วิทยาศาสตร์ กับ การสร้างเสริมสุขภาวะ
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
ภาพประกอบจากเว็บไซต์องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
ถือเป็นข่าวดีสุดยอดอีกข่าวหนึ่งเมื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงนามความร่วมมือกับทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสร้างเสริมสุขภาวะ พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน พัฒนาคุณภาพทักษะ สร้าง แรงบันดาลใจสู่ชีวิตสุขภาวะ ซึ่งสุดท้ายผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับคนไทยทุกคน
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท ผู้จัดการ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับทาง อพวช. เป็นการร่วมกันเผยแพร่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มาสนับสนุนสุขภาวะของคนในสังคมไทย ด้วยวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ รองรับการเกิดโรคภัยไข้เจ็บยุคใหม่ พร้อมกับเป็นการจุดประกาย กระตุ้น เสริมพลังของบุคคล และองค์กรทุกภาคส่วนให้มีขีดความสามารถ และสร้างสรรค์สังคม สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งสุขภาพในที่นี้ ไม่ใช่เพียงเรื่องโรค ร่างกายเท่านั้น แต่ต้อง สมบูรณ์ทั้งทางจิต ปัญญา และสังคมด้วย
สำหรับภารกิจ ที่ สสส. และ อพวช. จะทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุภารกิจ จะเน้นไปที่ 3 แนวทาง คือ 1.ร่วมกันพัฒนาและการจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านการเรียนรู้แก่เยาวชน และประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ 2.สนับสนุน ข้อมูล และการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ ทักษะของบุคลากรด้านการจัดการแหล่งเรียนรู้ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และการสร้างเสริมสุขภาวะ และ 3.สนับสนุน ส่งเสริมการจัดกิจกรรม นิทรรศการและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และการสร้างเสริมสุขภาพแก่เยาวชนและประชาชน
ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ ผู้อำนวยการ อพวช. เปิดเผยว่า การลงนามครั้งนี้ จะทำให้ สสส. และ อพวช. ร่วมกันจัดกิจกรรม นิทรรศการ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การขยายโอกาส และเกิดประโยชน์ให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ข้อมูล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสุขภาวะ ไปใช้ในการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม โดยในปีนี้ สสส. ได้นำนิทรรศการชุด "ตะลุย อ้วนลงพุง" มาร่วมจัดแสดงกับคาราวานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดต่างๆ รวมถึงการนำนิทรรศการร่วมจัดแสดงไปกับคาราวานวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
มีตัวอย่าง ในการจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นที่ประทับไทยของผู้เข้าชม จากนิทรรศการ "นักสืบจราจร" ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2561 ซึ่งตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นการรณรงค์ให้เยาวชน และประชาชนเห็นความสำคัญของการสัญจร ทางท้องถนนอย่างปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว จาก ด.ญ.รมิดา ภวเวช และ คุณแม่วรรณภา ภวเวช 2 แม่ลูกที่ได้เข้าร่วม กิจกรรมในนิทรรศการ "นักสืบจราจร"
โดย คุณแม่ วรรณภา ภวเวช เล่าว่า นักสืบจราจรเป็นนิทรรศการแรกที่ได้เลือกเข้าร่วมทำกิจกรรม เพราะนิทรรศการมีความโดดเด่นน่าสนใจ เพราะเห็นว่า เรื่องจราจรเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน หากลูกได้เรียนรู้จะทำให้เขาเข้าใจการจราจร และรู้หลักในการปฏิบัติมากขึ้น ซึ่งลูกได้เรียนรู้ การข้ามถนน สัญญาณไฟจราจรต่างๆ การใช้รถใช้ถนนอย่างมีน้ำใจ เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน และส่งเสริม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
ส่วนความประทับใจของ ด.ญ.รมิดา ภวเวช ผู้เป็นลูก กล่าวว่า หนูชอบทุกกิจกรรมที่พี่ๆ เขาจัดขึ้น โดยเฉพาะการเป็นนักสืบค้นหาผู้เสียชีวิตที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ไม่ข้ามถนน บนทางม้าลายสะพานลอย หรือการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ทำให้ได้ความรู้เยอะมาก และเป็นเรื่องที่เราสามารถนำไปบอกต่อเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้ และอีกกิจกรรมหนึ่งที่หนูชอบมากๆ คือกิจกรรมตอบคำถามเพื่อชิงรางวัล ที่ทำให้เด็กเกิดความกระตือรื้อร้น และเข้าใจการใช้รถใช้ถนน การจราจร และการดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี
จากความสำเร็จในงาน นักสืบจราจร ทำให้มั่นใจได้ว่า ความร่วมมือ ของ"สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)" และ "องคการพิพิธภัณฑวิทยาศาสตร แห่งชาติ (อพวช.) "ในครั้งนี้ น่าจับตามอง อย่างยิ่ง เมื่อวิชาการด้านวิทยาศาสตร ถูกจับมาประยุกตเข้ากับกิจกรรมสุขภาวะ ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ ในการพัฒนาคุณภาพทักษะ และสร้างแรงบันดาลใจ สู่ชีวิตสุขภาวะอย่างยั่งยืนตลอดไป