“รัฐไร้โรค” สร้างสุขภาพดีเพื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ลดอาการเจ็บป่วยภาระค่ารักษาพยาบาลหน่วยงานราชการ

 

“รัฐไร้โรค” สร้างสุขภาพดีเพื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 

           ความเครียดเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย บั่นทอนสุขภาพร่างกายและจิตใจของบุคคลในทุกระดับโดยในหน่วยงานราชการบรรยากาศเต็มไปด้วยการทำงาน การหลงลืมใส่ใจสุขภาพทำให้บุคลากรในองค์กรถูกรุมเร้าด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย ส่งผลให้รัฐ ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

           ทพ.กฤษดา  เรืองอารีย์รัชต์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) บอกว่า จากปัญหาสุขภาพของบุคลากรในองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้สสส.ซึ่งมุ่งพัฒนาระบบและโครงสร้างในหน่วยงานราชการ ตระหนักถึงความสำคัญของของการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่บุคลากรในหน่วยงานราชการ จึงสนับสนุนให้เกิดโครงการ รัฐไร้โรคสร้างสุขภาพที่ดีเพื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินกิจกรรมร่วมกับ 14 หน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีแนวทางป้องกันสุขภาพก่อนการรักษา เพื่อช่วยลดค่าใช่จ่ายภาครัฐในด้านค่ารักษาพยาบาทที่สูงถึงหมื่นบาทต่อหัว

 “รัฐไร้โรค” สร้างสุขภาพดีเพื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ

           เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทพ.กฤษดา สะท้อนถึงสถานการณ์สุขภาพขององค์กรภาครัฐว่า ในแต่ละปีรัฐมีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และบิดามารดา ครอบคลุมเกือบทุกอย่างสูงที่สุด มากกว่าผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมและผู้ถือบัตรทองในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2550 มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการและลูกจ้าง 8,408 บาทต่อคน เปรียบเทียบในปี 2551 มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการและลูกจ้างเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 10,000 บาทต่อคน หรือคิดเป็น 5 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อหัวในระบบประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ต้องดูแลประชาชนมากถึง 47 ล้านคน แต่ใช้งบประมาณเพียง 90,000 ล้านบาทเท่านั้น 

            

            มีการประมาณการณ์กันว่า หากรัฐบาลไม่เร่งแก้ปัญหาค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นต่อเนื่องนี้ อาจทำให้ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของไทยทุ้ง 3 ระบบ คือ สวัสดิการของข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพ จะเพิ่มจาก 200,000 ล้านบาท ในปี 2552 เป็น 600,000ล้านบาทในอีกสิบปีข้างหน้า โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายของข้าราชการ คาดว่าในปี 2553 จะเพิ่มเป็น 75,600 ล้านบาท และมีแน้วโน้มเป็นหนึ่งแสนล้านบาทในอนาคตนพ.กฤษดาสะถ้อนถึงปัญหาพร้อมบอกว่า

 

             หน่วยงานราชการจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับบุคลากรในองค์กรมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่อยู่เพื่อการทำงานได้เต็มศักยภาพ ขับเคลื่อนให้หน่วยงานราชการต่างๆพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ คือนิยามของคำว่า รัฐไร้โรค นั้นเอง

 

            สำหรับโครงการพัฒนาสุขภาพ นพ.พรชัย  สิทธิศรัณย์กุล ผู้จัดการแผนงานเพิ่มขีดความสามารถสู่การเป็นหน่วยงานรัฐสุขภาวะ เล่าว่า โครงการ รัฐไร้โรคสร้างสุขภาพที่ดีเพื่อเจ้าหน้ารัฐ เริ่มดำเนินกิจกรรมมาตั้งแต่เดือนสิ่งหาคม พ..2552 และสิ้นสุดโครงการในวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้ติดต่อแผนงานผ่านผู้นำองค์กร มีหน่วยงานสนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 14 หน่วย ทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยแต่ละหน่วยงานจะมีการกำหนดกลุ่มแกนนำประมาณ 3-5 คน ขับเคลื่อนโครงการรัฐสุขภาวะในองค์กร   

 

 

“รัฐไร้โรค” สร้างสุขภาพดีเพื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 นพ.พรชัย  สิทธิศรัณย์กุล

 

            เริ่มดำเนินการจากการวินิจฉัยองค์กรเปรียบเทียบเหมือนกับการวินิจฉัยผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านสุขภาพที่เป็นอยู่และกิจกรรมที่ยากทำเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือแม้แต่การทำบุญด้วยการบริจาคโลหิต อ่านหนังสือให้คนตาบอดฟัง เป็นต้น ผลสำรวจเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดการจัดกิจกรรมให้สอดรับกับความต้องการของบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ เกิดองค์ความรู้ด้านการจัดการคุณภาพชีวิตให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

 

            เนื่องจากการนั่งทำงานตลอดทั้งวันโดยไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นใดเพื่อผ่อนคลายความเครียดหลังการทำงานหรือแม้แต่ขาดการออกกำลังกายระหว่างวัน ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีการรับประทานอาหารเกินความจำเป็นทำให้อ้วนลงพุง ไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยอื่นๆตามมา เมื่อร่างกายอ่อนแอประสิทธิภาพการทำงานย่อมลดลง     

                   

             หัวใจสำคัญของกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีเพื่อเจ้าหน้าที่รัฐ จึงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในการเสริมสร้างสุขภาพของบุคลากรในองค์กรภาครัฐ มีแนวทางปฎิบัติดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับการจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้สะอาดตามหลัก 5 ส. รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ นำไปสู่การพัฒนาให้เกิดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในองค์กรอย่างยั่งยืน เป็นหน่วยงานราชการต้นแบบหรือเป็นที่เรียนรู้ดูงานขององค์กรอื่นๆที่ประสงค์จะทำการสร้างเสริมสุขภาพในอนาคตนพ.พรชัยบอก

                                 

            ด้านร.ต.วินัย  ชาคริตยานุโยค รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก..) หนึ่งในหน่วยงานราชการนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ บอกว่า ภายหลังตอบรับเข้าร่วมโครงการ รัฐไร้โรค สร้างสุขภาพดีเพื่อเจ้าหน้าที่รัฐ ได้นำเอานโยบายการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี มาปรับใช้ในองค์กรแล้ว ผลของการจัดสรรคเวลาเรื่องการออกกำลังกายให้เป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันช่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

 

“รัฐไร้โรค” สร้างสุขภาพดีเพื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ             

                                              ร.ต.วินัย ชาคริตตานุโยค      

                                                    

             เมื่อสุขภาพแข็งแรงแล้วย่อมส่งผลให้การทำงานของข้าราชการมีประสิทธิภาพตามที่ประชาชนประสงค์ ดังนั้นการกำหนดนโยบายการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม ขยายผลไปสู่หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจลงลึกการดูแลสุขภาพของบุคลากรในองค์กรอย่างแท้จริงผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้นำไปสู่การปฏิบัติและวัดประเมินผลในลำดับต่อไป                                                      

          

            อย่างไรก็ตามหากบุคลากรภาครัฐมีสุขภาพองค์รวมดีขึ้น เจ็บป่วยด้วยโรคลดลง ย่อมมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของข้าราชกาลและบุคลากรของรัฐลดลงด้วย                                                 

          

            หน่วยงานภาครัฐ 14 องค์กรที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1.สำนักงานสตรีและกิจการครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2.สำนักงานปลัด กระทรวงวัฒนธรรม 3.จังหวัดชลบุรี 4.จังหวัดสระบุรี 5.จังหวัดอ่างทอง 6.อบจ.ฉะเชิงเทรา 7.อบจ.สมุทรสาคร 8.เทศบาลเมืองอ่างทอง 9.เทศบาลเมืองหนองปรือ 10.เทศบาลเมืองแก่งคอย 11.เมืองพัทยา 12.เขตดุสิต 13.คลองเตย และ 14.ตลิ่งชัน                                                

          

            นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สสส.ช่วยสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม กระตุ้นให้หน่วยงานราชการเล็งเห็นความสำคัญด้านการสร้างสุขภาวะที่ดีของทรัพยากรบุคคลให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

เรื่องโดย: กิตติยา  ธนกาลมารวย team content www.thaihealth.or.th

 

update:15-01-53

อัพเดทเนื้อหาโดย: กิตติยา  ธนกาลมารวย

 

 

 

 

 

                                                                                     

                                                                                                      

                                                                                           

                                                                                                                                                       

 

Shares:
QR Code :
QR Code