สสส.จัดแข่งขัน “กรีฑาสำหรับเด็ก” ลดภาวะเนือยนิ่ง

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


สสส.จัดแข่งขัน “กรีฑาสำหรับเด็ก” ลดภาวะเนือยนิ่ง thaihealth


สสส. จับมือสมาคมกีฬากรีฑาฯ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จัดแข่งขัน “กรีฑาสำหรับเด็ก” ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์/ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 51 แห่ง หวังเพิ่มกิจกรรมทางกาย-ลดเนือยนิ่ง เผยเด็ก-วัยรุ่นติดจอหนักสุดเฉลี่ย 3.10 ชั่วโมง/วัน เพิ่มทางเลือกเล่นกรีฑา ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ช่วยพัฒนาร่างกาย สมอง ปลูกฝังความสามัคคี รู้แพ้-ชนะ-อภัย


เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จัดทำ “โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วย กรีฑาสำหรับเด็ก” (kids’ Athletics) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีและมีสมรรถภาพทางกายที่เหมาะสมตามช่วงวัย โดยจะจัดการแข่งขันกรีฑาสำหรับเด็กในรูปแบบของทีม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย โดยจะมีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 ที่ จ.สุพรรณบุรี


ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า จากผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกาย ในปี 2558 พบว่า คนไทยมีกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 71.7 ในขณะที่กลุ่มวัยเด็ก ระหว่าง 6-14 ปี เป็นกลุ่มเดียวที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลง จากร้อยละ 67.6 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 64.8 ในปี  2558 เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) ที่เพิ่มขึ้น จากการสำรวจพบว่า กลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่นมีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ (Screen Time) เฉลี่ย 3.10 ชั่วโมง/วัน มากกว่าทุกกลุ่ม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เด็กไทยขาดกิจกรรมทางกาย และมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเพิ่มขึ้น สสส. จึงผลักดันแนวคิด “ออกมาเล่น” (Active Play) โดยสนับสนุนให้เด็กมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปทุกวัน อย่างน้อย 60 สสส.จัดแข่งขัน “กรีฑาสำหรับเด็ก” ลดภาวะเนือยนิ่ง thaihealthนาที/วัน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยทำงานร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ใช้รูปแบบสนามเด็กเล่นตามหลักการเรียนรู้ของสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning Playground) ในครั้งนี้ต่อยอดการทำงาน โดยใช้กีฬากรีฑาเพื่อการพัฒนาเด็ก ซึ่งมีผลวิจัยชัดเจนว่า กรีฑาสำหรับเด็กช่วยพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม อาทิ เสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย เชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจ มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะและรู้อภัย มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบ กติกาอย่างเคร่งครัด ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีขึ้น


พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์   นายกสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า กรีฑาสำหรับเด็ก เป็นกิจกรรมที่ถูกออกแบบให้มีการเคลื่อนไหวหลายรูปแบบ มีทั้งการวิ่ง การกระโดด การทุ่มขว้าง ปา ม้วน กลิ้ง การวิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง การวิ่งทางไกล โดยจัดให้มีรูปแบบของการแข่งขันแบบง่ายๆ แต่มีความดึงดูดใจ สนุกสนาน เหมาะกับวุฒิภาวะและความเจริญเติบโตของเด็ก สมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ นำหลักการของกรีฑาสำหรับเด็กมาประยุกต์ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ดังนั้น กรีฑาสำหรับเด็กจึงเป็นกิจกรรมทางกายที่มีความเหมาะสมเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันเหมาะกับการเรียนรู้ทักษะทางสังคม การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ความมีน้ำใจ คุณธรรมจริยธรรม การอยู่ร่วมกันในสังคม และให้ทั้งความสนุกสนาน ตื่นเต้น เหมาะกับความต้องการของเด็ก


ด้าน นางศิริกุล พานพล รองผู้อำนวยการ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัจจุบันมีโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสที่อยู่ภายใต้การดูแลจำนวน 51 แห่งกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ แบ่งเป็นโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 13 แห่งและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 38 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประจำ โรงเรียนเหล่านี้คือพื้นที่สำคัญ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมด้านสุขภาพ ซึ่งการที่นักเรียนมีสุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยสนับสนุนคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ให้สสส.จัดแข่งขัน “กรีฑาสำหรับเด็ก” ลดภาวะเนือยนิ่ง thaihealthเกิดขึ้นตามมา


นอกจากปัญหาเฉพาะด้านที่เด็กๆ ต้องเผชิญแล้วพวกเขายังมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพเช่นเดียวกับเด็กไทยทั่วไป ซึ่งแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งเด็กๆ กลุ่มนี้ มีโอกาสการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนด้านการสร้างเสริมสุขภาพน้อยกว่า เพราะข้อจำกัดต่างๆ ของชีวิต การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายและโภชนาการที่เหมาะสม นอกจากจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางสุขภาพ ยังเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมในมิติทางสุขภาพด้วย”นางศิริกุล กล่าว


ทั้งนี้จะมีการจัดการแข่งขันในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 13 แห่ง และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 38 แห่ง รวม 51 แห่ง โดยรอบคัดเลือกจัดขึ้นในวันที่ 3 และ 6 ตุลาคม 2559 แข่งขันรอบคัดเลือกวันที่ 3 ตุลาคม ภาคกลาง ที่ จ.สุพรรณบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.อุดรธานี รอบคัดเลือกวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ และภาคใต้ที่ จ.ตรัง โดยจะมีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 ที่ จ.สุพรรณบุรี

Shares:
QR Code :
QR Code