มุมนมแม่ CSR สร้างชาติ

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 


มุมนมแม่ CSR สร้างชาติ thaihealth


แฟ้มภาพ


มุมนมแม่ใครว่าไม่สำคัญ มุมเล็กๆ ในที่ทำงานเป็นบ่อเกิดแห่งสายใยรักของครอบครัว แต่ผลพลอยที่ไม่น่าเชื่อก็คือ สุขภาพของ ลูกน้อยแข็งแรง สำคัญกว่านั้นคือ คุณภาพการทำงานของแม่ลูกอ่อนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึงด้วย


แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นเรื่องดีๆ ของแม่กับลูกอ่อน แต่เชื่อหรือไม่ว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยนั้น กลับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำ


นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน มีเพียง 20% ทางกระทรวงฯ ตั้งเป้าหมายรณรงค์อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน มุมนมแม่ CSR สร้างชาติ thaihealthจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 30% ให้ได้ หนทางสำคัญที่จะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มมากขึ้น ก็คือการมีมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการ หรือในที่ทำงานนั่นเอง


"ปัจจุบันโอกาสการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้หญิง ทำงานนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ที่ทำงานก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการบีบเก็บน้ำนม ดังนั้นการจัดเพิ่มมุมนมแม่ในสถานประกอบการจึงเป็นอีกหนทางที่จะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้" นพ.ปิยะสกล กล่าว


ล่าสุดได้มีการลงนามความร่วมมือการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ในสถานประกอบกิจการ ระหว่าง 7 องค์กร ประกอบด้วย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สภาการพยาบาล องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะกลับไปหาวิธีในการผลักดัน ส่งเสริมให้เกิดมุมนมแม่ในที่ทำงาน


ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. ระบุว่า ที่ผ่านมา สสส.พยายามชักจูง โน้มน้าวสถานประกอบกิจการต่างๆ ให้เห็นความสำคัญของการจัดสวัสดิการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แก่พนักงาน นอกจากนี้ ยังดำเนินการสนับสนุนมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการและการจัดการความรู้เกี่ยวกับการมุมนมแม่ CSR สร้างชาติ thaihealthเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะไปดำเนินการอบรมให้ความรู้ต่อสถานประกอบกิจการ และพนักงานในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย


บริษัท ไทยซัมมิทฮาร์เนส จำกัด บริษัทเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้ายานยนต์แบบสำเร็จ เป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่ได้จัดทำมุมนมแม่สำหรับพนักงานแม่ลูกอ่อนขึ้น โดยพบว่า บุคลากรที่มีกว่า 2,200 คน มีกว่า 90% เป็นผู้หญิง ซึ่งอัตราการตั้งครรภ์แต่ละปีก็มีมากถึง 100-200 คน แต่ปัญหาคือ เมื่อมีการคลอดพบว่า มีอัตราการลาป่วยบ่อย เพื่อพาลูกไปพบแพทย์หรือพาไปฉีดวัคซีน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานไปด้วย


นิพนธ์ ประเสริฐผล หัวหน้าแผนกฝ่ายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท ไทยซัมมิทฮาร์เนส ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี แชร์ประสบการณ์ในการจัดมุมนมแม่ในบริษัทว่า หลังจากที่บริษัทจัดมุมนมแม่ขึ้นในปี 2552 จากมุมเล็กๆ มีผู้มาใช้บริการน้อย แต่เมื่อมีการประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจกับหัวหน้างานในการอนุญาตให้พนักงานมาบีบเก็บนมได้ทุกๆ 3 ชั่วโมง ปรากฏว่า มีพนักงานเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ขณะที่พนักงานเองก็มีความพึงพอใจ เพราะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลใจเรื่องการบีบเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกดื่ม


มุมนมแม่ CSR สร้างชาติ thaihealthมุมนมแม่ของที่นี่ถูกจัดเป็นสัดส่วน และมีเครื่องปั๊มน้ำนมแบบสองหัวอัตโนมัติ และตู้เย็นในการเก็บ เรียกว่ามีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน ที่สำคัญยังมีบริการ"ดิลิเวอรี่" ส่งนมแม่เย็นๆ ถึงบ้าน โดยเฉพาะบ้านต่างจังหวัดไม่ว่าจะเป็นทาง บขส. หรือทางเครื่องบิน ซึ่งช่วยพนักงานประหยัดค่าใช้จ่ายนมผงเดือนละ 4-5 พันบาท


"หลังจากมีการจัดมุมนมแม่ในที่ทำงาน พบว่า อัตราการลางาน ลาป่วยลดลง นอกจากนี้ เมื่อพนักงานทำงานอย่างมีความสุข โดยไม่ต้อง กังวลใจ ก็พบว่า อัตราการทำงานผิดพลาดของพนักงานกลุ่มหญิง ตั้งครรภ์ลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์ทั้งพนักงานและตัวบริษัทเอง รวมถึงอัตราการลาออกของพนักงานที่คลอดแล้วก็ลดลงไปด้วย"


มุมนมแม่ มุมเล็กๆ แต่ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งผู้ประกอบการ และแม่ลูกอ่อน เรียกได้ว่า "วิน-วิน" ทั้งคู่

Shares:
QR Code :
QR Code