‘ศูนย์เด็กเล็ก’ พื้นที่ชีวิตผลิตคนคุณภาพ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.)เป็นภารกิจอีกด้านขององค์กรบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างให้เด็กเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าหากได้พัฒนาการของมนุษย์ในช่วง 0-5 ขวบ ได้ตามหลักวิชาการ จะได้ผลตอบแทนของผลิตผลคนคุณภาพได้ 7 เท่า  ไม่ว่าทักษะที่ดีขึ้น การเรียน  รวมถึงการเจ็บป่วยที่ลดลงเมื่อสูงวัย


'ศูนย์เด็กเล็ก' พื้นที่ชีวิตผลิตคนคุณภาพ thaihealth


แฟ้มภาพ


ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศมี 20,000 แห่ง ต้องยอมรับบางแห่งครูขาดทักษะการสร้างสื่อคุณภาพ ขาดความรู้และทักษะในการสร้างสื่อ


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ ริเริ่มโครงการ "มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก"  มาแล้ว 2 ปี  เกิดจากความร่วมมือของสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัต กรรม และ สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. โดย กลุ่มแผนงานสื่อสร้างสรรค์ สนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า 220 ศูนย์ ได้ใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้าง สรรค์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เกิดสุขภาวะในทุกมิติ


ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  กล่าวว่า มีข้อมูลการสำรวจประเมินคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) จากองค์การยูนิเซฟ กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พบว่ามีเพียงร้อยละ 67 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ สสส. จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเปิดโอกาสให้ครู ศพด. ที่สมัครเข้ามาร่วมโครงการจำนวน 220 ศูนย์ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร และภาคีเครือข่าย สสส. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย


'ศูนย์เด็กเล็ก' พื้นที่ชีวิตผลิตคนคุณภาพ thaihealth"ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่สำคัญในการดูแลและพัฒนาเด็กช่วงวัย 2-5 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิต"


ทั้งนี้ศูนย์เด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. ขณะเดียวกันครูต้องเข้ามาอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้ยุทธศาสตร์ จะทำให้ครูผู้เข้าอบรมได้เข้าใจกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาสุขภาวะเด็กอย่างรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ ผ่านวิถีอาหารและการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน การเล่น และศิลปะ ต่าง ๆ อาทิ ดนตรี งานวาด งานปั้น


นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน  กล่าวว่า โครงการฯ ยังได้ยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ร่วมโครงการในปีที่ 1 จำนวน 21 ศูนย์ ให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ นอกจากนี้ยังเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูในโครงการฯ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook : มหัศจรรย์ ศพด."


นางจิดาภา นวมนิ่ม หรือ "ครูอ้วน" ครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอด ต.หนองกระปุก จ.เพชรบุรี  บอกเล่าการทำงานหลังเข้าร่วมโครงการ 1 ปีว่า ได้เรียนรู้การทำงาน ทั้งเรื่องการสร้างแบบแปลน รวมทั้งการปรับปรุงศูนย์เด็กเล็กเดิม ต้องมีศูนย์น้ำ ศูนย์ทราย การลอด การปีน ในลานของเล่นต้องมีอุปกรณ์พัฒนากิจกรรมทางกาย รูปแบบการทำงานของศูนย์เด็กเล็ก ในโครงการ เริ่มต้นจากครูเป็นผู้ริเริ่มออก ไอเดียจากนั้นผ่านคณะกรรมการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้ปกครอง มาร่วมกันสร้างทำให้งบประมาณที่ใช้ไม่สูงมาก บางครั้งอุปกรณ์เช่นยางรถยนต์ได้รับบริจาค


ครูอ้วนบอกว่า ศูนย์เด็กเล็กที่ได้ รับการออกแบบอย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดประโยชน์มาก เด็ก 2 ขวบ ที่เข้ามาผ่านไปเดือนครึ่งมีพัฒนาการที่ชัดเจนมาก เด็กที่เข้ามาใหม่ครูจะพาให้เขากระโดดในห่วงยาง ปีนป่าย เล่นทราย ภายในลานเล่นกลางแจ้งจะสสับสับเปลี่ยนให้เด็กได้เล่นครบไม่ว่าจะเป็นศูนย์ทราย ปีนป่าย กระโดด เพื่อให้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ของเด็กแข็งแรง


"ลานเล่นทำให้เด็กรู้จัการเล่นร่วมกัน ไม่แย่งของเล่น ฝึกความอดทน ทำให้เด็กรู้จักการรอคอย" ครูอ้วนบอกเล่าศูนย์เด็กเล็กคือโรงเรียนแห่งแรกของลูกน้อยที่จะบ่มเพาะประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในท้องถิ่น…ลำพังแค่ครูคงจัดการไม่ได้ทั้งหมด ชุมชนต้องร่วมด้วยช่วยอีกแรง.


จะหาสารใดในโลกทดแทนนมแม่ไม่มี


มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยใช้ความพยายามมาตลอดสิบกว่าปีส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องให้เด็กไทยได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยจนกระทั่งครบ 2 ขวบ


เมื่อต้นเดือนกันยายน 58 ที่ผ่านมา มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 5 ขึ้น ภายใต้แนวคิด "ภาคีร่วมใจ ช่วยแม่ไทย ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่" ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรมสวัสดิ การและคุ้มครองแรง งาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณ สุข ยูนิเซฟ และ Alive and Thrive


นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ประธานที่ปรึกษาปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องนมแม่มีผลต่อพัฒนาการในเด็กเล็ก ว่า สมองเป็นอวัยวะที่ถูกสร้างด้วยยีนและพันธุกรรม และไม่ได้สมบูรณ์เมื่อออกจากท้องแม่ เป็นอวัยวะที่ต้องตกแต่ง ช่วงที่เราสามารถตกแต่งสมองเด็กได้นั้นคือช่วงอายุ 0-5 ขวบ เท่านั้น ประสบการณ์เริ่มแรก (early experience) ถือว่าเป็นช่วงที่สมองจดจำ ถ้ามีประสบการณ์ที่ดี ชีวิตเด็กก็จะมีช่วงเวลาที่ดี'ศูนย์เด็กเล็ก' พื้นที่ชีวิตผลิตคนคุณภาพ thaihealth


"นมแม่" มีฮอร์โมนที่เรียกว่า Oxytocin หลั่งสารความรัก ความไว้เนื้อเชื่อใจในระหว่างที่ลูกกินนมแม่ ไม่มีสารใดมาทดแทนตัวนี้ได้ อีกทั้งเด็กที่กินนมแม่จะทำให้ไอคิวสูงขึ้น  กินนมแม่ระยะ 3 เดือน ไอคิวเพิ่มมากกว่าเด็กที่กินนมผสม 2.1 เท่า กินนมแม่ระยะ 4-6 เดือนจะให้ไอคิวสูงขึ้น 2.8 จุด ส่วนให้เกินระยะ 6 เดือน ไอคิวสูงขึ้น 3.8 จุด และนมแม่ยังมีโอเมก้า 3, แลกโตส, กลูโคส, กาแลคโตส, น้ำย่อยไขมัน, DHA, Gangliosides, กรดไซอาลิก, คอลีน, โปรตีนเวย์, กรดอามิโนทอริน, คาร์นิทิน ฯลฯ สารอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการพัฒนาของสมอง ซึ่งนมผงไม่สามารถมาทดแทนได้


สำหรับเป้าหมายของสัปดาห์นมแม่โลกในปี 2558 นี้คือ 1 จุดประกายให้ทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมแม่ทำงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ขับเคลื่อนให้มีการบังคับใช้กฎหมายลาคลอด ส่งเสริมให้นายจ้าง จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมสนับสนุนให้แรงงานหญิงนอกระบบ สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้


นอกจากนี้จะเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก โดยร่วมกับกรมอนามัย เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนว่า ในนมผงมีสารอาหารที่เหมือนนมแม่เพียงแค่ 20% เท่านั้น แต่โฆษณาทำให้ดูเกินจริง ซึ่งนมผงไม่มีสารอาหารที่สามารถมาทดแทนนมแม่ได้เลย


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Shares:
QR Code :
QR Code