สถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย
ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก เปิดรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนไทย
ล่าสุด ศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกและโรงพยาบาลขอนแก่น คณะทำงานสนับสนุนแผนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด (สอจร.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย มูลนิธิไทยโรดส์ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนไทย พ.ศ. 2555
คุณหมอวิทยา ชาติบัญชาชัย ศูนย์ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุประจำประเทศไทย กล่าวแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นการสรุปผลการดำเนินงานใน 5 ปีของทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน และช่วงที่สอง เป็นรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย พ.ศ. 2555 มีรายละเอียดดังนี้
ช่วงรายงานจากองค์การอนามัยโลก ใน 195 ประเทศที่เข้าร่วมกับองค์การอนามัยโลกและองค์การสหประชาชาติ มี 88 ประเทศพยายามลดการตายจากอุบัติเหตุแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ ครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเป็นคนเดินเท้า ขี่จักรยาน และคนขี่มอเตอร์ไซค์ ประเทศที่มีรายได้สูงมีผู้เสียชีวิตเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ แต่ระดับปานกลางมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนลดลง ใน 5 ปีแรกของทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน กลุ่มที่มีความสูญเสียและการเสียชีวิตส่วนใหญ่ เกิดกับประเทศรายได้ปานกลาง อย่างประเทศไทย มีการซื้อมอเตอร์ไซค์ใช้ในเมืองไทยมากที่สุดในโลก มีถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้มอเตอร์ไซค์ ถ้ารวมคนเดินถนนกับคนขี่จักรยานเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นกลุ่มของคนใช้ถนนที่เสี่ยงอันตรายมากที่สุดในโลก
28 ประเทศที่มีกฎหมายบังคับเมาแล้วขับ-สวมหมวกนิรภัยจำกัดความเร็ว-คาดเข็มขัดนิรภัย-การใช้เบาะที่นั่งสำหรับเด็ก 35 ประเทศที่ผ่านกฎหมายจราจร แต่เพียง 7 เปอร์เซ็นต์ที่ออกกฎหมายมาได้ครอบคลุมปัจจัยความเสี่ยงทั้ง 5 อย่าง 59 ประเทศ มีกฎหมายจำกัดความเร็วและบังคับใช้ ไทยอยู่ในกลุ่มที่ยังบังคับใช้ไม่เต็มที่ 89 ประเทศ มีกฎหมายห้ามดื่มแล้วขับ ไทยแม้จะวัดระดับแอลกอฮอล์ แต่ยังถือว่าน้อยมาก 90 ประเทศบังคับใช้หมวกนิรภัย ไทยบังคับใช้กฎหมายและต้องเป็นหมวกที่ได้มาตรฐานด้วย
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต