สสค.- สสส. สนับสนุน 50 โรงเรียน ยกระดับทักษะชีวิตอาชีพ

          สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมลงนามบันทึกข้อตกลงดำเนินงานและปฐมนิเทศในโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ รุ่นที่ 1 (ภาคเหนือและภาคใต้) จำนวน 50 โครงการ ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง แพร่ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เชียงใหม่ ลำพูน ระนอง นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส 

/data/content/23340/cms/bijlopuvx239.jpg

          นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค. กล่าวว่า ลักษณะโครงการที่เน้นเรื่องทักษะอาชีพและทักษะชีวิตแต่เดิมนั้นมักเน้นไปกับทักษะที่ใช้มือทำกิจกรรม เช่น งานจักรสาน งานเกษตรกรรม งานคหกรรม แต่ปัจจุบันสิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือ การสร้างให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ที่เกิดจากสมอง เพื่อโยงไปสู่ทักษะที่จำเป็นในศวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 6 ทักษะสำคัญ ได้แก่

          1. ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

           2. ทักษะการคิดวิเคราะห์

           3. ทักษะการบริหารจัดการ

           4. ทักษะในการแก้ปัญหา

           5. ทักษะในการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น

           6. ทักษะในการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

           โดยสิ่งสำคัญนั้นคือการฝึกวิธีคิด เช่น ปัจจัยใดส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สามารถขายได้จริงในตลาด ทักษะการนำเสนอ หรือการเรียนรู้ว่า สินค้าหรือบริการแบบใดเหมาะกับท้องถิ่นและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่สอนผู้เรียนอย่างที่ครูอยากจะสอนแต่ไม่มองการใช้ประโยชน์ต่อในภายหลัง ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่เหนือยิ่งกว่าการสร้างให้นักเรียนเกิดทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ก็คือการสอนให้เด็กคิดได้ และสามารถลงมือทำได้จริง

           นางสาวนราทิพย์ พุ่มทรัพย์ หัวหน้าทีมติดตามโครงการฯ อดีตผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องเริ่มจากตัวเอง การฝึกทักษะผู้เรียนให้ลงลึกถึง 6 ทักษะพื้นฐานในศตวรรตที่ 21 นั้นอยากให้เน้นกระบวนการสร้างให้เกิดการเรียนรู้ดังกล่าวเพื่อแสดงให้เห็นว่า เป็นสิ่งที่ครูและโรงเรียนทั่วไปสามารถทำได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นกรณีศึกษนำร่องให้กับเพื่อนโรงเรียนอื่นๆ โดยเฉพาะความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนจะเป็นตัวชี้วัดได้ดีที่สุด สะท้อนเห็นว่า ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่ได้จริง

 

 

            ที่มา : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

Shares:
QR Code :
QR Code