สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน

สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน

เมื่อวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเครือข่ายหน้ากากเปลือย จัดงานถนนเด็กเดินพญาไท-ราชเทวี ให้เป็นถนนเด็กเดินริมทางรถไฟที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงครั้งแรก เพื่อเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้มาทำกิจกรรม กล้าคิด กล้าแสดงออกร่วมกัน นำไปสู่การเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งต่อไป

นายดนัย หวังบุญชัยนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ (สสส.) กล่าวว่า การจัดงานถนนเด็กเดินพญาไท-ราชเทวีครั้งนี้ ถือว่าเป็นการจัดถนนเด็กเดินที่เป็น “ถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ” ให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร ที่เลือกเป็นริมทางรถไฟสายแปดริ้วในครั้งนี้เพราะเขตพื้นที่พญาไท-ราชเทวี ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ทั้งยังมีปัญหาทางสังคมมากมาย อาทิ โรคเอดส์, การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม, ยาเสพติด, สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, อุบัติเหตุจากการให้เด็กวิ่งเล่นบนถนน, ขาดพื้นที่สร้างสรรค์และกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อเด็กและเยาวชน รวมถึงคนในชุมชนได้มาใช้ประโยชน์ร่วมกันมีอยู่น้อยมาก และมากไปกว่านั้นในชุมชนยังมีร้านเกมอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างเข้าแต่ร้านเกมซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาตามมา

“ผลจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ เรื่อง “การเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตในกลุ่มเยาวชน โดยมีกลุ่มกรณีศึกษาที่เป็นเยาวชนตั้งแต่อายุ 10-24 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล” จำนวน 1,441 ตัวอย่าง โดยจำแนกตามกลุ่มอายุระหว่าง 10-15 ปี, 16-20 ปี และ 21-24 ปี ภายใต้ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8-25 ก.ค. 50 พบว่าเกมที่เด็กกลุ่มนี้ชอบเล่นมากที่สุด คือ ร้อยละ 53.1 เป็นเกมต่อสู้ รองลงมาร้อยละ 27.9 เล่นเกมแฟนตาซีผจญภัย และร้อยละ 23.4 เล่นเกมแข่งกีฬา โดยเหตุผลในการเล่นเกมนั้น ร้อยละ 97.8 ระบุเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ร้อยละ 91.7 ระบุเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานหรือเรียนและร้อยละ 83.4 ระบุเพื่อพัฒนาทักษะทางคอมพิวเตอร์

สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน

แต่เมื่อมองจากมุมของคนในสังคมส่วนใหญ่กลับมองว่า ปัญหาเด็กติดเกมนั้นเป็นปัญหาส่วนตัว ร้อยละ 32.8 เป็นปัญหาสังคม ร้อยละ 25.7 และเป็นปัญหาครอบครัว ร้อยละ 15.5  เมื่อเป็นเช่นนี้การดึงเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงให้ห่างจากเกมแล้วมาทำกิจกรรมสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องที่ สสส. เห็นความสำคัญ กิจกรรมถนนเด็กเดินครั้งนี้จึงเกิดขึ้น” นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว

ผู้จัดการแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ (สสส.) กล่าวต่อว่า ในการจัดถนนเด็กเดินพญาไท-ราชเทวี ครั้งนี้นอกจากจะมีเครือข่ายหน้ากากเปลือยซึ่งเป็นกลุ่มศิลปะการละคร ได้นำการละครมาบูรณาการในพื้นที่แล้ว คนในชุมชนทั้งชุมชนซอยสุเหร่า (เพชรบุรี 7), ชุมชนซอยแดงบุหงา, ชุมชนหลังกรมทางหลวง และชุมชนโค้งรถไฟยมราชเองอยากเห็นเด็กและเยาวชนในชุมชนได้มีเวที มีพื้นที่เพื่อการแสดงออกแทนการเข้าร้านเกมและมั่วสุมกัน ซึ่งอาจจะนำมาสู่ปัญหาสังคมต่อไปในอนาคต “ถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ” สายนี้ขึ้นมาเกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชน กับคนในชุมชน มาทำแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องต่างๆ ร่วมกัน ผลักดันของดีที่มีอยู่ในชุมชนออกสู่สังคมภายนอก สร้างเป็นชุมขนที่เข้มแข็งและนำรายได้จากการแวะเวียนมาเยี่ยมชมเข้าสู่ชุมชนต่อไป

นายนินาท บุญโพธิ์ทอง นายนินาท บุญโพธิ์ทอง ผู้อำนวยการเครือข่ายหน้ากากเปลือย กล่าวว่า ถนนเด็กเดินพญาไท-ราชเทวี ที่จัดขึ้นครั้งนี้นอกจากจะมีเด็กและเยาวชนในชุมมาถ่ายทอดศิลปะต่างๆ แล้วยังมีเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ ทั้งในเขตพื้นที่รอบๆ ชุมชนอย่างโรงเรียนสันติราษฏร์วิทยาลัย และโรงเรียนภาคีนอกชุมชน อาทิ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยม, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า และโรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ มาโชว์ความสามารถร่วมด้วยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทั้งยังมีกลุ่มศิลปะนอกชุมชนอาทิ คณะละครมรดกใหม่, ชมรมเพลงแห่งสยาม, ละครใบ้สุวัฒน์, ชุมชนงามดูพลี, ชุมชนจอมทอง และชุมชนนางเลิ้ง มาร่วมถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม และบูรณาการครั้งยิ่งใหญ่ที่นอกจากจะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ร่วมกันแล้ว ยังเป็นการสืบสานสืบทอด ศิลปะที่มีในท้องถิ่นให้คงอยู่ไปได้อีกนานเท่านาน

สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการเครือข่ายหน้ากากเปลือย ยังกล่าวต่ออีกว่า การแสดงที่มีในถนนเด็กเดินในครั้งนี้มีอยู่มากมาย ได้แก่ การแสดงละครเร่ “ปีเตอร์แพน” ที่เป็นการร่วมมือระหว่างเยาวชนจากหน้ากากเปลือย และเยาวชนจากชุมชนทั้ง4 มาบูรณาการร่วมกับการแสดงเพอร์คัสชั่น (percussion) จากเยาวชนจอมทอง, การแสดงละครเร่พัฒนาชุมชน, การร้องเพลงจากกลุ่มจิตอาสาเยาวชนพิการทางสายตา, การแสดงร้องเพลง จาก ชมรมดนตรีแห่งสยาม, การแสดงจากเยาวชน 4 ชุมชนที่รวมตัวกันเป็น “ชุมชนพลังบวก”, การแสดงเดี่ยวระนาดจาก “ขุนน้อย น้องแซค” ศิลปินรุ่นเยาว์ในชุมชน, การแสดงละครใบ้, มายากล และ ละครหุ่น, การแสดงละครเร่ “กาย”, “สุข”, “ใจ” รวมไปถึงการวาดภาพ “ชุมชนในฝัน” , ทำหุ่นละคร (theatre puppet) จากวัสดุเหลือใช้ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สำคัญในงานนี้ยังมีมัคคุเทศก์น้อยที่เป็นเด็กและเยาวชนในชุมชนนำชมความสวยงามที่มีอยู่ท่ามกลางความแออัด พร้อมบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเอกลักษณ์และความโดดเด่นของศิลปะต่างๆ ที่อยู่ริมทางรถไฟ และที่มีในชุมชนด้วย

สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน สสส.หนุนถนนเด็กเดินริมทางรถไฟ นำศิลปะ การละครสู่ชุมชน

“ในอนาคตเมื่อเด็กและเยาวชนได้กล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออก ทั้งยังมีเวทีเปิดกว้างให้เขาได้มาโชว์สิ่งที่มีอยู่ในตัวของเขาอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าการสร้าง “เยาวชนแกนนำละครเพื่อการพัฒนาชุมชนราชเทวี-พญาไท และชุมชนใกล้เคียง” ที่ใช้สื่อละครเพื่อรณรงค์ประเด็นทางสุขภาวะในชุมชน ให้วัยรุ่นด้วยกันสนใจและพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องสุขภาวะมากขึ้น แล้วปัญหาที่รายล้อมอยู่ท่ามกลางชุมชนเมืองก็จะค่อยๆ ลดลง เพราะเราเชื่อว่า “ศิลปะ จะ ปรับให้จิตใจที่แข็งกระด้างอ่อนลงได้” จนในที่สุดนำไปสู่การให้ที่ยิ่งใหญ่เพื่อการพัฒนาเยาวชนและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป” นายนินาท บุญโพธิ์ทอง กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะมาเยือนชุมชนพญาไท-ราชเทวี ชุมชนที่มีศิลปะที่สวยงามที่อยู่ริมทางรถไฟสายแปดริ้วแห่งนี้  สามารถมาเยี่ยมชมได้อย่างต่อเนื่อง หรือติดตามรายละเอียดของกิจกรรมที่มีทั้งหมดของถนนเด็กเดินทั้ง 18 โครงการที่แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ (สสส.) สนับสนุนในปีนี้ หรือร่วมกันช่วยสานฝัน และสนับสนุนกิจกรรมดีดีฝีมือเด็กและเยาวชนไปพร้อมๆ กันได้ที่ www.artculture4health.com หรือ ที่ www.facebook.com/sponsorship.th แล้วคุณจะรู้ว่า “พลังเล็กๆ ของเด็กและเยาวชน ก็ทำให้สังคมสดใสขึ้นได้ถ้าเราเปิดพื้นที่และมีเวทีให้เขาได้สำแดงพลังออกมา…

 

ที่มา: แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์
 

Shares:
QR Code :
QR Code