สร้างสุขภาวะที่ดีให้น้องๆปลายด้ามขวาน

ที่มา : เว็บไซต์คมชัดลึก 


ภาพประกอบจากเว็บไซต์คมชัดลึก


สร้างสุขภาวะที่ดีให้น้องๆปลายด้ามขวาน thaihealth


 “สุขภาพที่ดี” สร้างได้ด้วยการป้องกัน ไม่ใช่การแก้ไข…ในงานสัมมนาสรุปบทเรียนโครงการจัดการเรียนรู้แบบเครือข่ายสู่โรงเรียนสุขภาวะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโดยวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับมูลนิธิศึกษาธิการ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ โรงแรม ซีเอส ปัตตานี จ.ปัตตานี


นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวว่า สสส.มีภารกิจในการสนับสนุนให้ทุกคนในผืนแผ่นดินไทย มีสุขภาวะที่ดี โดยเน้นการพัฒนาคนในทุกช่วงวัย ซึ่งครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกับโรงเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่มุ่งเน้นเด็กและเยาวชนทุกคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาให้เป็นเด็กที่มีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา


ทั้งนี้ ด้วยโครงสร้างประชากรเกิดใหม่ที่ลดลง ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ปัญหาเหล้า บุหรี่ ปัญหาสุขภาวะทางเพศ สังคมดิจิทัล สื่อออนไลน์ เหล่านี้คือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เราต้องมาร่วมมือกันจะทำอย่างไร ที่จะสามารถดูแลให้ประชากรเด็กมีคุณภาพที่ดี จนเกิดเป็นความร่วมมือกับสถานศึกษา เกิดโครงการจัดการเรียนรู้แบบเครือข่ายสู่โรงเรียนสุขภาวะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา


แม้ สสส. มีบทบาทในฐานะเป็นผู้สนับสนุนและจุดประกาย และกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อน การได้มีโอกาสร่วมกับโรงเรียนและเครือข่าย 8 ร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมติดตามประเมินผลและสุดท้ายคือนวัตกรรมที่เห็นชัดคือ ร่วมชื่นชมผลสำเร็จ เป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ที่ดี บางกลุ่มใช้วิธีการเข้าค่าย ใช้วิธีการทำสัญญากระตุ้นให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรม บางเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมที่แก้ปัญหาเหล้า บุหรี่ ตลอดจนร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น สสส.ภูมิใจว่าเราบรรลุวัตถุประสงค์ในการมีส่วนร่วมและตัดสินใจ 100% แต่ที่ดีไปกว่านั้นคือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กนักเรียน โดยนักเรียนเกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น โรงเรียน ผู้ปกครอง และคนในพื้นที่มีความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์แท้จริงของโครงการ” นางเพ็ญพรรณ กล่าว


สร้างสุขภาวะที่ดีให้น้องๆปลายด้ามขวาน thaihealth


นายธำรง อมโร กรรมการมูลนิธิศึกษาธิการ กล่าวว่า มูลนิธิศึกษาธิการ มีเป้าหมายในการสนับสนุนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยเน้นพัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากร และเน้นพิเศษในเด็กและเยาวชน ที่ผ่านมาได้มีส่วนขับเคลื่อน ดำเนินงานโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ บทบาทหลักของมูลนิธิศึกษาธิการในการดำเนินโครงการมี 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.ทำหน้าที่ประสานจัดอบรมเครือข่ายต่างๆ 2.สนับสนุนทางวิชาการ และ3.ร่วมติดตามและประเมินผล ที่ผ่านมาก็ได้มีการติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 115 โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการติดตามประเมินผลการทำงานของโรงเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดพบว่า ศักยภาพของครู บุคลากรและนักเรียนในพื้นที่ไม่ได้ด้อยกว่าใคร เพียงแต่ขาดการสนับสนุน แต่ทุกโรงเรียนก็พยายามพัฒนาตนเอง มีการสร้างการมีส่วนร่วมตามกรอบแนวคิด 8 ร่วมจนบรรลุเป้าหมายเกิดเป็นโรงเรียนสุขภาวะที่ชัดเจนมากที่สุดพื้นที่หนึ่ง


ด้านนายอุสมาน มานะ ตัวแทนเครือข่ายลาโล๊ะ กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นของกลุ่มเครือข่ายมดแดง ซึ่งเป็นการรวมตัวกันแบบเพื่อนพ้องน้องพี่ จนได้เข้ามาร่วมทำงานโครงการโรงเรียนสุขภาวะที่มีโรงเรียนเครือข่าย 115 โรง จึงได้มาแบ่งกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนโรงเรียนไม่เท่ากัน 5 โรง 8 โรง หรือ 10 โรงตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ในส่วนของพวกตนได้มาจับมือกัน สร้างเครือข่าย


“ลาโล๊ะ” มีโรงเรียน 8 โรง วิธีการทำงานของเครือข่ายนั้น จะให้โรงเรียนจับคู่บั๊ดดี้คือ โรงเรียนที่อยู่บนภูเขาจับคู่กับโรงเรียนที่อยู่บนภูเขาเหมือนกัน เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงาน การขับเคลื่อนกิจกรรม โครงการใดๆ ก็ตาม ทางเครือข่ายก็จะมีการวางแผนร่วนกันกับผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้ง ผู้นำชุมชน ผู้แทนหน่วยงานราชการต่างๆ


ครูอุสมาน กล่าวต่อไปว่า บทบาทของเครือข่ายคือ ทำหน้าที่ประสาน สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในกลุ่มทุกคน เราเน้นการทำงานแบบพี่น้อง มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน ปรึกษากัน ทุกคนจะรู้บทบาทหน้าที่ของตน และเสียสละ ทำให้ผลงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งหลักการที่เครือข่ายยึดถือคือ ” คนสำราญ งานสำเร็จ“นายอุสมาน มานะ


ครูอุสมาน กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาของโรงเรียนในเครือข่ายที่พบหลายประการ อันดับแรกคือ เส้นทางการคมนาคมที่แต่ละโรงเรียนอยู่ห่างไกลกันมาก เราแก้ไขปัญหาด้วยการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ ในการติดต่อสื่อสารกัน และเวลาจัดประชุมก็หาโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการจัดประชุม ปัญหาต่อมา คือ นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษายาวีเป็นหลัก ใช้ภาษาไทยเป็นภาษารอง จึงแก้ไขโดยการอบรม 350 ชั่วโมง เริ่มต้นที่เด็กระดับ ป. 1 ซึ่งสามารถแก้ไขทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้เพิ่มจาก 70% เป็น 91.06 % ปัญหายาเสพติด พบว่าเด็กจะเริ่มสูบบุหรี่ ช่วง ม.1-ม.3 ซึ่งเป็นช่วงวัยรุ่นจึงได้เริ่มจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ถึงโทษของยาเสพติด มีการรณรงค์ต้านยาเสพติด ต่อต้านการสูบบุหรี่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากยาเสพติด ขณะเดียวกัน ยังอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ ให้เด็กรู้ว่าควรเลือกรับประทานอาหารประเภทใดที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารประเภทไม่มีประโยชน์ ซึ่งก็สามารถช่วยขจัดปัญหาโรคอ้วนได้


สร้างสุขภาวะที่ดีให้น้องๆปลายด้ามขวาน thaihealth


“การพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คนอื่นอาจจะมองว่า พัฒนาอย่างไรก็ไม่เจริญ เพราะเด็กติดยาเสพติด แต่สิ่งเหล่านี้จะมาจากไหน ถ้าไม่มองมาจากบ้าน และโรงเรียน เช่น บอกอย่าสูบบุหรี่ แต่ผู้ใหญ่ยังทำให้เห็น ในโรงเรียนยังมีก้นบุหรี่ เพราะฉะนั้น ทุกฝ่ายต้องมาช่วยกันทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และสำหรับครอบครัวที่นับถือศาสนาอิสลามก็ต้องนำมาใช้ในการพัฒนากับลูกมากๆ เช่นเดียวกับโครงการที่ สสส.ทำที่มุ่งส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นกับลูกหลาน” นายอนันต์ สุวรรณชาตรีตัวแทนผู้ปกครองเครือข่ายปัตตานี กล่าว


นายอนันต์ กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่ สสส. เข้ามามีบทบาทในโรงเรียน ต้องยอมรับว่าโครงการดีเยี่ยม ซึ่งมุมมองของตนในฐานะชาวบ้านคนหนึ่งเห็นว่าการเข้ามาของ สสส. คือ การเข้ามา “สนับสนุน” ให้สิ่งที่ทำอยู่ไปได้ดี “สร้าง” สิ่งที่ไม่มีให้มี และ”เสริม” สิ่งที่มีอยู่และต่อยอด เพราะในฐานะพ่อแม่ก็อยากให้ลูกเราได้รับการดูแลที่ดี โรงเรียนถือเป็นสถาบันหลังที่ 2 ที่ลูกใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนนานถึง 7-8 ชั่วโมง ส่วนตัวเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากับตัวว่าลูกทั้ง 2 คนของตนได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างไร จากการที่โรงเรียนของลูกได้ร่วมเป็นเครือข่ายสุขภาวะ ทั้งการอ่านออกเขียนได้ ผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้นรศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์


รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ อดีตอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ได้เข้ามาร่วมโครงการโรงเรียนสุขภาวะในครั้งนี้ ได้เห็นกิจกรรมที่โรงเรียนต่างๆ รู้สึกประทับใจและเชื่อว่าจะนำไปสู่การถอดบทเรียน เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดได้ จากที่ได้ชมนิทรรศการแสดงผลงานของกลุ่มโรงเรียนสุขภาวะพบว่าทั้ง 15 เครือข่ายโรงเรียนต่างๆ ครูมีการจัดทำแผนการสอนเชิงรุก โดยเฉพาะได้มีการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสุขภาวะจำนวนมาก มีหลายหลักสูตรที่น่าสนใจ เช่น วิชาอัลกุรอานนำชีวิตพิชิตสู่สุขภาวะ, วิชาดูอาอ์ ของเครือข่ายสีสาคร ,วิชาโภชนาการดีชีวีมีสุข ของเครือข่ายโรงเรียนซาเบง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ซึ่งก็น่ายินดีเช่นกันว่าในพื้นที่ได้มีการพัฒนา หากลวิธีมาร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังเช่นที่เครือข่ายลาโล๊ะ ดำเนินการจัดอบรมเด็ก ป.1 ถึง 350 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ขอฝากให้ทุกฝ่ายร่วมกันสร้างสรรค์องค์ความรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป


สุขภาวะ ไม่ได้มีความหมายแค่เรื่องของร่างกาย ที่ต้องมีความแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมจิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ การดูแลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่ทุกคน ทุกศาสนาต้องปฏิบัติ โดยสามารถนำไปคิดกิจกรรมเพื่อสอดแทรก และส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนได้

Shares:
QR Code :
QR Code