สงกรานค์ปลอดภัย เมื่อไร้ “เหล้า”
ขาย…ไม่ขาย…ขาย…ไม่ขาย… รีๆ รอๆ อยู่นาน ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปสำหรับเรื่อง “ห้ามขายเหล้าในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์” โดยมีมติออกมาแล้วว่า สามารถจำหน่ายสุราในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้ตามที่กฎหมายกำหนดเหมือนเดิม เหตุผลเพราะกลัวจะกระทบต่อการท่องเที่ยว ยิ่งในช่วงนั้น มีชาวต่างชาติไหลเวียนกันเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศที่เย็นชุ่มฉ่ำของบ้านเราเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศเรากำลังแย่ การให้ขายสุราเหมือนปกติจึงเป็นคำตอบสุดท้ายที่คณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีเลือก
และแล้วทุกอย่างก็กลับมาที่จุดเริ่มต้น!!! หลายหน่วยงานต่างยังคงต้องกลับไปตั้งหน้าตั้งตาทำงานหนักเหมือนเคยเพื่อหวังลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่มีสาเหตุมาจากการเมาแล้วขับ ด้วยการรณรงค์เมาไม่ขับผ่านสื่อ การตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ ไปจนถึงบทลงโทษจับ-ปรับ-คุมประพฤติ เพราะจากรายงานตัวเลขข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 51 หรือ 7 วันอันตรายของศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นถึงจำนวน 4,243 ครั้ง พบผู้เสียชีวิต 368 ราย ซึ่งมากกว่าปี 50 ถึง 7 ราย
จากยอดตัวเลขของการสูญเสีย!!! นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็น ดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว นอกจากนี้ยังรวมถึงง่วงแล้วขับ หลับในก็เป็นสาเหตุสำคัญ ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ในช่วงสงกรานต์ พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงที่สุดคือ “การเมาแล้วขับ” สูงถึงร้อยละ 39.56 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด
นี่มิใช่ปัญหาเดียว!!!!!
นอกจากปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากฤทธิ์ของ “เหล้า” แล้ว ปัญหาความรุนแรงก็ไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะวิวาท ชกต่อย ตบตี ไปจนถึงไล่ยิงกันกลางถนนแบบไม่เกรงกลัวกฎหมาย รวมทั้งการถูกลวนลามในหมู่วัยรุ่นหญิงสาวจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ที่ฉวยโอกาสใช้เทศกาลอันดีงามของไทยนี้ เป็นเครื่องมือที่จะถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่พากันออกมาเล่นสาดน้ำ ปะแป้งในวันสงกรานต์ ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจาก “เหล้า” เป็นส่วนใหญ่ เพราะเมื่อเหล้าเข้าปากแล้ว คนเราจะแสดงพฤติกรรมโดยขาดสติยั้งคิด กล้า และไม่เกรงกลัว ถึงแม้จะไม่เมาจนขาดสติ
แต่จะโทษฝ่ายเดียวก็ไม่ถูก!!! หากจะพูดแต่ว่าผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นต้นเหตุปัญหาความรุนแรงมันก็ถูก แต่เหล่าบรรดาวัยรุ่นสาวสวยทั้งหลายที่ออกมาเล่นสาดน้ำสงกรานต์ก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังตนเองให้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการแต่งกาย เพราะในปัจจุบันที่พบเห็น กลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวหันมานุ่งน้อยห่มน้อย โชว์เรือนร่างตามค่านิยมที่เปลี่ยนไป เพราะมันอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะเป็นตัวยั่วยุให้เกิดความรุนแรงต่อผู้หญิงได้
เพราะจากข้อมูลพบว่าผู้ที่ดื่มเหล้าจนเมากว่า 45.3% เมาแล้วก่อคดีความผิดเกี่ยวกับเพศและข่มขืนกระทำชำเรา 20.8% เมาแล้วกระทำความผิดต่อร่างกายผู้อื่น และอีก 16.1% เมาแล้วก่อคดีบุกรุกผู้หญิง ซึ่งหากมองดูแล้วถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจเป็นอย่างมากและอันตรายต่อผู้หญิง
ทางออกที่ดีที่สุด!!!
เมื่อ “เหล้า” เป็นต้นตอตัวร้ายของทุกปัญหา แถมกฎหมายดีๆ ที่จะช่วยลดอุบัติเหตุ อย่างการห้ามขายเหล้าก็ยังไม่สามารถผุดออกมาได้ ที่พึ่งเดียวสุดท้าย!!! ก็คือ “ตัวเราเอง” ที่จะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางในช่วงเทศกาลให้มากขึ้นและที่สำคัญต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ตั้งสติก่อนสตาร์ท ยิ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน การจราจรล้นถนน แถมยังมีการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอีกแล้วด้วย ก็จะยิ่งอันตรายและสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าช่วงอื่นๆ
เทศกาลสงกรานต์เป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่เปี่ยมล้นไปด้วยศิลปวัฒนธรรมไทยเดิมๆ ประเพณีอันดีงามที่น่าอนุรักษ์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การสรงน้ำพระ หรือแม้แต่กระทั่งการเล่นสาดน้ำของวัยรุ่นหนุ่มสาว คงไม่มีใครอยากให้การสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเกิดขึ้นกับครอบครัวของเรา
ถึงเวลาแล้วหรือยัง!!! ที่เราจะ หยุด! ดื่มเหล้าในช่วงเทศกาลเพื่อลดการสูญเสีย อีกทั้งยังส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี แข็งแรงอีกด้วย
ที่มา : ณัฐภัทร ตุ้มภู่ Team content www.thaihealth.or.th
Update : 06-04-51
อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฐภัทร ตุ้มภู่
รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ๒๕๕๑
|
|||
การเกิดอุบัติเหตุ (ครั้ง)
|
ผู้เสียชีวิต (คน)
|
ผู้บาดเจ็บ (คน)
|
|
๔๗๗
|
๔๕
|
๕๕๗
|
|
๗๔๓
|
๕๙
|
๘๕๔
|
|
๑,๐๑๘
|
๗๔
|
๑,๑๐๓
|
|
๗๑๑
|
๔๙
|
๘๐๑
|
|
๕๘๘
|
๔๗
|
๖๗๗
|
|
๔๑๘
|
๔๘
|
๔๙๒
|
|
๒๘๘
|
๔๔
|
๓๑๙
|
|
๔,๒๔๓
|
๓๖๘
|
๔,๘๐๓
|
ที่มา : ศปถ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย