สสส.กับความท้าทายในงานสร้างความปลอดภัยทางถนน

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ


ภาพประกอบโดย สสส.


สสส.กับความท้าทายในงานสร้างความปลอดภัยทางถนน thaihealth


การสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน คือ พันธกิจหลักของสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.ด้วยทุกขภาวะของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป จากอดีตที่คนเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อ และ โรคติดต่อมากที่สุด


แต่ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของอัตราการเสียชีวิต ของคนไทยเกิดจากโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเกิดจาก พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน รวมถึง อุบัติเหตุทางถนนที่อัตราการตายของ คนไทยสูงติดอันดับโลกจึงนับเป็นปัญหา สุขภาวะสำคัญตอกย้ำให้สสส. ต้องมี ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ทางถนน


การทำงานด้านอุบัติเหตุทางถนนในอดีต เป็นแบบต่างคนต่างทำงาน ขาดการวางแผน ร่วมกัน ทำให้งานไม่เชื่อมประสาน เมื่อ สสส. ได้ก่อตั้งขึ้น ซึ่งมีงบประมาณบริหารกองทุนฯ คิดเป็นเพียง 0.7% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ของรัฐ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะลงไปแก้ปัญหา ทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ สสส. จึงต้องสร้าง มิติใหม่ในการทำงานคือ วางบทบาทเป็น ผู้สนับสนุนและเชื่อมร้อยการทำงาน ของทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อจะอุด ช่องโหว่ของปัญหาด้วยการทำงานวิชาการ ถอดบทเรียนวิเคราะห์ปัญหา เพื่อนำไปสู่ การสังเคราะห์ข้อเสนอทางนโยบาย รวมไปถึงสนับสนุนให้มีกลไกบูรณาการ ในระดับพื้นที่ จนเกิดการขับเคลื่อน ที่ทุกฝ่ายมีเป้าหมายเดียวกัน


ปัจจุบันได้เกิด "ศูนย์อำนวยการ ความปลอดภัยทางถนน" หรือ ศปถ. ซึ่งมี โครงสร้างจากหน่วยงาน อาทิ กระทรวง คมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง มหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวง ศึกษาธิการ และอีกหลายหน่วยงาน ทำให้ ได้ร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์ชาติ และ เป้าหมายชาติ เพื่อเป็นแม่บทในการทำงาน ของทุกหน่วยงานให้มีเป้าหมายเดียวกันคือ การลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จากอุบัติเหตุท้องถนน


สสส. มีกลไกขับเคลื่อนการทำงาน ความปลอดภัยทางถนน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่


  1. พัฒนาข้อมูลวิชาการ ผ่าน "ศูนย์วิชาการ ความปลอดภัยทางถนน" ทำให้เกิดการ สังเคราะห์และวางแผน ข้อเสนอเชิงนโยบาย  การรณรงค์สังคมที่ตอบโจทย์และตรงจุด
  2. สร้างเครือข่ายทั่วประเทศ สสส. ร่วมพัฒนาระบบพี่เลี้ยงจากการประสาน 5 เสาหลักการทำงานด้านอุบัติเหตุ ได้แก่ มหาดไทย คมนาคม ตำรวจ สาธารณสุข และ กระทรวงศึกษาฯ ประสานเครือข่ายท้องถิ่น  ประชาสังคม จนกลายเป็นแนวร่วมที่แข็งแรง เกิดเป็นเครือข่าย อาทิ เครือข่ายสนับสนุน การป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด เครือข่ายลดอุบัติเหตุ ชมรมคนห่วงหัว เครือข่ายสื่อภูมิภาคและวิทยุชุมชน เครือข่าย เหยื่อเมาแล้วขับทั่วประเทศ
  3. สนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูล อุบัติเหตุของประเทศ บูรณาการข้อมูล จากตำรวจ โรงพยาบาล บริษัทกลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัย ร่วมกับข้อมูลมรณบัตร ซึ่งการมีระบบการรายงานข้อมูลที่ดี จะนำ ไปสู่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริงได้
  4. การสื่อสารสังคม ตลอดทั้งปี สสส. ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น แต่ได้เพิ่ม การรณรงค์ให้เข้มข้นยิ่งขึ้นในช่วง "7 วันอันตราย" เพื่อกระตุกความคิดของผู้ใช้รถ ใช้ถนน ให้เห็นความสำคัญของปัญหาและ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง อาทิ "ตั้งสติ ก่อน สตาร์ท" "ดื่มไม่ขับ" "กลับบ้านปลอดภัย" ฯลฯ รวมถึงเป็นสื่อกลางช่วยถ่ายทอดนโยบาย จากส่วนกลางไปสู่ระดับภูมิภาคและพื้นที่  เพื่อสนับสนุนให้สื่อสารดังกล่าวได้รับการ ยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง


"บทบาทของ สสส. โดยเฉพาะการรณรงค์ สื่อสารสังคม อาจทำให้เข้าใจว่า เป็นหน้าที่หลัก ของ สสส. เมื่อมีตัวเลขเจ็บตายเพิ่มขึ้น จึงมีการ ตั้งเป้าถึงการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพซึ่งการ รณรงค์เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงได้ แต่จำเป็นต้องสร้าง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากในระบบ การศึกษา ต้องสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย ได้อย่างจริงจัง ต้องปรับเปลี่ยนวิศวกรรม ยานยนต์ โครงสร้างถนนเพื่อลดจุดเสี่ยง และ การใช้ฐานข้อมูลเพื่อวางนโยบาย ทุกอย่าง ต้องทำควบคู่กัน สสส. ทำเพียงลำพังไม่ได้"


หากพิจารณาจากตัวเลขการเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ย 20,000 คนต่อปี เท่ากับมีคนตายด้วยอุบัติเหตุวันละ กว่า 60 ศพ ยังไม่นับรวมคนพิการที่หลายคน อยู่ในวัยทำงานที่ต้องกลายเป็นภาระของ ครอบครัวตลอดชีวิต ซึ่งในช่วง 7 วัน อันตราย มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยที่ 300-400 คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าสัปดาห์ปกติ บางสัปดาห์ด้วยซ้ำ ทั้งที่มีปริมาณการเดินทาง และการเฉลิมฉลองเพิ่มขึ้นมาก และ เทียบกับเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วการตายช่วงเทศกาล จะอยู่ที่กว่า 800 คน ซึ่งถือว่าลดลงไปได้ เกินครึ่งแล้ว


ตัวเลขนี้แสดงว่า การทำงานในช่วงเวลา ดังกล่าวได้ผลไม่น้อยเลย สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าทุกส่วนทำงานจริงจัง ก็สามารถตรึง และลดการเสียชีวิตให้น้อยกว่าปกติได้ และถ้าขยายงานให้เต็มที่ตลอดปี ก็น่าจะลด ภาพรวมของปัญหาได้เป็นรูปธรรม และ ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่อยากให้มีการรายงานเรื่องอุบัติเหตุ ทางถนนในทุกไตรมาส เพื่อกระตุ้น การทำงานเชิงรุกในทุกพื้นที่


เมื่อพิจารณาข้อมูลวิเคราะห์สถิติ อุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 ของศูนย์ วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน พบว่า ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ที่สำคัญคือ การดื่มสุรา 32% การเดินทางกลับ ภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวที่เร็วขึ้น (ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.) ทำให้ฉลองปีใหม่เร็วขึ้น สอดคล้อง กับการยิ่งดื่มมากยิ่งไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย


ซึ่งมาตรการที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกัน ดำเนินการช่วงก่อนและระหว่าง 7 วันอันตราย แม้ภาพรวมยังไม่พบว่าการเสียชีวิตลดลง  แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยพบว่า กลไก ที่ สสส. สนับสนุนการทำงานระดับพื้นที่ และผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางสังคม เช่น การสวดมนต์ข้ามปี งดเหล้าเข้าพรรษา มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาดื่มแล้วขับ ลดลงอย่างชัดเจนโดยเฉพาะช่วงเข้าพรรษา ที่มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยจากอุบัติเหตุ ทางถนนต่ำกว่าช่วงปกติ


ก้าวต่อไปสู่การแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ที่ยั่งยืน สสส. สนับสนุนให้นำงานวิชาการ มาปรับใช้ให้ได้จริง โดยอาศัยการสร้าง นวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ บังคับใช้กฎหมาย พร้อมสร้างความท้าทาย ด้วยการเชิญชวนให้ชุมชนมีบทบาท ร่วมทำงาน "ตำบลรวมพลัง" ตั้งเป้าลดตาย จากอุบัติเหตุตำบลละ 1 ศพ หากทำได้ก็จะ ลดการตาย 7,000 ศพต่อปี ซึ่งจะทำให้ สถิติโลกที่เราครองอันดับต้นๆ อยู่ก็จะลด ตามไปด้วย แน่นอนว่าเราจะได้ประชากร ที่เป็นกำลังของประเทศกลับมา


ท้ายที่สุดนี้ ประเทศไทย ยังต้องการกลไก การจัดการเชิงระบบในทุกองค์ประกอบ  แต่ในระหว่างนี้ภาครัฐ รวมถึง สสส. และภาคี เครือข่าย ประชาสังคม ประชาชน เอกชน จะต้องช่วยกันร่วมมือกันทำทุกมิติ ทุกวิถีทาง เพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์ลงนำไปสู่ เป้าหมายที่หยุดการเจ็บตายจากอุบัติเหตุ


ทั้งหมดนี้คือเป้าหมายที่ สสส. ต้องร่วม สนับสนุนผลักดันต่อไปเพื่อสุขภาวะที่ดี ของคนไทย


หากพิจารณาจากตัวเลขการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยเฉลี่ย 20,000 คนต่อปี เท่ากับมีคนตายด้วยอุบัติเหตุวันละกว่า 60 ศพ ยังไม่รวมคนวัยทำงานที่ต้องพิการกลายเป็นภาระของครอบครัวตลอดชีวิต

Shares:
QR Code :
QR Code