สสส.ชุบชีวิต ‘โรงเรียนร้างสร้างชีวิตใหม่’

"สสส." ชุบชีวิตคนในชุมชน หนุนโครงการ "โรงเรียนร้างสร้างชีวิตใหม่" ประเดิมที่โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์งาม ซึ่งปิดตัวไปแล้ว แต่พลิกฟื้นให้ชาวบ้านมาทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง


สสส.ชุบชีวิต 'โรงเรียนร้างสร้างชีวิตใหม่' thaihealth


นายสันติ รัฐนิยม สมาชิกอบต. บ้านทุ่งหนองควาย ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตนได้นำเสนอโครงการ “โรงเรียนร้างสร้างชีวิต” เพื่อขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพราะมีแนวความคิดพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประเดิมเริ่มที่โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์งาม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา ประจำชุมชนทุ่งหนองควาย หมู่ที่ 4 และถูกปิดตัวลงจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยุบรวมสถานศึกษาขนาดเล็กเมื่อปี 2546 ทำให้โรงเรียนแห่งนี้ที่มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ ถูกปล่อยให้รกร้าง ผุพัง ปกคลุมด้วยต้นไม้ รังปลวก และยังเป็นพื้นที่เสี่ยงมั่วสุมของเยาวชน


“ผมมาคิดว่า ทำอย่างไรให้โรงเรียนนี้ มีชีวิตขึ้น จึงกลายมาเป็นคำว่า  'โรงเรียนร้างสร้างชีวิต'  คำว่า 'มีชีวิต' คือต้องการสร้างประโยชน์กับชุมชน ”นายสันติกล่าวและว่า โครงการฯนี้จะชวนชาวบ้านมาทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย กลุ่มปุ๋ยหมัก กลุ่มปลูกผักสวนครัว กลุ่มเพาะชำ ต้นกล้า และกลุ่มเครื่องแกง กลุ่มเหล่านี้มีการจัดตั้งอยู่แล้ว แต่ขาดความกระตือรือร้น และไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันมาก่อน ซึ่งหลังจากขออนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่โรงเรียนร้างแล้ว ก็มีการเข้าไปรื้อรังปลวก ถากถาง ปรับบริเวณ ทำความสะอาดอาคาร ปรับเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวของชุมชน มีการใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นแปลงสาธิตปลูกผักแบบพื้นบ้าน และพืชวัตถุดิบทำเครื่องแกง เช่น ตะไคร้ ขมิ้น พริกขี้หนู ข่า กิจกรรมอันสะท้อนโยงใย 4 กลุ่มหลักที่มีอยู่ในชุมชน


นายสันติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ โครงการฯ ดังกล่าว ยังใช้โรงเรียนเป็นจุดนัดพบชาวบ้าน เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดห้องเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ ขณะที่จุดปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ จะอยู่ในแต่ละครัวเรือน ซึ่งการขับเคลื่อน "โรงเรียนร้างสร้างชีวิต" นี้ ทำให้เกิดความเข็มแข็งและการกระตือรือร้นครั้งใหญ่ของหมู่บ้าน มีการพัฒนาด้านภาวะผู้นำ การเชื่อมโยงเครือข่ายหลายกลุ่มในหมู่บ้าน เอาพื้นที่โรงเรียนร้างเป็นตัวเดินเรื่องเพราะเป็นศูนย์รวมทางความรู้สึกจิตใจชาวบ้านที่เคยเสียหายผุพังไปนับสิบปี มีการพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชองกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเพาะชำ กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ จนทำให้เกิดความสำเร็จ หลายหน่วยงานมองเห็นความสำคัญ อยากเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่า "สำนักงานพัฒนาที่ดินฯ" เข้ามาส่งเสริมเกี่ยวการทำปุ๋ย "การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)" จะสนับสนุนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องแกง "พัฒนาชุมชน อำเภอถ้ำพรรณรา" สนับสนุนบ้านทุ่งหนองควายเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


 “หลายหน่วยงานฯลงมาให้ความสำคัญกับหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น สาธารณสุข งานปกครอง เกษตร องค์การบริหารส่วนสสส.ชุบชีวิต 'โรงเรียนร้างสร้างชีวิตใหม่' thaihealthตำบล พัฒนาชุมชน กศน. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ทั้งที่แต่ก่อนเราเคยเสนอโครงการกับหน่วยงานต่างๆ ก็ไม่เคยตอบรับ กระทั่งโครงการ สสส. สร้างรูปธรรม หน่วยงานเขาเห็นศักยภาพของเราเลยหนุนเสริมลงมา” นายสันติกล่าว


นายสันติ กล่าวด้วยว่า จะมีการยกระดับกองทุนชุมชน เป็นสถาบันการเงินชุมชน วางบทบาทโรงเรียนร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ จากโรงเรียนที่รกร้าง ไม่มีคนเข้าไปดูแล ไม่เกิดประโยชน์อะไรตอนนี้ ตอนนี้กลายเป็นสถานที่ดูดี สะอาดตา มีคนแวะเวียนไปที่โรงเรียนทุกวันทั้งทำกิจกรรมโครงการและออกกำลังกาย กลายเป็นสถานที่อันเกิดประโยชน์ของชุมชน สมาชิกโครงการฯต่างรู้สึกประทับใจที่พัฒนาโรงเรียนรกร้าง ให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ พัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เกิดศูนย์รวมใจของคนทุ่งหนองควาย


ด้านนายเกษม นามะหึงษ์ ประธานกลุ่มเพาะชำ และอดีตประธานกรรมการโรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์งาม กล่าวว่า ที่ชาวบ้านรักโรงเรียนแหงนี้มาก เพราะกว่าจะได้โรงเรียนมา ชาวบ้านต้องต่อสู้กันมามาก ราวปี 2522 ชาวบ้านเห็นลูกหลานเดินไปโรงเรียนไปกลับวันละ 20 กิโลเมตร จึงช่วยกันสร้างเพิงไม้ไผ่มุงหญ้าคาชักชวนอดีตพนักงานฉีดพ่นยุงในอดีต (DDT) มาเป็นครูคนแรก


“การตั้งชื่อโรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์งาม เกิดขึ้นตอนที่ผมมาเป็นประธานคณะกรรมการของโรงเรียน ผมเป็นคนเสนอเองเห็นว่า น่าจะจูงใจครูที่มาสอนมากกว่าคำว่าทุ่งหนองควาย มาจากต้นโพธิ์ใหญ่ ที่หน้าโรงเรียน ซึ่งตอนนี้ก็ตายไป หลังจากโรงเรียนนี้กลายเป็นโรงเรียนร้างนั่นแหละ”นายเกษมกล่าว


 


 


ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์ 


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code