สสส.สานต่อพลังการดูแลเด็กปฐมวัยสู่ครอบครัว 3 ดี

ที่มา: wearehappy องค์กรสาธารณประโยชน์


ภาพประกอบจาก wearehappy องค์กรสาธารณประโยชน์


สสส.สานต่อพลังการดูแลเด็กปฐมวัยสู่ครอบครัว 3 ดี thaihealth


การพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 2 – 6 ปี ช่วงนี้เป็นวัยทองของชีวิตเด็กที่มีการเจริญเติบโต ทางสมอง ทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญามากที่สุด เด็กวัยนี้ การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์ จะทำให้เด็กเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ และเกิดองค์ความได้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี อย่างสร้างสรรค์


วันนี้ 4 กันยายน 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจาก 9 อำเภอ มาร่วมแรงร่วมใน จัดนิทรรศการ และการสาธิตกิจกรรมผลงานครอบครัวมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ อาทิ เช่น นวัตกรรมของเล่นพื้นบ้าน อำเภอจุน สื่อภูมิปัญญา อำเภอปง สื่อวัสดุเหลือใช้ อำเภอแม่ใจ นิทรรศการวิชาการ อำเภอเชียงคำ สื่อกระดาษ/วัสดุเหลือใช้ อำเภอภูซาง สื่อกระดาษ/วัสดุเหลือใช้ อำเภอภูกามยาว/ดอกคำใต้ สื่อธรรมชาติหาได้รอบตัว อำเภอเมืองพะเยา ตลาดนัดชุมชนสามดี กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ในครอบครัว เป็นต้น


โดยจังหวัดพะเยา มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับทุนจาก สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก5) สสส. จำนวน 38 ศูนย์ ภายใต้โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (สามดี สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี) และได้ขยายพื้นที่จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สู่ครอบครัวสามดี และชุมชนสามดี โดยเฉพาะพื้นที่นำร่อง ของชุมชนบ้านใหม่ราษฎร์บำรุง องค์การบริหารส่วนตำบลสันโค้ง อำเภอดอกคำใต้


นายพงษ์พันธุ์ วิเชียรสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า "ในอดีต สังคมชนบทบ้านเรือนใกล้เคียงกัน การดูแลเด็กๆ เป็นหน้าที่ที่จะช่วยเหลือดูแลร่วมกัน แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนการดูแลเด็ก ตกเปลี่ยนมือจาก พ่อ แม่ มาสู่เครือญาติ และครู ดังนั้น บทบาทสำคัญของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงต้องส่งเสริมสนับสนุนเด็ก ทั้ง 3 ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ การส่งเสริมให้เด็กได้เจริญเติบโต ร่างกายแข็งแรงเป็นบทบาทร่วมของคนทุกคนในสังคม ที่จะต้องร่วมกันดำเนินการให้ได้ เราทุกคนต้องเสียสละแรงกาย เวลา ทุกสรรพกำลังเพื่อลูกหลานของพวกเรา ให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีอนาคตดี เป็นกำลังของประเทศชาติต่อไป และ จังหวัพพะเยา ก็เป็นจังหวัดที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในท้องถิ่น ที่มีคุณภาพได้มาตราฐาน ทัดเทียมกับโรงเรียนอนุบาลเอกชน "


ท้องถิ่นจังหวัดพะเยา นางสาวธิดา ไกรนรา ได้กล่าวถึง กิจกรรมครั้งนี้ว่า "การดูแลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น เป็นกิจกรรมสำคัญที่ครูและครอบครัวต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะครอบครัวควรจัดพื้นที่สภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และการเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างจริงจัง จะทำให้การพัฒนาเด็ก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นต้นแบบและเป็นพื้นที่นำร่องสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดเป็นตัวอย่างของกิจกรรม รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้เรียนรู้ ได้มีกิจกรรมทางกายได้อย่างเหมาะสม"


นางสาวบุปฝา คนสนิท ประธานชมรมเครือข่ายผู้ดูแลเด็กจังหวัดพะเยา ผู้เป็นแม่งาน ในครั้งนี้ เล่าว่า " เราได้จัดนิทรรศการ แสดงผลงาน ฝึกสอนทำสื่อสร้างสรรค์ด้วยวัสดุเหลือใช้ ส่งเสริมกิจกรรมวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัด มาเป็นปีที่ 3 ต่อเนื่องกัน โดยทางสสส.ได้ให้การสนับสนุนแนวคิดกิจกรรม โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (สามดี สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี) ซึ่ง ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่ราษฎร์บำรุง ได้ ขยายพื้นที่จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สู่ครอบครัว และชุมชน โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมในครอบครัวร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมอ่านหนังสือนิทาน การมีกิจกรรมในครอบครัวร่วมกัน เช่น ให้เด็กช่วยทำงานบ้าน กวาดบ้าน ปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นร่วมกัน นำผักที่ปลูกมาปรุงอาหาร ซึ่ง เราพบว่ากิจกรรมเหล่านี้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในครอบครัวและลดเวลาของการติดอยู่หน้าจอของเด็กเล็กลงได้ด้วย ชมรมครูผู้ดูแลเด็ก จ.พะเยา เห็นร่วมกันว่า กิจกรรม 3 สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี นั้น เป็นกิจกรรมที่ครูได้นำมาใช้กับเด็กๆได้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการ โดยเฉพาะเรื่อง พื้นที่ดี ดีนั้น ทำให้เด็กได้มีมุมเรียนรู้ ที่ทางศูนย์ได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เลือกเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นมุมบทบาทสมมุติ มุมนิทาน รวมไปถึงการใช้ภูมิ การมีผู้ใหญ่ในชุมชน นำเอาวัฒนธรรมประเพณีมาสอน สาธิต แสดงให้เด็กๆได้ดู ช่วยให้เด็กได้คุ้นเคยสนิทสนม กับผู้สูงวัย ตัวผู้สูงวัยเองก็เกิดความภูมิใจ "


การได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ ได้เห็นตัวอย่างสื่อ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาง่ายๆจาก วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น และการสาธิตกิจกรรม ของเพื่อนๆครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกิจกรรมระหว่างกัน ได้ตัวอย่างสื่อ ได้ความคิด กระตุ้นและเร้าพลังในการทำงาน การมีเครือข่ายจับมือร่วมกัน ทำให้ครูได้นำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับ เช่น การผลิตสื่อ และวิธีการพัฒนาเด็กปฐมวัย ไปดำเนินการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ผลลัพธ์จึงเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ ในวันนี้ ครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก เป็นเครือข่ายผู้ดูแลเด็กจังหวัดพะเยาที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นที่จะขยายผลการดูแลเด็กๆจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งต่อสู่ครอบครัว และชุมชน โดยการสนับสนุนของท้องถิ่นจังหวัด ซึ่งเป็นการความสุขและสุขภาวะดีในทุกมิติให้กับเด็กปฐมวัยในพื้นที่จ.พะเยา โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ปี 5

Shares:
QR Code :
QR Code