ร่วมสร้างการเรียนรู้ และพัฒนาเยาวชน

          /data/content/26419/cms/e_abhklqst1456.jpg


         ศิลปิน-นักจัดรายการ-คนทำสื่อด้านเด็กสะท้อนสื่อสร้างสรรค์ของเด็กยังมีน้อย ขาดการสนับสนุน ทั้งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเด็กได้ หวังให้พ.ร.บ.กองทุนสื่อฯ สร้างการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม ยันต้องทำงานเชิงรุกเพื่อให้สื่อสร้างสรรค์สร้างการเรียนรู้และพัฒนาเด็กเยาวชน และต้องเข้าให้ถึงระดับชุมชนท้องถิ่น


          วันที่ 7 พ.ย. 57 ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ ในงานเสวนา"จับชีพจรสื่อเด็ก…รุ่งหรือร่วงในยุคปฏิรูป" จัดโดย เครือข่ายเยาวชนสื่อเด็กเปลี่ยนโลก และเครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก ภายในงานมีการแสดงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อพื้นบ้าน ดนตรีเพลงเด็ก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการสร้างสื่อเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชน


           ดร.ธีรารัตน์ พันทวี นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน(สสดย.) กล่าวว่า เด็กและเยาวชนมักเป็นกลุ่มที่ถูกลืม ทั้งที่มีมากถึง1ใน3ของคนทั้งประเทศหรือประมาณ 20ล้านคน แต่หาสื่อเฉพาะเจาะจงสำหรับเด็กจริงๆนั้น มีน้อยมาก ล่าสุด สสดย. ได้ทำการวิจัยสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ในรายการวิทยุ พบว่า มีเพียง1%ของพื้นที่สื่อทั้งหมด ส่วน99%กลายเป็นของผู้ใหญ่ และที่ไม่ปลอดภัยไม่สร้างสรรค์ยังมีอีกไม่น้อย ซึ่งแต่ละรัฐขาดการสนับสนุนเชิงนโยบาย ขณะเดียวกันสปอนเซอร์รายการต่างๆไม่เห็นความสำคัญ เพราะให้เหตุผลว่าคนดูคนฟังน้อย ทำให้คนทำสื่อล้มหายตายจากไป ดังนั้นสิ่งสำคัญรัฐควรมีวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย เห็นความสำคัญของการรับสื่อดี สร้างสรรค์ ปลอดภัย เหมาะกับช่วงวัย ถ้ารัฐไม่เห็นความสำคัญ วิธีปฏิบัติหรือมาตรการต่างๆคงไม่เกิดขึ้น


           "มีคนไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่พยายามผลิตสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนแท้จริง จึงขอฝากข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ รัฐต้อง/data/content/26419/cms/e_dhikosuvyz67.jpgจริงใจ เข้าใจและทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติสู่การบังคับใช้ มีกลไกรองรับ มีบทลงโทษที่ชัดเจน และมีวิธีการสนับสนุน เช่น จัดงบประมาณสร้างพื้นที่สีขาวให้ผู้ผลิตสื่อได้มีที่ยืน ไม่ต้องรอสปอนเซอร์ ขณะเดียวกัน เชื่อว่าพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ…จะช่วยได้มาก เพราะปรัชญาของพ.ร.บ.นี้เพื่อให้คนทุกคนในสังคมได้มีโอกาสเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้รับได้อย่างทั่วถึง ไม่ใช่แค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง" ดร.ธีรารัตน์ กล่าว


           นายอัมพร วาภพ ผู้ผลิตสื่อเด็กสตูดิโอ ข้าวโฮยเกลือ กล่าวว่า การเกิดขึ้นของพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อฯจะส่งผลดีหลายด้านสำหรับคนทำงานในระดับท้องถิ่น ที่สามารถทำงานด้านสื่อเชิงรุกให้สอดคล้องกับปัญหาสถานการณ์เด็กจากการรู้ไม่เท่าทันสื่อ เยาวชนรุ่นใหม่มีทางเลือกในการผลิตสื่อสร้างสรรค์นำประสบการณ์มาทำงานในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเปิดกว้างในทีวีดิจิตอล ซึ่งมีช่องทางให้ได้พัฒนาฝีมือ ได้ผลิตสื่อน้ำดีมากกว่าทำสื่อเพียงเพื่อรับใช้นายทุน และเกิดการประชาสัมพันธ์งานในชุมชน ท้องถิ่น ขณะเดียวกันภาควิชาการจะได้มีโอกาสเข้ามาทำงานวิชาการในท้องถิ่น เช่น วิจัยการบริโภคสื่อของเด็กเยาวชน เพราะข้อมูลงานวิจัยเป็นงานเชิงประจักษ์ที่เป็นประโยชน์ จำเป็นต่อการทำงานสู่การพัฒนา เพื่อให้คนในชุมชนท้องถิ่นได้ตระหนักเท่าทัน เห็นข้อมูลที่ชาวบ้านไม่รู้ นำไปสู่การป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อ เช่น โฆษณาแอบแฝงต่างๆที่ผุดขึ้นมามากมายในขณะนี้


           "ผมคิดว่าประเด็นเร่งด่วนในขณะนี้คือสื่อออนไลน์ที่เกิดกับเด็ก ซึ่งต้องมีข้อมูลว่าเด็กในท้องถิ่นเขาดูออนไลน์อย่างไร เมื่อมีข้อมูลที่ชัดเจนจะสามารถนำไปสู่การปรับพัฒนาให้เท่าทัน โดยทำงาน3ประสาน ที่จะเกิดขึ้นหากมีกองทุนสื่อนั้นคือ การทำงานร่วมกัน ในพื้นที่กับเด็กเยาวชน กลุ่มนักวิชาการ และสื่อรุ่นใหม่ ที่ผลิตสื่อน้ำดี และประเด็นที่น่าห่วงคือ ทีวีดิจิตอลขณะนี้ ที่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รู้ข้อมูลอย่างทั่วถึง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ที่การทำงานด้านสื่อเชิงรุก/data/content/26419/cms/e_abefgmvx5789.jpg ควรเริ่มต้นจากการให้ข้อมูล หรือมีเวที ให้ข้อมูลชาวบ้านอย่างเร่งด่วน" นายอัมพร กล่าว


           นายฤทธิชัย ชำนิราชกิจ หรือ ครูโจ้ ผู้ก่อตั้งโรงโขนจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า กระบวนการท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้รักษาวัฒนธรรมสื่อพื้นบ้าน ส่วนใหญ่ยังน่าห่วงเพราะไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ผู้ที่เข้ามาแค่คิดในวงแคบว่า การสนับสนุน คือการว่าจ้าง และว่าจ้างในราคาต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งๆที่สื่อโขนเป็นสื่อวัฒนธรรมชั้นสูงของประเทศ แต่เขาไม่ได้คิดว่า การสนับสนุนต้องเข้ามามีส่วนร่วม เรียนรู้ และผลักดันงานวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคนในชุมชนหรือเยาวชนเป็นสำคัญ


           "ผมพยายามทำเรื่องนี้มากว่า6ปีเพราะต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีการขยับขององค์กรท้องถิ่น มีการแลกเปลี่ยนระหว่างคนทำสื่อท้องถิ่นในชุมชน องค์กรท้องถิ่น ดังนั้นทางออกของสื่อพื้นบ้านที่ยั่งยืนจะต้องได้รับการสนับสนุนในวงกว้าง ตอนนี้จุดหลักคือต้องทำงานกับคนในชุมชน ทำให้เขาเข้าใจให้ได้ว่าสื่อท้องถิ่นที่เราทำอยู่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ลูกหลานของเขาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อชุมชนรับรับรู้เห็นผลตรงนี้ประชาชนในพื้นที่ก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราทำ" นายฤทธิชัย กล่าว


 


 


             ที่มา : มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)

Shares:
QR Code :
QR Code