต โดยมีหลักคิดว่า ทำอย่างไรให้ชุมชนมีความเข้มแข็งกับงานทางด้านเด็กและเยาวชนขึ้นมา ไม่เพียงแค่มีศักยภาพและความเข้มแข็งเท่านั้น แต่สามารถกำหนดแผนพัฒนาระดับประจำท้องถิ่นของตัวเองอย่างมีระบบและมีทิศทางของตัวเองอย่างมีระบบและมีทิศทาง

ส่วนสาเหตุที่ออกมาในรูปแบบนี้ต้องย้อนกลับไปว่าสาเหตุที่เด็กและเยาวชนมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะชุมชนมีปัญหามาก อาทิ สิ่งแวดล้อมของเด็กเปลี่ยนไป สำหรับชุมชนของผมที่ลงพื้นที่ไปทำในโรงเรียน ไปจนถึงพ่อแม่ ครอบครัว รวมไปถึงชุมชนกลางอากาศ คือสื่อสารมวลชน

สาเหตุเหล่านี้ทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนไปในหลายรูปแบบ หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีสร้างสรรค์ เขาจะเป็นวัยรุ่นที่มีศักยภาพและมีคุณค่า แต่หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่ปลอดภัย เขาจะเป็นวัยรุ่นรุ่นที่มีศักยภาพและมีคุณค่า แต่หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่ปลอดภัย เขาจะเป็นวัยรุ่นเพิ่มเติมพฤติกรรมเสี่ยงไปด้วย

ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน กล่าวว่า สถานการณ์เด็กสมัยนี้แตกต่างจากแต่ก่อน เพราะแต่เดิมครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ก็มีลักษณะที่ส่งเสริมให้เด็กเติบโตขึ้นมาบริบูรณ์ได้ เพราะมีกิจกรรมให้เลือกจำนวนมากและเด็กสามารถเข้าถึง ปัจจุบันสถานการณ์แย่ และกระบวนการจัดการหายไป เราก็เลยวาดฝันว่า ถ้าเช่นนั้นหากจะให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาวะดีขึ้นโดยการดำเนินการให้เป็นระบบ คือการทำพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาขึ้นมาของชุมชน

ยกตัวอย่างเช่น เวลาเด็กและเยาวชนทำโครงการขึ้นมา ซึ่งโรงเรียนและชุมชนต่างๆ ก็มีโครงการลงไปไม่มากก็น้อย แต่ที่ผ่านมาไม่มีทักษะการเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา เหมือนทำกิจกรรมแล้วก็จบและเลิกกันไป ผู้ใหญ่ไม่สามารถเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาได้ เวลาทำกิจกรรมไปแล้วเด็กไม่เกิดภูมิคุ้มกันกับการทำกิจกรรมดังกล่าวเลย เด็กไม่เกิดการพัฒนา เป็นเพียงแค่ได้มาร่วมสนุกเท่านั้น อย่างนี้ไม่เรียกว่าความเป็นระบบ

“จึงต้องมีความเป็นพี่เลี้ยงเข้ามา เข้าไปทำหน้าที่ เช่น ให้น้องๆ มีศักยภาพในการเขียนแผนบริหารโครงการได้ จะทำงานกับผู้ใหญ่ได้ มีกระบวนการจัดกิจกรรมขึ้นมาที่เกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ กิจกรรมไม่ได้เกิดมาเพราะผู้ใหญ่สั่งการเท่านั้น แต่ทำให้เด็กเกิดพื้นที่ของความคิดและสามารถคิดและทำโดยผู้ใหญ่คอยหนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากิจกรรมขึ้นมา” นพ.สุริยเดว กล่าว และว่านอกจากนี้ เด็กกำลังทำกิจกรรมอยู่นั้นเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ว่าได้ประโยชน์อะไร มีอุปสรรค ปัญหาอย่างไร และมีการจัดการเรื่องนี้ด้วยวิธีใด ทำให้เด็กเกิดการพัฒนาตัวเองขึ้นมาในฐานของชุมชน ส่วนการกำหนดทิศทางนั้น เวลาทำกิจกรรมใดๆ โดยส่วนใหญ่ผู้ใหญ่จะคิดให้และเป็นรูปแบบเดิมๆ คือการทำกิจกรรมซ้ำเดิมอยู่ทุกปี เช่น อบต.นี้ก็จะทำอย่างนี้ แต่ไม่มีการฟังเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชน ว่าเด็กของตัวเองลึกๆ แล้วเขาอ่อนแอเรื่องอะไร หรือเขาอยากทำกิจกรรมอะไร

ฝ่่ายแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชนของ สสส. ก็เลยคิดค้นเครื่องมือฟังเสียงสะท้อนของลูกหลานในชุมชนตัวเองตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 25 ปี เครื่องมือนี้เราเรียกว่า “ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย” เป็นแนวคิดเชิงบวกเมื่อชุมชนตัวเองได้ฟังเสียงสะท้อนของลูกหลานว่าจุดอ่อนของเขาอยู่ตรงไหน มีอะไรบ้าง และจะพัฒนาเป็นกิจกรรมได้อย่างไร และเสริมเติมเต็มต้นทุนชีวิตอย่างไร สิ่งที่ตามมาชุมชนแห่งนั้นมีคณะทำงาน มีเข็มทิศ ยกตัวอย่าง ชุมชนแห่งหนึ่งลงไปสำรวจและฟังเสียงสะท้อนและได้ผลสำรวจมา พบว่าเด็กรักการอ่านหนังสือน้อยมาก เขาเลยเอากระบวนการนี้เข้าสู่กระบวนการกลุ่ม ประกอบด้วยผู้ใหญ่และเด็ก ว่าจะทำให้ลูกหลานรักการอ่านได้อย่างไร โดยใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรของชุมชนของตัวเอง

หลังจากนั้นเขาก็เริ่มทำงานเป็นกลุ่มและเกิดการพัฒนากิจกรรมขึ้นมา เช่น เขาแปลงรถเข็นขายผักที่มีสภาพเสื่อมโทรมและทิ้งขวางมาทำเป็นห้องสมุดสัญจร เคลื่อนที่ไปรับบริจาคหนังสือ ใครมีหนังสือดีก็จะมาจิตอาสากัน ทำไปทำมาไปเจอยายคนหนึ่งที่เขาว่ากลอนสดได้โดยไม่เรียนหนังสือ วันนี้เยาวชนมาให้ความสำคัญและฟังภูมิปัญญาของยาย เดี๋ยวนี้ยายมาร่วมกับห้องสมุดสัญจรและไปเล่านิทาน ว่ากลอนสดให้เด็กๆ ฟังใต้ต้นไม้ โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนนั้นเอง

การมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นคือ ชุมชนแห่งนั้นเกิดคณะทำงานของผู้ใหญ่กับเด็กทำงานร่วมกัน และชุมชนเล่นระบบพี่เลี้ยงและที่ปรึกษามีการสังเคราะห์ฟังเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนเอามาพัฒนากิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น

นพ.สุริยเดวบอกว่า เครื่องมือวัดต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยโดยอาศัยดัชนีชี้วัดเป็นกลยุทธ์ที่เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำให้เยาวชนและครอบครัวทราบทิศทางของตนเองได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยความแตกต่างในวัยต่างขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต และลักษณะครอบครัวสังคมโดยสิ้นเชิง ทำให้ต้องสร้างดัชนีชี้วัดต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และสามารถใช้วัดต้นทุนชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

คุณสมบัติของเครื่องมือนั้น ได้แก่ 1.ตัวชี้วัดต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนมีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว 2.ตัวชี้วัดต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนยังมีความเชื่อมโยงแบบบูรณาการกับพฤติกรรมที่ดีอีกหลายอย่างของเยาวชน 3.ตัวชี้วัดต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนบางกลุ่มมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ

เครื่องมือฉบับนี้เป็นเครื่องมือที่ได้พัฒนามาจากต่างประเทศซึ่งได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศ เป็นลักษณะของตัวชี้วัดที่ดีที่มีคุณสมบัติของพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ต้นทุนภายในตัวของเด็กเอง และต้นทุนภายนอก ซึ่งประกอบด้วย เพื่อนและกิจกรรม โรงเรียน ครอบครัว และชุมชน

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ