วิชาชีพ“แพทย์” ต้องไม่มีปัญหาสุขภาพจิต!

ที่มา : เว็บไซต์คมชัดลึก


เส้นทางสู่...วิชาชีพ“แพทย์” ต้องไม่มีปัญหาสุขภาพจิต! thaihealth


แฟ้มภาพ


          จากนั้นสถาบันก็จะแก้ปัญหาด้วยการให้ไปเรียนสาขาอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ และได้รับปริญญาวุฒิการศึกษาไป ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่ใช่การรักษาชีวิตผู้คน หรือ บางทีก็เรียนจบไปเป็นแพทย์แล้วมีปัญหาสุขภาพจิตที่หลังก็เพิกถอนในอนุญาติวิชาชีพเวชกรรมได้ เช่นกัน เพราะไม่ว่าอย่างไร “คนที่เป็นแพทย์” ก็ต้องไม่มีปัญหาสุขภาพจิต ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นอันตรายกับชีวิตผู้คนได้


          ช็อค!สังคมไทยไม่น้อย กรณีมีการออกมาเปิดเผยว่ามีคนวางแผนให้สุนัขเสียชีวิตเพื่อเอาเงินประกัน ยิ่งช็อค!ซ้ำเมื่อผู้ที่ถูกกล่าวอ้างถึงเป็นนักศึกษาแพทย์(นศพ.)และช็อค!อีกครั้งเมื่อเป็นนศพ. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สิ่งที่สังคมตั้งคำถามอย่างมาก คือ ผู้ที่ถูกกล่าวอ้างมีปัญหาทางสุขภาพจิตหรือไม่ และคนที่จะเป็นแพทย์มีกระบวนการตรวจสอบสุขภาพจิตหรือไม่?


          “คมชัดลึก” ย้อนเส้นทางที่คนหนึ่งคนจะเป็นแพทย์ได้นั้น พบว่า ไม่ใช่แค่คะแนนสอบดีเยี่ยมเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย อันตรายต่อนิสิตแพทย์เอง อุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้


          เช่น มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (Psychotic Disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรคประสาทรุนแรง (Severe Neurotic Disorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial Personality Disorders หรือ Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม


          เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม


          มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว  ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40


          มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss)


          รวมทั้งโรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งนี้ อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณี ตรวจเพิ่มเติมได้


          ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา กรรมการแพทยสภา  กล่าวว่า ในอดีตถ้าหากมีการตรวจพบว่า “นิสิตแพทย์มีปัญหาสุขภาพจิต” ก็จะถูกคัดออกไปไม่มีสิทธิ์เรียนตั้งแต่ตอนสอบคัดเลือก แต่ก็อาจจะมีที่พอเรียนๆไปแล้วมีปัญหา “สุขภาพจิต” ที่หลังได้ เพราะบางทีคนเราก็อาจจะเจ็บป่วยในภายหลัง  ถ้าแบบนี้สถาบันก็จะแก้ปัญหาด้วยการให้ไปเรียนสาขาอื่นที่ไม่ใช้แพทย์ และได้รับปริญญาวุฒิการศึกษาไป ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่ใช่การรักษาชีวิตผู้คน หรือ บางทีก็เรียนจบไปเป็นแพทย์แล้วมีปัญหาสุขภาพจิตที่หลังก็เพิกถอนในอนุญาติได้ เช่นกัน เพราะไม่ว่าอย่างไร “คนที่เป็นแพทย์” ก็ต้องไม่มีปัญหาสุขภาพจิต ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นอันตรายกับชีวิตผู้คนได้


          “ในอดีตก็มีปัญหาบ้างแต่ไม่มากอาจจะมีปีละ 1-2 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแก้ปัญหาด้วยการเอาไปรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์ ซึ่งจะลงความเห็นว่า หายแล้ว กลับมาเรียนต่อสาขาเดิม หรือเรียนต่อในสาขาอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ได้ และได้วุฒิการศึกษาอื่นไป แต้ไม่ใช่แพทย์ ไม่มีสิทธิไปรักษาคนไข้ได้แบบนี้ก็มี เพราะถ้าให้ออกไปเลยก็จะโหดร้ายไปเพราะเรียนมาหลายปีและมีความรู้ด้านต่างๆที่มากพออยู่แล้ว บางคนไปประกอบอาชีพอื่นไม่เครียดเหมือนแพทย์ ก็พบว่ามีความสุข ปัญหาสุขภาพจิตหายไปก็มี แต่ก็มีบางรายเรียนจบแล้วไปเป็นแพทย์แล้วก็มีปัญหาสุขภาพจิตทีหลังก็มีแบบนี้ก็ต้องเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพของแพทย์ได้เช่นกัน” กรรมการแพทยสภากล่าว


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code