วิถีชีวิตประจำวันที่มีผลต่อหมอนรองกระดูก
ที่มา : หนังสือกระดูกสันหลังมันฟ้องว่าเจ็บ
แฟ้มภาพ
อาการปวดร้าว แปล๊บๆเวลาลุกนั่ง บ้างก็มีอาการขาชาอ่อนแรง คุณอาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง อย่าชะล่าใจเพราะอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกสันหลัง เคลื่อนส่วนเอวหรือภาวะช่องกระดูกสันแคบส่วนเอวได้
วิถีชีวิตประจำวันที่มีผลต่อหมอนรองกระดูก
1.ความอ้วนคน ที่มีน้ำหนักตัวมากจะมีแรงกระทำที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้ความดันโดยเฉลี่ยในหมอนรองกระดูกสันหลังในท่าทางต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2.ท้องผูก ภาวะท้องผูกทำให้เกิดแรงเบ่งและเพิ่มความดันภายในหมอนรองกระดูกส่วนเอวอย่างต่อเนื่อง เป็นกลไกในการทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนส่วนเอวเพิ่มสูงขึ้น
3.การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดการทำลายและการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกและมีผลกับการเกิดอาการภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนส่วนเอวได้เร็วขึ้นกว่าปกติ
4.นั่งกับพื้น การนั่งกับพื้นเป็นประจำในชีวิตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เพราะการลุกนั่งกับพื้นต้องก้มหลัง จึงไปเพิ่มแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังและเกิดภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้
5.ประกอบอาชีพ ที่ต้องก้มหลังยกของบ่อยๆ การก้มหลังยกของหนักเป็นประจำจะเกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวได้เร็วกว่าคนทั่วไปและมีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ ตามความแข็งแรงของหมอนรองกระดูกที่ลดลง อีกทั้งหากก้มผิดท่าก็จะมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกได้
6.อยู่ในที่มีฝุ่นมาก อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจและเกิดอาการไอเรื้อรังที่ทำให้ความดันภายในหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเพิ่มสูงขึ้น
7.การออกกำลังกายบางท่า เช่น การซิตอัพ การยกน้ำหนัก ฯลฯ
8.นั่งเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ การไม่เปลี่ยนท่าก็อาจเกิดแรงกระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังอย่างต่อเนื่อง
9.ทำงานในที่ที่มีการสั่นสะเทือนเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวลงเรื่อยๆ