ระวังความรุนแรงจากละคร

ที่มา : คู่มือการใช้สื่อเสียงชุด "พ่อแม่เลี้ยงบวก"  แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อสุขภาวะสังคมไทย ผู้สนับสนุน:  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ระวังความรุนแรงจากละคร thaihealth


พ่อแม่บางคนอาจปล่อยให้ลูกดูละครโทรทัศน์โดยที่ไม่ได้นั่งดูอยู่ด้วย เพราะไม่ได้ตระหนัก ถึงความรุนแรงที่แทรกอยู่ในละคร มีผลสํารวจและวิจัยจากสถาบันต่างๆ แสดงให้เห็นถึงวิกฤต ความรุนแรงซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่เด็กไทยกําลังเผชิญในอนาคต หากเด็กนั่งดูละครที่มีฉาก ความรุนแรงบ่อยๆ ย่อมเลียนแบบพฤติกรรมและซึมซับไปเป็นค่านิยมจนกลายเป็นปัญหาของ สังคมต่อไป


ผศ. พรทิพย์ เย็นจะบก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทําวิจัยเรื่อง “รู้เท่าทันละครไทย” จากละคร 150 เรื่อง ระหว่างเดือน มี.ค.-มิ.ย. 2550 และวิเคราะห์ย้อนหลัง เปรียบเทียบกับละครบางเรื่องในช่วงปี 2548-2549 พบว่า ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความรุนแรง การยกย่องคนมีฐานะ กดคนด้อยกว่า ยอมทําทุกอย่างเพื่อให้รวย มีการกดขี่ทางเพศ ชู้สาว นอกใจ การมีเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม การทิ้งลูก ความรุนแรงถูกแทรกในละคร ทําให้เห็น ว่าการใช้กําลัง-การทําร้ายคนอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งความรักเป็นความชอบธรรม ลูกต้องแสดงความ กตัญญูโดยแต่งงานกับคนที่พ่อแม่หาให้ ซึ่งมักเป็นคนรวย มีชาติกําเนิดดี เรื่องเหล่านี้ทําให้ คนในสังคมคิดแบบอื่นไม่ได้นอกจากการใช้ความรุนแรง หรือทําอะไรก็ได้เพื่อให้มีหน้ามีตา มีฐานะทางสังคม


สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการสํารวจความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิวในเด็กไทยอายุ 3 ขวบขึ้นไปของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปีล่าสุด พบว่า มีเด็กไทย 30% ที่เริ่มใช้ความรุนแรง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราการเกิดโรคเอดส์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 ปี (พ.ศ. 2550-2551) และทําท่าว่า จะควบคุมไม่ได้ รายงานของหน่วยงานอาชญากรรมและยาเสพติด สหประชาชาติ ปี 2550 ระบุว่า ไทยติดอยู่ในกลุ่ม 68 ประเทศ ที่มีสถิติการข่มขืนเพิ่มขึ้น จากการสํารวจใน 189 ประเทศทั่วโลก สถิติการกระทําความผิดของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ปี 2548-2549 พบคดีที่เกี่ยวกับ ทําร้ายร่างกาย ข่มขืน สูงถึง 33,669 คดี


หัวใจการเลี้ยงดู คือ พ่อแม่ควรชี้แนะ ชวนคิดชวนคุยถึงพฤติกรรมที่ดี-ไม่ดีในละคร และไม่ควรปล่อยให้ลูกดูทีวีตามลําพัง เพราะลูกต้องการพ่อแม่ที่จะคอยสั่งสอนชี้แนะและปกป้องให้เขาปลอดภัย จากสื่อรอบตัวที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ไม่มีใครเลี้ยงลูกได้ดีเท่ากับพ่อแม่ พ่อแม่ควรแบ่งเวลาทํางานให้เหมาะสมและมีเวลาให้กับลูก อย่าฝากความหวังไว้กับพี่เลี้ยงเด็ก หรือปล่อยให้ทีวีเลี้ยง เพราะไม่สามารถฝึกสอนให้ลูกดีอย่างที่พ่อแม่ต้องการ

Shares:
QR Code :
QR Code