สร้างเครือข่ายรักษามะเร็งระดับอาเซียน

สร้างเครือข่ายรักษามะเร็งระดับอาเซียน thaihealth


กรมการแพทย์ จัดอบรมบุคลากร ทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งในกลุ่ม ประชาคมอาเซียนจาก 9 ประเทศ กว่า 160 คน  เน้นพัฒนาศักยภาพแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สาขามะเร็ง พร้อมสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แก้ปัญหาโรคมะเร็งในระดับอาเซียน ย้ำ ให้ความ สำคัญด้านการป้องกัน ลดจำนวนอัตราผู้ป่วย มะเร็ง ตลอดจนประคับประคองการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ


นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็ง ในกลุ่มประชาคมอาเซียน ว่า จากสถิติ องค์การอนามัยโลกพบว่า ในปี พ.ศ.2551 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวน 12.7 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 7.6 ล้านคนหรือคิดเป็น 13% สำหรับ สถานการณ์โรคมะเร็งในประชาคม อาเซียน โรคมะเร็งที่พบบ่อย 5 อันดับแรก คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง700,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 500,000 รายต่อปี โดยประเทศที่พบอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งมากที่สุด ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ รองลงมาคือ ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา และประเทศไทย ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ โรคมะเร็งจึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของภูมิภาค และจำเป็นต้องมีเครือข่ายบุคลากรทาง การแพทย์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในด้านการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งระดับ อาเซียน


ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำ ให้ทุกประเทศจัดทำแผนการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งให้เหมาะสมกับ โครงสร้างและทรัพยากรของแต่ละประเทศ โดยมีหลักการสำคัญ คือเน้นการป้องกันโรค คัดกรองและค้นหาโรคในระยะเริ่มแรกมีการ รักษาและดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง รวมถึงการเฝ้าระวังติดตาม มีการจัดทำฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งไว้เป็นแหล่งรวบรวมมะเร็งชนิดต่างๆ ตลอดจนอุบัติการณ์ การเกิดโรคและการเสียชีวิต ซึ่งข้อมูล ดังกล่าวมีความสำคัญในการประเมินปัญหา เพื่อนำไปสู่การวางนโยบายและยุทธศาสตร์ การป้องกันและควบคุมมะเร็งของแต่ละ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน


นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จัดหลักสูตร ฝึกอบรม ASEAN Collaborative Training on Cancer ให้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งในภูมิภาคอาเซียน จาก 9 ประเทศ  จำนวน 160 คน โดยการฝึกอบรม ประกอบด้วย 6 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรการแปรผล ฟิล์มเอกซเรย์เต้านม 2) หลักสูตรการผ่าตัด มะเร็งเต้านม 3) การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการใช้กล้อง colposcopy สำหรับพยาบาล 4)หลักสูตรพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ ยาเคมีบำบัด 5) หลักสูตรพัฒนาความรู้และ ทักษะการพยาบาลผู้ป่วยออสโตมีและแผล และ 6) หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการทำทะเบียนมะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้บุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละสาขามีโอกาส เรียนรู้ข้อมูลและเทคโนโลยีปัจจุบันจากผู้เชี่ยวชาญ ในประเทศไทย และยังเปิดโอกาสให้มีการ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย เพื่อแก้ปัญหา โรคมะเร็งในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม


 


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code