สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย ร่วมกับมูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ แก้ปัญหาสิ่งของส่งเสริมบุหรี่

สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย(สสท.) มูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดแถลงข่าวเรื่อง “สิ่งของเพื่อส่งเสริมบุหรี่ มีขายเกลื่อนกรุง หวั่นเด็กไทยเป็นนักสูบเพิ่ม” จากสถานการณ์การบริโภคยาสูบของคนไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 

“สินค้าประเภท cpi คือสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์บุหรี่ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม เรียกว่าสิ่งของส่งเสริมบุหรี่ โดยเกิดขึ้นจากบริษัทบุหรี่ที่ผลิตเอง หรือเกิดจากผู้ขาย เพื่อให้ประชาชนหาซื้อได้ง่าย ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย กฎหมายควบคุมยาสูบในประเทศไทยโดยมีการบัญญัติไว้แน่ชัดใน มาตรา 8 แล้วว่า “ห้ามมิให้ผู้ใด   โฆษณาผลิตภัณฑยาสูบ  ซึ่งมีความครอบคลุมมากและใกลเคียงกับคําวา การสงเสริมการตลาด หรือเครื่องหมายของผลิตภัณฑยาสูบ ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่ใชในการโฆษณาได หรือใช้เครื่องหมายของผลิตภิณฑ์ ยาสูบในการแสดงการแขงขัน การใหบริการ หรือการประกอบกิจกรรมอื่นใดๆ ที่มีวัตถุประสงคใหสาธารณชนเขาใจวาเปนชื่อ/เครื่องหมายของผลิตภัณฑยาสูบ” นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก 2550- 2551 กล่าว

เมื่อเร็วๆนี้  สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย(สสท.) มูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดแถลงข่าวเรื่อง “สิ่งของเพื่อส่งเสริมบุหรี่ มีขายเกลื่อนกรุง หวั่นเด็กไทยเป็นนักสูบเพิ่ม” จากสถานการณ์การบริโภคยาสูบของคนไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์การบริโภคยาสูบเริ่มทรงตัว แต่กลับพบอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-18 ปี จากปี2544 อยู่ที่ 6.44% เพิ่มเป็น 7.62% ในปี 2552 และกลุ่มอายุ 19- 24 ปี จากปี 2547 อยู่ที่ 20.9% เพิ่มขึ้นเป็น 22.1% ในปี 2552   ทั้งนี้ พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้อัตราการสูบบุหรี่ในเยาวชนเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการจำหน่ายจ่ายแจกสิ่งของต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์ของตราสินค้าบุหรี่  (cigarette promoting items : cpi) เช่น ไฟแช็ค เสื้อ หมวก

นพ.หทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เยาวชนในปัจจุบันซื้อ หรือมีสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ของยี่ห้อบุหรี่ไว้ในครอบครองจะมีแนวโน้มเป็นนักสูบหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น มากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่มีสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ของยี่ห้อบุหรี่ ในหลายๆประเทศ ออกกฎห้ามมิให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ของบุหรี่อย่างสิ้นเชิง โดยประเทศไทยมีกฎหมายที่ครอบคลุมเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว ในมาตรา 8 แต่ขาดการบังคับใช้ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ควรมีการแนะนำประชาชน เยาวชน และพ่อค้า แม่ค้า ที่จำหน่ายและผลิตสินค้าต่าง ๆ แต่นำตราสัญลักษณ์ของบริษัทบุหรี่มาใช้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะปล่อยเรื่องนี้มานานแล้ว จนสินค้าเหล่านี้เข้ามาอยู่ในตลาดมากขึ้น ถ้าไม่ดำเนินการปริมาณของสินค้าเหล่านี้ก็จะมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น และกระทบต่อเยาวชนด้วย

ด้าน รศ.ดร. วันเพ็ญ  แก้วปาน นักวิจัยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลการวิจัย เรื่อง สิ่งของที่ส่งเสริมการขายบุหรี่ ว่า คณะวิจัยได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจสิ่งของที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่วางจำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือน ม.ค.–ก.พ. 2554  บริเวณที่พบได้แก่ ร้านค้า หาบเร่แผงลอย ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป รวม 15 จุดได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประตูน้ำ สยามมาบุญครอง สีลม สุขุมวิท จตุจักร ถนนข้าวสาร คิงเพาเวอร์ เซ็นทรัล   สำเพ็ง คลองถม เยาวราช เขตบางแค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และสะพานพุทธ พบสินค้าที่มีตราผลิตภัณฑ์ยาสูบ  มี 9 ชนิด คือ  เสื้อยืด ที่จุดบุหรี่ กล่องใส่บุหรี่ หมวกสติกเกอร์ เสื้อแจ๊กเกต พวงกุญแจ แผ่นแม่เหล็ก แม็กเนท และ 3d puzzle โดยเป็นสินค้าประเภทที่ไม่ได้ทำโดยบริษัทผู้ผลิตยาสูบโดยสินค้าที่พบมากที่สุดคือที่จุดบุหรี่ และกล่องใส่บุหรี่ และตราสัญลักษณ์ที่พบเป็นบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศโดยพวงกุญแจ และแม็กเนทเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย

นักวิจัยศูนย์วิจัย กล่าวอีกว่า จากการสัมภาษณ์ผู้ขายพบว่าส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสินค้าส่งเสริมบุหรี่เหล่านี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังพบสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์เพื่อการโฆษณาส่งเสริมการขายที่บริษัทผู้ผลิตยาสูบ เป็นผู้ผลิตและนำมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ค้าปลีกซึ่งมีอยู่กว่า 500,000 ร้านทั่วประเทศด้วย เช่น นาฬิกาติดผนังร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะติดอยู่ในร้านค้าปลีกและง่ายต่อการที่ผู้บริโภคจะมองเห็น

ส่วน รศ.ดร. เนาวรัตน์  เจริญค้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  บอกว่า มาตรการควบคุมสิ่งของเพื่อการส่งเสริมการขายบุหรี่ สามารถทำได้ คือ 1. ให้ความรู้แก่ผู้ขาย และปราบปรามด้วยการใช้กฎหมายเนื่องจากผู้ขายไม่ทราบว่าสินค้าของตนผิดกฎหมาย 2. การบังคับใช้กฎหมายโดยตรวจตราและตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร และ 3. การจับกุมและปรับ ตามความผิด พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 8 มีโทษสูงสุดคือ ปรับไม่เกินสองแสนบาท

 

นอกจากส่วนของหน่วยงานภาครัฐที่จะช่วยกันในการลดปริมาณการสูบของเยาวชนแล้ว เรื่องของการนำสมุนไพรมาช่วยในการเลิกบุหรี่นั้นก็มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือภาครัฐได้อีกส่วนด้วย ดร.ทพญ..ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้มีการนำสมุนไพรหญ้าดอกขาวมาพัฒนาในงานวิจัย จะช่วยในการเลิกบุหรี่ บอกว่า  ในการช่วยเหลือคนที่จะเลิกบุหรี่นั้น ส่วนของดอกหญ้าขาวจะช่วยได้ 10 -15 % แตกต่างจากคนที่ให้คำแนะนำธรรมดา เพราะหญ้าดอกขาวนี้มีส่วนประสมของมีนิโคตินอ่อนๆจะช่วยในการทดแทน แล้วมีเซลออกซิแลนทดแทน จะทำให้ลดบุหรี่ในระยะยาวได้ดีกว่ายา วิธีการนี้เป็นการบำบัดบุหรี่โดยตรง ในการลดหรือเลิกบุหรี่ เหตุผลของคนเลิกบุหรี่ไม่ได้เพิ่มขึ้น คนที่อยากเลิกบุหรี่จริงๆ มีไม่มากปัจจัยในการจะเลิกบุหรี่ เช่น บุหรี่ถูกลง หาซื้อง่าย ถ้าไม่มีปัจจัยให้เลิกก็เลิกยาก

ในปัจจุบันบุหรี่ได้เข้ามามีส่วนสำคัญกับทุกคนแล้ว เพราะบุหรี่มีแต่โทษ ทั้งการทำลายสุขภาพ เสียเงินเพิ่มขึ้น ถึงเวลาที่จะช่วยกันทำให้ “บุหรี่” ลดลง หรือหายไปจากสังคมเลยก็ว่าได้

 

 

 

ที่มา : ปิยวรรณ นาทุ่งนุ้ย team content www.thaihealth.or.th

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code