ศูนย์พัฒนาครอบครัวสร้างชุมชนเข้มแข็ง

          /data/content/26242/cms/e_bcegjksuwy39.jpg


         การพัฒนา 'ครอบครัว' ต้องอาศัยทุกส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมภาครัฐมีหน้าที่กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านครอบครัว ส่วนภาคีเครือข่ายในระดับท้องถิ่นทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญนำนโยบายไป ขับเคลื่อน เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาร่วมกับคนในชุมชน


          โครงการพัฒนากลไกการทำงานด้านครอบครัว ในชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน "ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนสร้างสุข : นวัตกรรมครอบครัวอบอุ่นในท้องถิ่น" ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ


          งานนี้เน้นให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน และพัฒนากลไกการทำงานด้านครอบครัวในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ที่เข้มแข็ง เป็นหน่วยงานพื้นฐานดูแลช่วยเหลือครอบครัวในชุมชนได้


          นายอภิชาติ อภิชาตบุตรรองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม. กล่าวว่า สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ร่วมกับ สสส.เริ่มดำเนินโครงการนี้มา 2 ปีตั้งแต่เดือนส.ค.2555-ส.ค.2557 ในพื้นที่ ศพค. 300 แห่ง ทั่วประเทศ โดยตลอดทั้งโครงการมีการ ส่งเสริมองค์ความรู้ การใช้ข้อมูลในพื้นที่ และพัฒนาทักษะที่จำเป็น


          การทำงานนั้นคณะทำงาน ศพค.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเป้าหมายให้ ศพค.แก้ไขปัญหาครอบครัวในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีความเข้มแข็ง และเป็นศูนย์กลางคุ้มครอง ฟื้นฟู เยียว ยา และส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบ ครัวอย่างเป็นระบบ


          "การจัดงานในครั้งนี้จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน โดยเฉพาะกลไกในระดับท้องถิ่นที่ทำงานใกล้ชิดกับครอบครัว ผ่านการนำเสนอผลงานจากการทำงานในพื้นที่ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านครอบครัว ให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานของพื้นที่


/data/content/26242/cms/e_fhilmpuwy256.jpg


ตัวอย่างนำไปประยุกต์ใช้ ในพื้นที่ตัวเอง ตลอดจนสร้างเครือข่าย การทำงานด้านครอบครัวให้ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป"


          นายอภิชาติกล่าวด้วยว่า จุดสำคัญที่สุดของการประสบความสำเร็จขององค์กร ท้องถิ่น คือการสนับสนุนชุมชนให้เข้มแข็ง เช่น ถ้าตำบลหนึ่งมี 10 หมู่บ้าน และใน 10 หมู่บ้านมีผู้นำ มีมวลชนที่เข้มแข็ง ย่อมส่งผลให้ท้องถิ่นนั้นมีทรัพยากรมนุษย์ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ท้องถิ่นจึงต้องค้นหาผู้นำของชุมชน ซึ่งผู้นำเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ไม่ว่าท้องถิ่นจะมีนโยบายเรื่องใด คนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญถ่ายทอดไปสู่คนอื่นๆ ในหมู่บ้าน


          ด้าน นางมธุรส ชีช้าง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว สค. บอกว่า การจัดงานในครั้งนี้ สค.ร่วมกับสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ศูนย์การเรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง 7 จังหวัด และทีมวิทยากรด้านครอบครัวระดับจังหวัด 11 จังหวัด คัดเลือกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจาก 300 แห่ง เพื่อเข้ารับรางวัล "ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนสร้างสุข ประจำปี 2557" จำนวน 40 แห่ง และจัดบูธนิทรรศการแสดงผลงานของ ศพค. 45 แห่ง และมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการถอดบทเรียนการทำงานของ ศพค.


          เกณฑ์การประเมินพื้นฐานได้แก่ ศพค. ที่ผ่านมาตรฐาน 5 ข้อ คือ


          1.สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาครอบครัว


          2.จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอย่างต่อเนื่อง


          3.ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านครอบครัว


          4.ถ่ายทอดความรู้ด้านครอบครัวและ 5.ประสานความร่วมมือระหว่าง ศพค.กับหน่วยงานต่างๆ


          ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อรับรางวัลนั้น จะต้องมีผลดำเนินงานของศพค. ที่ส่งผลให้ครอบครัวในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีโครงสร้าง การทำงานที่ชัดเจน และทำงานบนฐานข้อมูลชุมชน


          นายสมพร เหลาคม รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล เมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ หนึ่งในผู้เข้ารับรางวัลศูนย์พัฒนา ครอบครัวในชุมชนสร้างสุข ประจำปี 2557 จากศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลเมืองแก อ.ท่าตูม/data/content/26242/cms/e_cdhknqrsvy46.jpg จ.สุรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาภายในตำบลเมืองแกได้ทำโครงการหลายโครงการ เช่น โครงการสานสัมพันธ์ในครอบครัว ทำเรื่องครอบครัวเข้มแข็ง โดยทั้ง 19 หมู่บ้านใน ต.เมืองแก พบปัญหาจากการดื่มสุรา จึงมีแนวคิดว่าควรจะหาแนวทางให้งานบุญประเพณี งานศพ และงานต่างๆ ปลอดเหล้า ซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถทำให้ 19 หมู่บ้าน ทั้งตำบลเมืองแก ปลอดเหล้าได้ทั้งหมด


          "การทำงานจะดึงครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ครูสอนพ่อ พ่อสอนลูก หรือครูนำปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้กับครอบครัวนักเรียน เกี่ยวกับการทำงานฝีมือต่างๆ เช่น การทำบายศรี การทำน้ำยาล้างจานปลอดสารเคมีด้วยตัวเอง หรือการทำสานพัดจากวัสดุธรรมชาติ การทำงานดังกล่าวประสบความสำเร็จ ทำให้ครอบครัวเกิดความรักความสามัคคี และเกิดความเข้มแข็ง และทำให้พัฒนาโครงการออกมาเรื่อยๆ เช่น โครงการตลาดต้นสัก ซึ่งเป็นตลาดสีเขียวตำบลเมืองแก จะมีผักปลอดสารพิษ อาหารปลอดภัย ที่ใส่ใจสุขภาพ นำมาจำหน่ายภายในชุมชน สร้างรายได้ให้กับครอบครัว" นายสมพรกล่าว


          การจัดงานในครั้งนี้จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตัวเอง และสร้างเครือข่ายการทำงานด้านครอบครัวให้ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด โดย ศิวพร อ่องศรี

Shares:
QR Code :
QR Code