‘ลดเมา เพิ่มสุข’ ด่านชุมชนพาสงกรานต์ชื่นมื่น

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข


'ลดเมา เพิ่มสุข' ด่านชุมชนพาสงกรานต์ชื่นมื่น thaihealth


แฟ้มภาพ


เทศกาลสงกรานต์ในปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตกว่า 442 ศพยังไม่นับตายภายหลังเกิดอุบัติเหตุที่รพ.ซึ่งจากการเก็บข้อมูลมาแล้วพบว่าสาเหตุใหญ่มาจากมอเตอร์ไซด์ เมาแล้วขับไม่สวมหมวกกันน็อค


ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบการรณรงค์และขับเคลื่อน “ลดเมา เพิ่มสุข : ปฏิบัติการ ชุมชนอาสา ลดเมา ลดเหตุ”ขึ้น พร้อมกับรณรงค์ลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ 


น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก3) สสส. กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ ลดเมา เพิ่มสุข คือ ปฏิบัติการที่ทางเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 มุ่งหวังว่าจะเป็นกลไกที่บรรเทาจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มสุรา รวมถึงเป็นกระตุ้น และหนุนเสริมให้เป็นแนวทางการรณรงค์ขยายผลไปยัง องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท. )เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นต่อไป โดยมีพื้นที่เป้าหมาย5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดนครปฐม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในพื้นที่ถนนสาธารณะในถนนสายหลักและสายรอง


'ลดเมา เพิ่มสุข' ด่านชุมชนพาสงกรานต์ชื่นมื่น thaihealth


ทั้งนี้เครือข่ายร่วมสร้างฯ ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการของชุมชน 3 สร้างประกอบด้วย 1. สร้าง จุดบริการ “ลดเมา เพิ่มสุข” โดยกำหนดจุดพักรถ ได้แก่ ด่านครอบครัว ด่านชุมชน ด่านตำรวจ 2.สร้างสรรค์พื้นที่ปลอดเหล้า โดยการกำหนดพื้นที่ในสงกรานต์ปลอดเหล้า งานศพงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ร้านค้าและชุมชนปลอดเหล้า 3. เสริมสร้างถนนปลอดภัย โดยการแก้ ปรับปรุงจุดเสี่ยง เช่น การจัดกิจกรรมเคลื่อนย้ายวัตถุอันตรายออกจากทางโค้ง ตัดสางต้นไม้ ซ่อมแซมปรับปรุงสภาพแวดล้อมบนถนนบริเวณที่เป็นหลุมเป็นบ่อ และการติดตั้งหลักนำโค้ง ป้ายเตือนทางโค้งสัญลักษณ์เตือนบริเวณทางโค้งหักศอก สี่แยกวัดใจ


น.ส.ดวงพร อธิบายเพิ่มเติมว่า ทางเครือข่ายฯ อยากเห็นพลังของชุมชนมีระบบเฝ้าระวังทั้งเรื่องอุบัตเหตุ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยในชุมชน เป็นด่านที่คนในชุมชนกำหนดขึ้นเองภายใต้ความร่วมมือระหว่างอาทิ ตำรวจในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง รพ.สต ซึ่งต้องมาตกลงร่วมมือกำหนดจุดว่าจะมีกี่ด่านในช่วงเทศกาล เมื่อเห็นว่าเมาแล้วจะให้คนในพื้นที่ช่วยกันเตือนว่าอย่าไปต่อ


“มีข้อเสนอแนะว่าในบ้านเราต้องการแก้ปํญหาเมาแล้วขับ แต่เครื่องเป่าพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์มีไม่เพียงพอ จริงๆแล้วในทุกตำบลเมื่อตั้งด่านแล้วควรมีเครื่องเป่า ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้องค์กรปกครองท้องถิ่นไม่สามารถใช้งบประมาณซื้อได้ดังนั้นภาครัฐควรทำให้เครื่องมือเหล่านี้มีราคาถูกลง และแก้ไขระเบียบจัดซื้ออจัดจ้าง เพื่อให้คนเมาแล้วขับรู้สึกเกรงกลัว เมื่อรู้ว่ามีปริมาณของแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด ”


'ลดเมา เพิ่มสุข' ด่านชุมชนพาสงกรานต์ชื่นมื่น thaihealth


อนิรุทธิ์ ภาวะนา นายกอบต.นาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ในพื้นที่ในเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาชาวบ้านได้ตั้งด่านชุมชนในพื้นที่ 6 ด่านโดยมีรพ.สต. ผู้นำท้องถิ่น และตร.ช่วยกันเพื่อย้ำเตือนให้คนใส่ใจเรืองอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมป้องกันอุบัติเหตุที่คิดค้นคือในจุดที่เป็นทางโค้งจะมีสัญลักษณ์ตาข่ายเชือกฟาง บริเวณริมทาง โดยชาวบ้านได้ช่วยกันทำขึ้น นอกจากเป็นสัญลักษณ์แล้วจะช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งในเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านจะรวมกันตั้งด่าน แล้วใช้นวัตกรรมเดิมที่เคยใช้แล้วได้ผล พบว่าอุบัติเหตุเมาแล้วขับไม่เกิดขึ้นในชุมชน เพราะมีการตักเตือนกัน


'ลดเมา เพิ่มสุข' ด่านชุมชนพาสงกรานต์ชื่นมื่น thaihealth


ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาลรองผู้จัดการ และ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สสส.กล่าวว่า พบว่าผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วง7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์ ในปี 2559 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอันดับ 1 ยังคงเป็นเรื่องการเมาสุรา ร้อยละ34.09 ลดลงจากร้อยละ 39.31 ในปี2558 ซึ่งบทบาทของชุมชนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเป็นมาตรการที่มีความสำคัญ โดยใช้ 3 หลักการ คือ 1หลักการทางนโยบาย 2 หลักการใช้ทุนทางสังคม และ หลักการบริหารแผนและงบประมาณ เพื่อแก้และลดปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการประสานภาคีเครือข่าย การสร้างการมีส่วนร่วมและกำหนดกติกาเฉพาะพื้นที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และสร้างปัจจัยเสริมการป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนนในชุมชนท้องถิ่นโดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 9เมษายนเป็นต้นไป


ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก3) สสส.ชี้ให้เห็นว่าเมื่อเครือข่ายสังคมลงมาทำงานเรื่องเลิกเหล้า โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลคนดื่มน้อยลง และยังทำให้คนอยู่กับโรคต่างๆได้อย่างมีความสุข เช่นคนที่เจ็บป่วยเรื้อรัง โรคความดัน เบาหวาน โดยเฉพาะในพื้นที่อีสานที่นิยมบริโภคอาหารสุกๆดิบ เมื่อเลิกเหล้าแล้วการบริโภคอาหารดังกล่าวลดลง ผลของการเลิกเหล้าทำให้คนตระหนักในสุขภาพมากขึ้น จากจุดเริ่มต้นด่านชุมชนที่จะส่งผลเป็นปราการด่านทางสุขภาพอีกหลายเรื่อง

Shares:
QR Code :
QR Code