รณรงค์ลดเค็ม วันไตโลก

          สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข  กรมอนามัย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยและหน่วยงานต่าง ๆ ประกาศจัดงานกิจกรรมวันไตโลก ในวันที่  9  มีนาคม นี้  ณ แกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 สยามดิสคัฟเวอรี่ กรุงเทพฯ และการจัดงานสัปดาห์ลดการบริโภคเค็มในระหว่างวันที่ 10-16 มีนาคม 2557 นี้   ณ  โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาโรคไตและปัจจัยหลักที่คนไทยบริโภครสเค็มมากเกินไป ทำให้เป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาและเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและเสียชีวิตในที่สุด

/data/content/19762/cms/adfhnqy13689.jpg

          วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากวิกฤตสถานการณ์ปัญหาโรคไต ในปัจจุบันพบว่าประชาชนมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นจากสถิติการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปี 2555 มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการดำเนินชีวิตของประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล ไม่ปลอดภัย และบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม มากเกินไป จนมีผลเสียต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

         ดร.นพ.พรเทพกล่าวว่า ปัญหาสุขภาพของประชาชนจากสถิติการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มขึ้นในปี 2555 ซึ่งโรคกลุ่มนี้มีส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง กินอาหารรสเค็มจัด การบริโภคอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสเค็มต่าง ๆ ซึ่งในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้มีการรณรงค์และจัดกิจกรรมสัปดาห์ลดการกินเค็มในเดือนมีนาคมของทุกปี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการกินอาหารลดเค็มที่เหมาะสม การบริโภครสเค็มของคนไทยทำให้เป็นบ่อเกิดของโรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย จึงจัดกิจกรรม “สัปดาห์ลดการกินเค็ม” (Low salt week) ขึ้น ในระหว่างวันที่ 10-16 มีนาคม 2557 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลของศูนย์อนามัย ได้จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนตลอดสัปดาห์  โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย  การจัดนิทรรศการป้ายโฆษณา ป้ายนิทรรศการให้ความรู้เรื่อง “อาหารรสเค็ม (อาหารที่มีโซเดียมสูง) และอาหารลดเค็ม” การเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ได้แก่ เสียงตามสาย วิทยุ เคเบิ้ลทีวี โทรทัศน์ กิจกรรมการอ่านฉลากโภชนาการ การจัดประกวด หรือสาธิตอาหารลดเค็ม กิจกรรมการประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม การจัดกลุ่มเพื่อรณรงค์ลดการกินเค็มตลอดสัปดาห์ กิจกรรมยกพวงเครื่องปรุงออกจากร้านอาหารและโต๊ะอาหาร และกิจกรรมลดการปรุงอาหารรสเค็มในโรงครัวของโรงพยาบาล หรือร้านอาหารในโรงอาหารของโรงพยาบาล

/data/content/19762/cms/efhkmosuv148.jpg          ด้าน นาวาอากาศเอก นพ.อนุตตร  จิตตินันทน์ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของการจัดกิจกรรมวันไตโลกในปีนี้  ถือเป็นปีพิเศษที่มีหน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมมือกัน เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงการบริโภครสชาติเค็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวใน วันอาทิตย์ที่  9  มีนาคม 2557  ณ แกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. ภายใต้สโลแกน “โรคไต เสี่ยงทุกวัย เป็นได้ทุกคน” ทั้งนี้ ในส่วนของโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะมีการจัดกิจกรรมวันไตโลก ในวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม 2557  รวมไปถึงยังมีการจัดงานสัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม ในระหว่างวันที่ 10-16 มีนาคม 2557 นี้ควบคู่กันไป  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ และการป้องกันโรคอย่างเหมาะสม

          สำหรับ กิจกรรมภายในงาน “วันไตโลก” วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคมนี้ จะมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เรื่องโรคไต แบ่งเป็นโรคไตวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยเกษียณอายุ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพไต รวมไปถึงนิทรรศการให้ความรู้ทางด้านโภชนาการจากเครือข่ายลดบริโภคเค็ม การเปิดรับบริจาคไต การตรวจสุขภาพ การเสวนาเรื่องโรคไตกับแพทย์โรคไต การสาธิตการทำอาหาร “เมนูอร่อย ดีต่อสุขภาพไต” โดย ดร.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ เชฟชื่อดังของเมืองไทย และการแสดงบนเวที โดยกลุ่มศิลปิน นักแสดง ดาราต่างๆ มากมาย  อาทิ  คุณแพนเค้ก เขมนิจ, คุณโรส ศิรินทร์ทิพย์, คุณหนุ่ย นันทกานต์, คุณ ป๊อบ แคลอรี่ บลา บลา , ดีเจ พี่อ้อย, ดีเจ พีเค, คุณเบล สุพล, คุณแอน ธิติมา, และศิลปิน จากค่าย KPN (คุณฟลุ๊ค, คุณอาฆ์ม, คุณโอ๊ต)  เป็นต้น  นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจำหน่ายเสื้อยืดวันไตโลก 2557 ในราคาตัวละ 200 บาท รายได้ส่วนหนึ่งมอบให้มูลนิธิโรคไต เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไต จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สามารถดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ www.nephrothai.org

/data/content/19762/cms/abdhjtx12479.jpg          สำหรับ กิจกรรมภายในงาน “วันไตโลก” วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคมนี้ จะมีการจัดแสดงนิทรรศการด้านการให้ความรู้จากแพทย์เรื่องโรคไตแบ่งเป็นโรคไตวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานและวัยเกษียณอายุ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพไต ภายในงานมีการสาธิตโภชนาการและผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารลดเค็มเพื่อผู้บริโภค การเปิดรับบริจาคไต การตรวจสุขภาพ การเสวนาเรื่องโรคไต กับแพทย์โรคไต การสาธิตการทำอาหาร “เมนูอร่อย ดีต่อสุขภาพไต”  โดย ดร.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ เชฟชื่อดังของเมืองไทยและการแสดงบนเวที โดยกลุ่มศิลปิน นักแสดง ดาราต่างๆ มากมาย   อาทิ  คุณแพนเค้ก เขมนิจ, คุณโรส ศิรินทร์ทิพย์, คุณหนุ่ย นันทกานต์,คุณ ป๊อบ แคลอรี่ บลา บลา , ดีเจ พี่อ้อย, ดีเจ พีเค, คุณเบล สุพล, คุณแอน  ธิติมา, และ ศิลปิน จากค่าย KPN (คุณฟลุ๊ค, คุณอาฆ์ม, คุณโอ๊ต)  เป็นต้น  นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจำหน่ายเสื้อยืด วันไตโลก 2557 ในราคาตัวละ 200 บาท รายได้ส่วนหนึ่งมอบให้มูลนิธิโรคไต เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไต จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วยโดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.nephrothai.org หรือเว็บไซต์ www.lowsaltthailand.org จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

          ด้าน ศ.นพ. เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดกิจกรรม“วันไตโลก”และกิจกรรม“สัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม”ถือเป็นความสำคัญที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนในเรื่องการรณรงค์ลดเค็มโดยเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยได้รณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้คนไทยเป็นโรคต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีประชาชนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 21.4 หรือ 11.5 ล้านคน โรคไต คิดเป็นร้อยละ 17.5 หรือ 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นร้อยละ 1.4 หรือ 0.75 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คิดเป็นร้อยละ 1.1 หรือ 0.5 ล้านคน โดยโรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องของประชาชนซึ่งชื่นชอบอาหารรสชาติเค็มที่มีอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง และถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นการได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

          จากการรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องสถิติการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในปี 2555 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยในที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,009,385 คน และตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,684 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 274,753 คน และตายด้วยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 15,070 ราย จำนวนผู้ป่วยใน ด้วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จำนวน 227,848 คน และตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ จำนวน 20,368 ราย ซึ่งโรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง กินอาหารรสเค็มจัดเป็นประจำ คือ บริโภคอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง โดยเฉพาะจากเครื่องปรงรสเค็ม ได้แก่ น้ำปลา กะปิ ซีอิ้วขาว เกลือ ผงชูรส และผงปรุงรสต่าง ๆ  ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมสูงเกินปริมาณแนะนำถึง 2 เท่า (โซเดียม 4,320 มิลลิกรัม) หรือเปรียบเทียบเป็นเกลือ 10.8 กรัมต่อวัน จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันได้ โดยการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการกินอาหารลดเค็มที่เหมาะสม ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และนำไปสู่การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

           ด้าน รศ.ดร.วิลาสินี  อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  กล่าวว่า  ปัจจุบันประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ มากขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ทั้งอาหารที่มีรสจัดหวาน มัน เค็ม ขาดการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ คือ 400 – 500 กรัมต่อวัน รวมทั้งการมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายไม่เพียงพอ  โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนั้น พบว่า มีทั้งภาวะโภชนาการขาดและเกิน ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทั้งร่างกายและสติปัญญาที่ไม่เหมาะสมตามวัยมากขึ้น ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ที่มีส่วนประกอบหลัก คือ แป้ง น้ำตาล โซเดียม ในปริมาณสูง  ซึ่งมีปัจจัยมาจากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น โฆษณาจากสื่อ อาหารขนมและเครื่องดื่มจำพวกนี้ที่วางขายทั่วไปใกล้ตัวเด็กรวมทั้งในและนอกรั้วโรงเรียน ตัวแบบจากผู้ปกครอง วิถีชีวิตที่เร่งรีบ สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการมีกิจกรรมทางกาย และการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารและโภชนาการ ดังนั้น ความร่วมมือจากเครือข่ายสุขภาพเพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องลดการบริโภคเค็มที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนได้

          ด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ราชวิทยาลัยอายุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า คนไทยจะต้องลดอาหารเค็ม เพื่อรักษาไต จากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำถึง 2 เท่า หรือ 10.8 กรัม หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน การรับประทานอาหารรสเค็มจัด จะส่งผลให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง ทำให้หัวใจทำงานหนักก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายและความดันโลหิตสูง ความดันในสมองเพิ่มขึ้น มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

          นอกจากนี้คนไทยได้รับโซเดียมจากการกินอาหารในแต่ละมื้อโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมักอยู่ในอาหารแปรรูป โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสซึ่งนิยมใช้มาก 5 ลำดับแรก คือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม  เมื่อเปรียบเทียบจะพบว่าเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 6,000 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,160-1,420 มิลลิกรัม ซีอิ๊ว 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 960-1420 มิลลิกรัม ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะมีปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 1,430-1,490 มิลลิกรัม ซอสหอยนางรม1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาณโซเดียม 420-490 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ยังพบว่าอาหารถุงปรุงสำเร็จ มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยต่อถุง 815 – 3,527 มิลลิกรัม อาทิ ไข่พะโล้  แกงไตปลา คั่วกลิ้ง เป็นต้น  ส่วนอาหารจานเดียว ที่มีปริมาณโซเดียม 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งจาน อาทิ  ข้าวหน้าเป็ด ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู และข้าวคลุกกะปิ  เป็นต้น

          ผศ.นพ.สุรศักดิ์  กล่าวต่อว่า ปัญหาของผู้ป่วยโรคไต นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในระดับชาติ ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้ป่วย ที่ป่วยเป็นโรคไตมีอายุเฉลี่ยที่น้อยลง รวมถึงพบว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไตในเด็ก เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น  ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด  ขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่มักจะต้องเติมน้ำปลาหรือน้ำปลาพริกทุกมื้อ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยง จนเป็นสาเหตุในเรื่องของภาวะ  ไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นภัยเงียบรสเค็ม  ซึ่งเป็นภาวะที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง แม้อาการจะสงบแต่ไตจะค่อยๆ เสื่อมและเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด

          สำหรับผู้ป่วยโรคไตนั้น มีหลากหลายสาเหตุและสามารถป้องกันได้  ถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เช่น การควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ดี แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ป่วยโรคไตบางคนละเลยการรักษา ทำให้ไตวายอย่างรวดเร็วจนเสียชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยโรคไต ควรปฏิบัติดังนี้ 1.พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ 2. ควบคุมความดันโลหิตน้อยกว่า 130 /80 และระดับน้ำตาลในเลือด 3.ควบคุมการทานอาหารรสเค็ม และจำกัดอาหารประเภทโปรตีน โดยให้บริโภคเกลือไม่เกินวันละ 5 กรัม ถ้าเทียบเป็นปริมาณโซเดียมก็ไม่ควรเกิน วันละ 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวเทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด  ยาหม้อ  ยาชุดโดยไม่ปรึกษาแพทย์ 4.เลิกบุหรี่และงดดื่มสุรา และ 5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ



          ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข 

Shares:
QR Code :
QR Code