มหกรรมเสริมพลัง ขบวนการงดเหล้าอีสานตอนล่าง

ที่มา : สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)


ภาพประกอบจากเว็บไซต์สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)


มหกรรมเสริมพลัง ขบวนการงดเหล้าอีสานตอนล่าง thaihealth


8 จังหวัด อีสานล่าง จัดมหกรรม 10 ปี ขบวนการงดเหล้าเน้นทุกฝ่ายหนุนงาน สร้างพื้นที่ ชุมชน คนต้นแบบที่มีคุณภาพ หวังเป็นสังคมสุขภาวะปลอดเหล้า ปลอดภัยลดปัจจัยเสี่ยง พร้อมขยายผลสู่ระดับประเทศ


เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องประชุมริมธารา สวนป่ารีสอร์ท อ.เมือง จ.สุรินทร์ เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานตอนล่างร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดมหกรรม "สานงานเสริมพลัง 10 ปี ขบวนการงดเหล้าอีสานตอนล่าง" โดยมีประชาคมงดเหล้าจาก 8 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง ประกอบด้วย เครือข่ายพระสงฆ์พัฒนา ผู้แทนภาครัฐ เอกชน นักวิชาการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กว่า 300 คนเข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนการทำงานด้านนโยบาย การบูรณาการงานเชิงวิชาการ การเชิดชูหน่วยงาน บุคคลต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจ การรณรงค์ในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การขยายผลในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดปัจจัยเสี่ยงในภาคอีสานตอนล่าง มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน


นายวินัย ตรงจิตพิทักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ตนเองขอชื่นชมและให้กำลังใจเครือข่ายงดเหล้าทั้ง 8 จังหวัด ที่ได้เน้นสร้างการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสามารถกำหนดเป็นกติกานโยบายร่วมกันทั้งในระดับชุมชน หรือในระดับจังหวัด เพื่อรณรงค์ให้เกิดพื้นที่ งานเทศกาล งานบุญประเพณีแบบปลอดเหล้า อาทิ การจัดงานมหกรรมเสริมพลัง ขบวนการงดเหล้าอีสานตอนล่าง thaihealthงดเหล้าเข้าพรรษา งานแข่งเรือปลอดเหล้า งานบุญบั้งไฟปลอดเหล้า และงานกาชาดปลอดเหล้า มีการเฝ้าระวังบังคับใช้กฎหมาย ส่งผลให้เกิดการลดปริมาณคนสูบ คนดื่มมีการขับเคลื่อนงานในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง เพื่อเป็นต้นแบบและผลิตชุดความรู้ให้พื้นที่อื่น ๆ สามารถศึกษาเป็นแบบอย่างได้ จึงเชื่อได้ว่าพลังของคนทำงานและความตั้งใจจะส่งผลไปถึงครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติจนเกิดกระแสในการขับเคลื่อนงานรณรงค์อย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้เป็นอย่างดี


ด้านนายบำรุง เป็นสุข ผู้ประสานงานเครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานตอนล่าง ในนามตัวแทนเครือข่ายประชาคมงดเหล้า และภาคีเครือข่าย กล่าวว่า กระบวนการเคลื่อนไหวสังคมในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของภาคอีสานตอนล่างได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง หลายงานมีความสำเร็จจากการพัฒนาพื้นที่รูปธรรมต้นแบบในการจัดการปัญหาแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยง มีการผลักดันนโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม แต่ในปัจจุบันกลุ่มธุรกิจแอลกอฮอล์ก็ได้พยายามหาวิธีการรูปแบบการเข้าถึงประชาชน โดยเฉพาะเด็กเยาวชนให้กลายมาเป็นนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ยังต้องมีการทำงานด้านความคิด การผลักดันนโยบายและการจัดการพื้นที่อย่างเข้มข้นต่อไป


การจัดงานนี้เป็นการยกระดับการทำงาน มุ่งเน้นการนำเสนอผลงานสุขภาวะที่หลากหลาย มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การขยายผล เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรในระดับภูมิภาค เกิดการระดมความคิดแลกเปลี่ยนและหาแนวทางร่วมกันเพื่อสร้างความสุขให้สังคมภาคอีสานตอนล่างเป็นสังคมสุขภาวะ ปลอดเหล้าปลอดภัยลดปัจจัยเสี่ยงได้อย่างแท้จริง


"จุดเริ่มต้นการทำงานปลอดเหล้าในปีแรก คือ ทำโครงการวัดปลอดเหล้าเฉลิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา การทำงานที่ผ่านมาได้เน้นยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การจัดสภาพแวดล้อมในงานบุญประเพณีและเทศกาลสำคัญ ซึ่งก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน คือ การเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยมในการดื่มของประชาชนในพื้นที่ ได้มีการรณรงค์ให้เกิดงานบุญ งานศพปลอดเหล้าทั้ง 8 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง เกิดพื้นที่รูปธรรม ส่งผลให้การประหยัดค่าใช้จ่ายในงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักดื่มในงานงดมหกรรมเสริมพลัง ขบวนการงดเหล้าอีสานตอนล่าง thaihealthเหล้าครบพรรษา ปี 2558 มีพื้นที่รูปธรรมงดเหล้าครบพรรษาเกิดขึ้นจำนวน 22 อำเภอ 27 ตำบล และ 139 หมู่บ้าน มีพื้นที่งดเหล้าครบพรรษาทั้งหมู่บ้าน "ร้านค้าไม่ขายคนไม่ดื่มครบพรรษา" จำนวน 4 ร้านในตำบลเสียว จังหวัดศรีสะเกษ ด้านผลกระทบ พบว่า ครอบครัวมีความสุขมากขึ้นที่ไม่มีการทะเลาะวิวาท มีเงินเหลือใช้ และชุมชนให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกันด้านการจัดสภาพแวดล้อมในงานบุญประเพณีและเทศกาลสำคัญในพื้นที่ มีการขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายสาธารณะท้องถิ่น มีประกาศให้จัดงานปลอดเหล้า บางพื้นที่ขยายผลเป็นการจัดงานปลอดบุหรี่และการพนัน มีการลงนามความร่วมมือสร้างเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง ชุมชนจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยง มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน เสริมความตระหนักรู้และให้มีพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อให้เยาวชนได้แสดงความสามารถได้ถูกทาง" นายบำรุง กล่าว


ทั้งนี้งานมหกรรม "สานงาน เสริมพลัง 10 ปี ขบวนการงดเหล้าอีสานตอนล่าง" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 12 มิถุนายน ได้มีพิธีเชิดชูเกียรติ ชุมชนคนสู้เหล้า ในระดับบุคคล และหน่วยงาน ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การสานงาน-เสริมพลังภาคีเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง"โดย นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักงานลดปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส.การประกาศเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนงานงดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยงภาคอีสานตอนล่าง 8 จังหวัด และยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ "โสเหล่" 1 ทศวรรษ กับการเปลี่ยนแปลงขบวนการงดเหล้า การนำเสนอนิทรรศการชุมชนรูปธรรมงดเหล้าต้นแบบ การแสดงวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์วัฒนธรรมจากภาคอีสานตอนล่างและการแสดงจากเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงภาคอีสานตอนล่าง เป็นต้น

Shares:
QR Code :
QR Code