ยูเอ็นซี ชู 2 ประเด็น หวังนศ.ตื่นตัว

ที่มา: เว็บไซต์ไทยพีอาร์


ภาพประกอบจากมูลนิธิสยามกัมมาจล


ยูเอ็นซี ชู 2 ประเด็น หวังนศ.ตื่นตัว thaihealth


เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปี 3 ชู 2 ประเด็นใกล้ตัว “ทรัพยากรและการเรียนรู้” หวังนศ.ตื่นตัว


ขับเคลื่อนเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว สำหรับเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) มี 11 มหาวิทยาลัย ส่งนักศึกษาเรียนรู้โจทย์จริงสังคม ชูสองประเด็นใกล้ตัว ทรัพยากรและการเรียนรู้ หนุนนักศึกษานักออกแบบเพื่อการสื่อสารรุ่นใหม่ ให้มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองให้กับประเทศต่อไป


เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) เริ่มเวิร์คช้อปครั้งที่ 1 ในหัวข้อเรียนรู้โจทย์สังคม-เติมทักษะการสร้างสรรค์สื่อ โดยมีวิทยากรด้านทรัพยากรได้แก่ ดร.รอยล จิตรดอนผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชและการเรียนรู้ ในหัวข้อวิกฤติน้ำของประเทศไทยและทางออก ,คุณณรงค์ อภิชัย ผู้อำนวยการฝ่าย ปฏิบัติการภาคสนาม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในหัวข้อ วิกฤติป่าน่าน ,อ. ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในหัวข้อการอนุรักษ์ "ผืนป่าตะวันตก" ป่าผืนใหญ่แห่งสุดท้ายของประเทศ วิทยาการด้านการเรียนรู้ ได้แก่ คุณวิมลศรี ศุษิลวรณ์ โรงเรียนเพลินพัฒนา ในหัวข้อทักษะของคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยต้องการ และการศึกษาไทยถึงเวลาต้อง "เปลี่ยน" และ ดร.เกษม นครเขตต์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยกิจกรรมยูเอ็นซี ชู 2 ประเด็น หวังนศ.ตื่นตัว thaihealthทางกายเพื่อสุขภาพ (สสส.) หัวข้อ Active Playเมื่อวันที่ 27-28กุมภาพันธ์ 2559 ณ.โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร


อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หนึ่งในคณะทำงานของเครือข่ายฯ เผยถึงแนวทางในการดำเนินงานสำหรับ ปี 3 นี้ว่า "กระบวนการในการทำงานในปีที่ 3 เรายังยืนยันในจุดเดิมที่ต้องการที่จะให้นักศึกษา อาจารย์ได้พบโจทย์จริงในสังคมว่าในสังคมของเรา กำลังเข้าไปเผชิญกับปัญหาอะไรที่นักศึกษาควรรู้ การได้พบกับโจทย์จริง การได้พบกับปัญหาจริงๆ ทำให้นักศึกษาและอาจารย์ได้ตื่นตัวกับเรื่องที่อยู่ในสังคมเรา และก็นำไปสู่การกระตุ้นทางความคิดและความคิดสร้างสรรค์ที่เขามีในเรื่องการเรียนการสอนแบบปกติ ให้งานออกมาเป็นเนื้องานที่เผยแพร่สู่ความเข้าใจของสังคมได้"


สำหรับการชู 2 ประเด็นหลักในปีนี้ทางอาจารย์จักรพันธ์ชี้ว่า "ในส่วนปีนี้ ผมคิดว่าประเด็นปัญหาที่เรากำลังจะเผชิญอยู่และใกล้ตัวเรามากๆ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากแล้วก็เป็นปัญหาระดับชาติที่อยากให้นักศึกษาได้เรียนรู้ คือเรื่องปัญหาการจัดการน้ำ แล้วก็ส่งผลสะเทือนลึกเข้าไปในเรื่องของการจัดการพื้นที่ป่าเพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ส่วนอีกเรื่องก็เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเขาเหมือนกันแต่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เขาอาจมองไม่เห็น ก็คือเรื่องของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การปรับตัวเข้ากับสังคมนักศึกษาที่อยู่ในวัยในช่วงปีสามและปีสี่ที่จะจบผมคิดว่าการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่การศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น การศึกษานอกห้องเรียนการศึกษาต่อเนื่อง หรือการศึกษาด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่ต้องฝึกทักษะในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นก็เลยหยิบเรื่องนี้มาเป็นประเด็นในการเรียนรู้ด้วย"


ส่วนความคาดหวังกับการเรียนรู้ของนักศึกษาในปีนี้ "เราดำเนินการมาจนถึงปีที่ 3 ความคาดหวังของปีที่ 3 อาจจะไปว่ายูเอ็นซี ชู 2 ประเด็น หวังนศ.ตื่นตัว thaihealthขึ้นในอีกระดับ 1 ก็คือเราอยากที่จะให้งานของเราลงไปในพื้นที่สื่อที่เป็นจริงทางสังคม เพราะฉะนั้นโจทย์ในเรื่องของการเรียนรู้แบบที่สร้างพื้นที่ของการเผยแพร่สื่อในพื้นที่สังคมจริงอาจจะช่วยให้เขาได้สามารถสร้างงานส่งผลสะเทือนต่อสังคมได้มากขึ้นซึ่งก็เป็นเป้าหมายเชิงทดลอง ที่เรายังต้องติดตามดูว่าสุดท้ายแล้วผลงานเหล่านี้จะเผยแพร่ลงในพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นพื้นที่สื่อจริง แล้วเกิดผลตอบรับอย่างไรนั่นคือสิ่งที่เราคาดหวังและอยากรู้"


ทางด้านวิทยากร "อ. ศศิน เฉลิมลาภ" ได้ฝากไว้กับเหล่านักศึกษาว่า "ผมมองไปถึงเรื่องของความคิด ความคิดของคน Generration Y และ Generration Z ที่ควรปรับค่านิยมหันมาฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม แล้วจะทำอย่างไรให้คนเราให้อยู่กับธรรมชาติได้และไม่ทำให้มันลดลงไปกว่านี้อีก และผมมองว่าการมีโครงการนี้ขเป็นเวที ที่ทำให้นักศึกษามีโอกาสได้สื่อสารประเด็นที่มีความสำคัญ ที่เป็นเรื่อง "ส่วนรวม" มากขึ้น"


นายวิชญ์ เวชกรปฏิวงศ์ หนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ได้เผยถึงเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการนี้ว่า "ผมเคยเห็นงานของพี่ๆ ในปีที่แล้ว งานออกแบบของพี่เขาช่วยแก้ปัญหาอะไรบางอย่างได้จริงๆและคิดว่ามันมีประโยชน์ถ้าหากเราสามารถทำสิ่งที่เราทำได้เพื่อช่วยเหลือคนอื่นด้วยการออกแบบของเรา แล้วก็รู้จักโครงการนี้ จากทางมหาวิทยาลัยครับ จากอาจารย์ (อ.ดนุ ภู่มาลี) เป็นคนคัดเลือกเข้ามาครับ การเข้าร่วมเวิร์คช้อปครั้งแรก ได้คุยกับเพื่อนระดมความคิดกันสร้างสรรค์งานออกมา ในรูปแบบไหนประมาณนี้ครับมันเป็นสิ่งที่น่าลองในฐานะนักศึกษาจากการที่ฟังในประเด็นสิ่งที่อินเข้าไปข้างในที่สุดน่าจะเป็นเรื่องน้ำเพราะว่าเรื่องน้ำกับ ม.รังสิต เป็นเรื่องคู่กันมายาวนานไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมหรือน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดเมื่อปี54แล้วบ้านก็อยู่แถวนั้นเหมือนกัน ถ้าเราสามารถทำงานออกแบบได้แล้วเอาแบบตรงนั้น มาแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ ก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ"


สำหรับเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้บริหารและคณาจารย์ คณะวิชาที่สอนด้านศิลปะการออกแบบเพื่อการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยชั้นนำ 11 แห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในภูมิภาค ตระหนักถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยในการสร้างนักออกแบบเพื่อการสื่อสารรุ่นใหม่ ที่มีสำนึกความเป็นพลเมือง และใช้ศักยภาพของตัวเองในการร่วมสร้างสรรค์สื่อเพื่อสร้างการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสังคมไทย


และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นี้ เครือข่ายฯ จึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) องค์กรภาคประชาสังคม และสภาคณบดีศิลปศาสตร์แห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 ในปี 2559 นี้นักศึกษาได้เลือกประเด็นทรัพยากร 11 กลุ่ม ประเด็นการเรียนรู้ 6 กลุ่ม และจะมีการเวิร์คช้อปในครั้งที่ 2 ในวันที่ 27 มีนาคมนี้ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รายชื่อมหาวิทยาลัยและคณะที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปี 3 มี 1.มหาวิทยาลัยศิลปากร (1.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.คณะมัณฑนศิลป์ 3.คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ) 2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2.คณะศิลปกรรมศาสตร์) 3.มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (1.คณะนิเทศศาสตร์) 4.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (1.คณะวิทยาการสื่อสาร) 5.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (1.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์) 6.มหาวิทยาลัยนเรศวร (1.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) 7.มหาวิทยาลัยบูรพา (1.คณะศิลปกรรมศาสตร์) 8.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (1.คณะศิลปกรรมศาสตร์) 9.มหาวิทยาลัยรังสิต (1.คณะศิลปะและการออกแบบ) 10.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (1.คณะศิลปกรรมศาสตร์) 11.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (1.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Shares:
QR Code :
QR Code