รู้มั้ย โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร?

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


ภาพประกอบจากเว็บไซต์ gotoknow.org


รู้มั้ย โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร? thaihealth


คำถามที่ผู้ใหญ่มักจะถามเด็กๆ "รู้มั้ย โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร?" อาจจะเป็นแค่ถามเพราะอยากรู้หรือถามไปแบบนั้นก็เท่านั้นเอง แต่เชื่อหรือไม่คำถามนี้แค่คำถามเดียวที่เด็กถูกถามไปนั้น ถ้าหากเด็กน้อยสามารถตอบได้จะทำให้มองเห็นอนาคตที่ดีของเด็กอยู่ได้ไม่ไกลนัก


ที่โรงเรียนคูบัว ต.วัดดาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี กำลังคึกคักกับการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน เป็นของเด็ก เป็นเวทีที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของบ้าน วัด โรงเรียน กรรมการหมู่บ้าน อบต.วัดดาวายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 : การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้ดและกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อดึงศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมพัฒนาบุตรหลานของตนเองให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลกต่อไปในอนาคตนั่นเอง


อาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการ และนวลทิพย์ ชูศรีโฉม วิทยากรจากสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ได้เริ่มกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็กๆ เริ่มตั้งแต่ให้โจทย์แรก-เป้าหมายชีวิต ตั้งคำถาม 1.โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร 2.เพราะว่าอะไร และ 3.ถ้าเป็นสิ่งนี้นี้ จะต้องมีนิสัยอย่างไร เด็กๆ ค่อยๆ คิดและวาดภาพอาชีพที่อยากเป็นบนกระดาษและทยอยออกมาหน้าห้องบอกถึงอาชีพที่ตนอยากจะเป็น อาชีพยอดฮิตของเด็กไทย เช่น พยาบาล หมอ แต่ยังมีอาชีพอื่นๆ ที่เด็กสนใจเช่นกัน เช่นนักเปตอง นักวอลเลย์บอล นักฟุตบอล ช่างซ่อม ชาวประมง นักบัลเลต์ นักมวยสากล ปลูกดอกไม้ แลบตรวจเลือดนักออกแบบเสื้อผ้า และเชฟ เป็นต้น และเด็กๆ ก็รู้ว่าถ้าอยากทำอาชีพเหล่านี้ต้องมีนิสัย อดทน เข้มแข็ง ไม่ขี้โกง ไม่ใจร้อน ต้องหมั่นฝึกซ้อมให้เก่ง ไม่บ่นลูกค้า มีน้ำใจ กล้าแสดงออก ฯลฯ


รู้มั้ย โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร? thaihealth


เมื่อเด็กๆ ได้บอกอาชีพที่ตัวเองชอบแล้ว ทางวิทยากรก็ไม่รอช้าให้ทำโจทย์ข้อที่ 2 ทันที "เรียนรู้ 15 ข้อ คุณลักษณะที่พึงประสงค์" ได้แก่ ใฝ่เรียนรุ้, ขยัน, อดทน, มีวินัย, ประหยัด, ตรงต่อเวลา, รับผิดชอบ, ซื่อสัตย์ สามัคคี-มีน้ำใจ-เสียสละ, สุขภาพ, สะอาด, กตัญญู กตเวที, มีเหตผีผล ประมาณตน และวางแผนมีภูมิคุ้มกัน โจทย์ข้อนี้ ให้เด็กๆ จับกลุ่มและให้คำจำกัดความแต่ละนิสัยที่กลุ่มตนเองได้ไป คำถาม 1.นิสัยที่ดีต้องเป็นอย่างไร 2.ประโยชน์ของนิสัยที่ดี และยกตัวอย่าง ซึ่งโจทย์ข้อนี้ค่อนข้างยากในบางลักษณะนิสัย เช่น การประมาณตนวางแผนภูมิคุ้มกัน เด็กๆ ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง สุดท้ายเด็กๆ ได้ประเมินนิสัยตนเอง โดยการให้คะแนนนิสัย 15 ข้อ จาก 1-10 และเลือกเอานิสัยไม่ดีมา 1 ข้อที่ต้องการนำกลับไปแก้ไข โจทย์ข้อนี้ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้นิสัยที่ดีและไม่ดีของตัวเอง และนิสัยที่อยากจะแก้ไข เป็นการประเมินตนเองที่หาญกล้ามาก ใครละจะกล้าบอกว่าตัวเองแย่ขนาดไหน แต่เด็กกลุ่มนี้มีบางคนให้นิสัยตัวเองได้แค่ 3 หรือ 4 ก็มี


นายสุวัฒน์ พูลสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้เกริ่นให้ฟังว่า "โรงเรียนวัดคูบัว เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนประมาณ 113 คน ในปีการศึกษา 2560 สังกัดตำบลวัดดาวมีนายกฯ ประทิว รัศมี เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว ได้มีแนวคิดในเรื่องการพัฒนาเยาวชนร่วมกัน เรามีความมุ่งหวังว่าเด็กต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะว่าในปัจจุบันมีเหตุการณ์ที่เจริญรุดหน้าไปหลายอย่าง เช่น เรื่อง คุณลักษณะเด็กในศตวรรษที่ 21 หรือ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นต้น เราก็หวังให้เด็กมีความรู้เชิงลึกโดยการปฏิบัติ ตามที่สังคมมีวุ่นวาย มีการเปลี่ยนแปลงมาก เราจึงมุ่งหวังการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล เรามีแนวคิดว่าเมื่อบุคคลเป็นบุคคลที่ดี มีความรับผิดชอบ มีคุณลักษณะที่เราต้องการจะทำให้ภาพรวมในชุมชนของเราสามารถได้ได้ด้วยดี โดยเราได้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ อาจารย์ทรงพล และทีมงาน ที่มีความรู้ด้านพัฒนาเด็กมาช่วยชี้แนะ เราก็พร้อมที่จะพัฒนาลูกหลายของเราให้เป็นลูกหลานที่ดีสืบไป คิดว่าพอเด็กๆ เขามาเข้ากระบวนการเรียนรู้ตรงนี้แล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คือเรื่อง 1.ความรับผิดชอบ ความซื้อสัตย์ การตรงต่อเวลา หรือว่าการมองที่ตัวเองว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ผมเชื่อมั่นว่าในกระบวนการนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้เราเชื่อในการฝึกฝน ที่ว่าลักษระนิสัยต้องทำซ้ำๆ 21 ครั้ง จะเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัยในที่สุด วันนี้เราต้องแนะแนวให้เขารู้ตั้งแต่ระดับประถม ตั้งแต่ยังเล็กๆ อยู่เชื่อว่าไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ลักษณะการฝึกตั้งแต่เล็ก ถ้าดีตั้งแต่เด็กเขาก็จะดีไปตลอด และเชื่อมั่นว่าเด็กมีเป้าหมายชีวิต จะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ เพราะเรามีธงไว้ว่าเราจะเดินไปให้ถึงตรงนั้น เราไม่ได้มุ่งหวังให้ลูกศิษย์เราเป็นข้าราชการทุกคน แต่ว่าขอให้เขาจบชั้นมัยมศึกษาภาคบังคับ ขอให้เขาเป็นคนดีแล้วรักในอาชีพของเขา เราเชื่อว่าเรามั่นใจว่าทุกอาชีพที่เราทำด้วยความสุจริตสามารถที่จะทำให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่ตอนนี้เราต้องสร้างเด็กของเราให้มีพื้นฐานที่ดีเสียก่อน เพราะเด็กบางคนหลงไปกับสื่อเทคโนโลยี ซึ่งตอนนี้มีปัญหามากนัก"


ด้านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ทรงพล เจตนา วณิชย์ ซึ่งทำงานกับชุมชนท้องถิ่นมาเป็นระยะเวลายาวนานนนับสิบปี เริ่มมองเห็นว่า การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่เด็กปฐมวัย หากรอโตขึ้นไปเมื่อเริ่มมีนิสัยไม่ดีติดตัวทำให้แก้ยาก.."โจทย์ของเราภายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3ฯ คือพัฒนากลไกชุมชนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เราเคยทำหลักสูตรนักถักทอชุมชน(โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว) ให้เจ้าหน้าที่อบต.ได้เข้ามาประสานภาคีต่างๆ ในพื้นที่ แต่พบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเรียนรู้ระดับหมู่บ้านด้วย เพื่อดูว่าระดับหมู่บ้านมีกลไกอะไรบ้าง เราพบว่าในแต่ละหมู่บ้าน เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และกรรมการหมู่บ้าน จากนั้นค่อยไปเชื่อมกับทางอค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งหัวใจสำคัญคือการตั้งวงแลกเปลี่ยนและสะท้อนกันในทุกระดับในหมู่บ้าน โดยทุกภาคส่วนช่วยกันกำหนดว่าคุณลักษณะของเด็กในหมู่บ้านตนเองว่าควรเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรให้เด็กมีคุณลักษณะแบบที่ต้องการ ที่ผ่านมาก็มีความพยายามที่จะทำกันอยู่ แต่ขาดวิธีการ ทางสรส.จึงนำวิธีการต่างๆ เข้าไปช่วย เช่น กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม กระบวนการถอดบทเรียน กระบวนการใช้ KM ในการพัฒนาตนเอง


รู้มั้ย โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร? thaihealth


ตอนนี้ยังเพิ่งเป็นการเริ่มทดลองทำที่ อบต.วัดดาว จ.สุพรรณบุรี โดยมาร่วมมือกับอบต.วัดดาว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งตอนนี้เราพบว่าถ้าเราไปเริ่มที่ม.1-3 ไม่ทันแล้ว จึงเริ่มพัฒนาที่เด็กชั้ประถมปีที่ 4-6 ถ้าเราสามารถพัฒนาในตัวเขาได้ต่อไปในอนาคตสอดคล้องกับโรงเรียน ให้เป็นไปตามเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เน้นในเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรุ้และฝึกทักษะ ชีวิตของเด็ก ทำเป็นตัวอย่างให้โรงเรียนเห็นกระบวนการเรียนรุ้ที่เราทำ ที่สำคัญสรส.ให้เครื่องมือถอดบทเรียนเมื่อเด็กปฏิบัติงานอะไรก็ตามแล้วถอดบทเรียนจะทำให้เขาเห็นประโยชน์จากการเรียนรู้แบบ Learning by Doing มากขึ้น


ลองมาคุยกับเด็กๆ กับสิ่งที่เธอได้เรียนรู้ในวันนี้กันกับฝาแฝดสุดน่ารักวัย 9 ปี น้องใบเตย-ด.ญ.กาญจนา และน้องใบตอง ด.ญ.กนกวรรณ บูรณะสิงห์ ที่ฝันอยากมีอาชีพปลูกสวนดอกไม้ทั้งคู่ "อยากปลูกสวนดอกไม้เพราะอยากให้คนซื้อไปมีความสุขเพราะเขาได้เห็นความสวยงามของดอกไม้ ปลูกดอกไม้ต้องมีเมตตา มีความอดทน และนิสัยที่หนูอยากปรับปรุงคือความมีวินัยค่ะ หนูจะกลับไปช่วยแม่ทำงานบ้านให้อาหารสุนัขค่ะ" น้องใบเตยบอก ส่วนน้องใบตองบอกว่ากิจกรรมที่ชอบที่สุดคืออาชีพที่อยากเป็นนั่นเอง "หนูชอบที่สุดคือตอนที่ให้ระบายสี วาดรูป ทำให้เราเรียนรู้อาชีพว่าโตไปอยากทำอะไรค่ะ กลับไปหนูจะไปค้นค่ะว่าหนูจะปลูกอะไรดี หนูจะปลูกมาให้เพื่อนๆ ดูค่ะ" เสียงสะท้อนเล็กๆ ของแฝดคู่นี้ทำให้เห็นบรรยากาศกระบวนการเรียนรุ้ที่เด็กเล็กๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี


นี่เป็นเพียงแค่เพียงจุดเริ่มต้น ในการขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับหมู่บ้านและตำบลที่ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป้นสุข ผสรส) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ได้เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ แต่สิ่งเหล่านี้จะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ "คนรอบตัวเด็ก" ต้องร่วมมือและร่วมกันเรียนรู้ที่จะพัฒนาเด็กไปด้วยกันนั่นเอง สำหรับโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 3 : การขับเคลื่อนกลไกพัฒนาเยาวชนด้วยการจัดการความรู้และกระบวนวิจัยเพื่อท้องถิ่น สนับสนุนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สถาบันยุวโพธิชน มูลนิธิสัมมาชีพ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นและมูลนิธิสยามกัมมาจลธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

Shares:
QR Code :
QR Code