วัดพระขวาง ศูนย์กลางต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ


เรื่องโดย : ถนอม ขุนเพ็ชร์


วัดพระขวาง ศูนย์กลางต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง thaihealth


แฟ้มภาพ


“พระครูโสภณธรรมจักร” เจ้าอาวาสวัดพระขวาง อำเภอเมืองชุมพร เป็นผู้นำโครงการสามพลังร่วมสร้างคนวัดพระขวางให้อบอุ่น ได้รับการสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ชวนชาวบ้านมาปลูกผักในวัด เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมบุญกุศล ลดความขัดแย้ง


ท่านพระครูฯ เล่าว่า ปกติที่วัดมีกิจกรรมสำคัญอยู่ 6 งาน มีการตักบาตรเทโว ตักบาตรปีใหม่ สงกรานต์ งานประจำปีสมโภชน์หลวงพ่อพระขวาง ลอยกระทง และงานสวดกลางบ้าน “โยมมาวัดอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว จังหวะว่าดินที่มาลงวัดพระขวาง ศูนย์กลางต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง thaihealthใหม่ที่วัดเป็นดินดี อาตมาเลยชวนคนมาปลูกพืชผักในพื้นที่วัดโดยไม่ใช้สารเคมี ตอนแรกเริ่มปลูกดอกดาวเรืองตัดดอกขาย หลังจากนั้นสงเสริมปลูกถั่วพู ต่อด้วยการปลูกสามอย่างคือ ข่า แตง ถั่ว ในที่เดียวกัน เป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียงในวัด”


พื้นที่ปลูกในวัดทั้งหมดอยู่รอบโบสถ์ วิหาร กุฏิ รวมแล้วราว 2 ไร่ที่ถูกใช้เป็นประโยชน์ รายได้ทั้งหมดจากการขายพืชผักในรอบที่ผ่านมายอดคงเหลือ 70,000 กว่าบาท เอาเงินให้วัดเพื่อทำกิจกรรมสำคัญ 6 อย่าง และใช้ทำกิจกรรมเสริมอย่างอื่น คนที่มาร่วมเหมือนได้ร่วมทำบุญ ขณะเดียวกันได้ความรู้กลับไปทำที่บ้านต่อ สำหรับคนซึ่งที่บ้านไม่มีพื้นก็มาทำที่วัดได้


สำหรับโครงการสามพลังร่วมสร้างคนวัดพระขวางให้อบอุ่นนั้น มีเป้าหมาย ให้เด็ก ผู้ใหญ่และคนแก่มารวมกัน ซึ่งเรื่องนี้ท่านพระครูเล่าว่า สภาพชุมชนที่นี่แม้ปัญหาดังกล่าวดูจะไม่มาก อาจมีความขัดแย้งทางความคิดในชุมชน เมื่อเอาวัดมาเป็นศูนย์กลางสถานการณ์ก็ดีขึ้นมาก


วัดพระขวาง ศูนย์กลางต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง thaihealth“การเทศน์อาตมาเน้นเศรษฐกิจพอเพียง ให้รู้จักใช้ รู้จักจ่าย รู้จักมัธยัสถ์ ยิ่งภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ แต่ละครอบครัวลำบาก ก็เป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง” ท่านพระครูกล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียงถ้ามองในเชิงพระพุทธศาสนาก็สามารถอธิบายได้


เรื่องหลักที่ท่านพูดกับชาวบ้านที่นี่บ่อยๆ คือ การครองชีพโดยรู้หลักมัธยัสถ์ อดออม ใช้จ่ายเฉพาะแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้คิดถึงวันข้างหน้าที่อาจเจ็บไข้ได้ป่วย หลักเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน เรื่องแบบนี้คนเข้าใจ แต่จะเอาไปใช้ได้หรือไม่ขึ้นกับตัวบุคคล


“บางอย่างเช่นการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ได้อะไรกับคนอื่นหรือครอบครัว อาตมาก็ติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ เขตปลอดเหล้า ปลอดการพนัน หากมีงานศพหรืองานอะไร เราก็จะขอในส่วนนี้ไม่ให้มี”


กิจกรรมโครงการ สสส.มีส่วนทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างวัดกับชุมชนชัดเจนขึ้น จากภาพที่ชาวบ้านก็จะมาวัดเป็นประจำ จากหน้าที่รับผิดชอบ 6 กลุ่มงานของวัด แต่ละกลุ่มมีคนรับผิดชอบหลักกลุ่มละ 20 กว่าคน


“การแก้ปัญหาชุมชน วัดคงแก้ทุกอย่างไม่ได้ คงได้แค่ส่วนหนึ่งหรือบางส่วน พระอาจแนะนำได้ แต่พอกลับไปบ้านเป็นเรื่องของบุคคล ครอบครัว คงไปยุ่งไม่ได้” ท่านมองว่ายิ่งคนรุ่นใหม่มีปัญหาหลายอย่าง มองว่าการเข้าวัดไม่ทันสมัย เข้าวัดแล้วยังใช้เวลาไปกับโทรศัพท์มือถือ เรื่องแบบนี้สอนได้ แต่เปลี่ยนพฤติกรรมยาก


ท่านมองว่าประโยชน์ที่ชาวบ้านมาร่วมโครงการ ทำให้คนได้ออกกำลังกาย อยู่บ้านอาจะไม่ได้ทำ แต่มาวัด ได้ทำงาน ปลูกพืชผัก ดูแลต้นไม้ ขุดดิน พูดคุยกัน แต่อยู่บ้านอาจไม่ได้คุยกัน


“มาช่วยปลุกต้นไม้กัน ก็ได้ความชำนาญในการเพาะปลูกกลับไปทำเองได้ ผลผลิตก็ปลอดสารพิษ ช่วยสุขภาพ รายได้ที่เข้ามายังมาสนับสนุนกิจกรรมของวัด เป็นบุญ”


ท่านบอกว่าถ้าชาวบ้านเอาแนวคิดกลับไปทำที่บ้าน ทางวัดจะสนับสนุน หรือว่าเอางบประมาณนี้ไปทำในชุมชนก็ได้ อย่างที่จะมีการส่งเสริมปลูกส้มจิ๊ดครอบครัวละต้น เมื่อได้ผลผลิตไปจำหน่ายก็เอาเงินมาเป็นส่วนรวม


วัดพร้อมสนับสนุนกิจกรรมของชาวบ้านและชุมชนในเรื่องที่เป็นไปได้ เช่น ให้ใช้พื้นที่วัดจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ให้วัดพระขวาง ศูนย์กลางต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง thaihealthของวัดไปใช้ บางครอบครัวที่ฐานะไม่แข็งแรง หากมีคนล้มเจ็บตายทางวัดก็ช่วย แต่ในงานศพก็ห้ามการพนันและดื่มสุราอย่างเด็ดขาด


วัดพระขวางเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ พระครูโสภณธรรมจักรเล่าถึงประวัติความเป็นมาว่า เริ่มก่อตั้งปี พ.ศ.2380 หรือเมื่อ 179 ปีมาแล้ว ตามตำนานน่าจะชื่อ วัดนางชีจัน แล้วร้างไปจนมีพระพุทธรูปลอยน้ำมาตามแม่น้ำชุมพร ชาวบ้านเห็นอยากนิมนต์ขึ้นมาอยู่ที่บนวัด ใช้เชือกชักลากขึ้นมา แต่ไม่ขึ้น ช้างชักลากก็ยังไม่ขึ้น เวลากลางคืนก็แยกย้ายกันกลับบ้าน


ในคืนนั้นชาวบ้านคนหนึ่งที่มาช่วยชักลากพระพุทธรูปขึ้นจากน้ำได้ฝันว่า พระมาบอกว่าให้ญาติโยมในหมู่บ้านช่วยกันสร้างฐานพระพุทธรูป แล้วเอาสายสิญจน์ไปผูกองค์ท่านเอาไว้ ท่านจะขึ้นมาเอง หลังจากมีการทำฐานพระพุทธรูป ใช้สายสิญจน์ไปผูก หลวงพ่อขึ้นมาอยู่บนฐานเองอย่างน่าอัศจรรย์


จากตำนานเล่าขานถึงพระพุทธรูปแห่งวัดพระขวาง ซึ่งจะมีงานสมโภชทุกปีในแรม 14 ค่ำ เดือน 5 ชาวบ้านมักบนบานหลวงพ่อด้วยหนังตะลุง มโนรา มวย วัวชน ควายชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี

Shares:
QR Code :
QR Code