สวนผักคนเมือง วิถีพอเพียง ตามรอยพ่อ

ที่มา : วิถีชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานราก : ผักสวนครัว โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และประชารัฐ


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


สวนผักคนเมือง วิถีพอเพียง ตามรอยพ่อ  thaihealth


สวนผักคนเมือง องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก


พื้นที่หมู่ที่ 7 หมู่บ้านพงศธร-ชินลาภ เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองสูง ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่จัดสรรแบ่งขายเพื่อปลูกบ้าน คนในหมู่บ้านล้วนเป็นคนต่างถิ่นที่ย้ายเข้ามาอาศัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ภายในชุมชนเมืองแห่งนี้อุดมไปด้วยผักสวนครัวที่ปลูกตามริมรั้ว และพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของหมู่บ้าน มีการทำบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ชาวบ้านสามารถเก็บกิน แลกเปลี่ยนกันได้ด้วยความเอื้อเฟื้อ


ร.อ.อุบล พุทธรักษ์ เป็นอดีตกำนันตำบลสมอแข เพิ่งเกษียณอาบุ ในปี 2557 หลังอยู่ในตำแหน่งมานานกว่าทศวรรษ อดีตกำนันเป็นทหารผ่านศึก วาจาคำพูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม อดีตกำนันผู้นี้เป็นนักพัฒนาตัวยง เป็นที่นับถือของลูกบ้านตำบลสมอแข และเห็นอย่างนี้เขาเป็นนักปลูกต้นไม้


สวนผักคนเมือง วิถีพอเพียง ตามรอยพ่อ  thaihealthตั้งแต่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านพงศธร-ชินลาภ ในราวปี 2544 ผู้กองอุบลเริ่มปลูกผักสวนครัวในบริเวณบ้านของตัวเอง ริมรั้วซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นนิยมปลูกดอกเข็มหรือไประดับอื่นๆ  แต่เลือกปลูกผักกินได้แทน ผักเหล่านี้แบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน


“บ้านที่ทยอยเข้ามาปลูก ส่วนใหญ่รู้จักกัน ก็มาขอผักไปทำกินพอขอบ่อยๆ เข้า เลยเพาะพันธุ์แจกให้เอาไปปลูกที่บ้านบางบ้านไม่มีความรู้ก็ปลูกให้” อดีตกำนันเล่าด้วยรอยยิ้ม


หากการส่งเสริมให้ลูกบ้านเริ่มปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้อย่างจริงจัง เกิดขึ้นในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแก้จน ตามเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์ชุมชน เขต 6 ช่วงระหว่างปี 2550-2552 โดยนำปรัชยาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปรับใช้ พร้อมทั้งชักชวนเพื่อนบ้านในชุมชน ให้ใช้พื้นที่ว่างเปล่าภายในบริเวณริมรั้วบ้าน และพื้นที่รกร้างว่างเปล่าภายในหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์


“เราขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ๆ ในส่วนที่ไม่มีเจ้าของก็อาศัยช่วยกันดูแล ปลูกทั้งผักผลไม้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผัก ทั้ง คะไคร้ โหระพา กะเพรา ข่า มะกรูด ถั่วฝักยาว มะเขือ พริก มะนาว ชะอม กระถิน กับอีกหลายอย่าง ผลไม้จะมีกล้วยเป็นหลัก นอกจากนนี้ยังเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ”


กว่าจะผ่านมาจนถึงวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย กับการรวมผู้คนจากต่างทิศต่างถิ่นให้เป็นกลุ่มก้อน จนมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน เพ่อสร้างชุมชนเมืองให้น่าอยู่ และเป็นแบบอย่าง โดยแต่ละเดือนจะมีการรวมตัวกันที่บ้านคณะกรรมการ มีการทำอาหารจากผักที่ปลูกไว้ ปลา กบ ที่เลี้ยงไว้


“สิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้านหมู่ที่ 7 นี้ การันตีว่าทำได้จริง ไม่ต้องเขียนนโยบายที่สวยงาม ทำรูปธรรมให้เกิดกับชุมชน ผู้คนบ้านนี้สวนผักคนเมือง วิถีพอเพียง ตามรอยพ่อ  thaihealthหลากหลายที่มา ไม่มีใครมีอาชีพเกษตรกรรม แต่วันนี้แทบทุกบ้านปลูกผักริมรั้วทั้งนั้น”


พืชผักสวนครัวริมรั้ว หรือตามพื้นที่สาธารณะในพื้นที่บ้านหมู่ที่ 7 นั้น ชาวบ้านสามารถเก็บกินได้ ในส่วนของปลากบจะมีการจำกัดตัว แบ่งกันรับประทานในชุมชน


ใครผ่านมาบ้านพงศธร-ชินลาภ จะเห็นว่าทุกบ้านมีผักสวนครัว ติดบ้าน ตามรั้ว หรือริมทาง ทั้งหมดล้วนกินได้ เป็นซุปเปอร์มาเก็ตที่แจกผักฟรีตลอดฤดูกาล ขอแค่ความร่วมมือในการดูแล นอกจากจะช่วยให้บ้านน่ามองแล้ว ยังช่วยลดรายจ่าย ที่สำคัญยังช่วยแสดงให้เห็นว่า ชุมชนเมืองก็สามารถประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตัวได้


ปัจจุบันแม้อุบลจะไม่ใช่กำนันแล้ว แต่ผู้คนยังเรียกว่ากำนันติดปากด้วยความสามารถระดับนี้ จึงไม่แปลกที่เขาจะได้เป็นประธานสภาเกษตรจังหวัดพิษณุโลก กระนั้นในยามว่างก็ยังคงขลุกอยู่ในพื้นที่หลังบ้านกับพืชผักสวนครัว บ่อเลี้ยงปลาก ทั้งยังมีเป็ด ห่าน ไก่งวง ไก่ไข่ เป้นความสุขที่เรียบง่ายและลงตัว

Shares:
QR Code :
QR Code