ลำพูนอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


ลำพูนอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ  thaihealth


แฟ้มภาพ


          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานจังหวัดลำพูนคุณภาพอากาศ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัดลำพูนดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินมาตรการควบคุมการเผาอย่างเคร่งครัด อีกทั้งขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาขยะและเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและปัญหาหมอกควันปกคลุมพื้นที่


          นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการประสานข้อมูลคุณภาพอากาศกับกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 05.00 น. พบว่า จังหวัดลำพูนมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐาน โดยค่า PM 2.5 อยู่ที่ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่า PM 10 อยู่ที่ 74 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 101 ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัดลำพูนดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ รวมถึงได้จัดเจ้าหน้าชุดปฏิบัติการพร้อมด้วยเครื่องจักรกลสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นและลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินมาตรการควบคุมการเผาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ เน้นการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบจุดไฟเผาพื้นที่เกษตรกรรมให้กำหนดช่วงเวลาจัดระเบียบการเผา และประกาศเขตห้ามเผา ตลอดจนขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาขยะและเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อป้องกันสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน สำหรับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุมให้หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน รวมถึงใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกัน


          มิให้สูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานแก้ไขปัญหาโดยด่วนต่อไป


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code